พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5231/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุก: การเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อสอบถามเรื่องราวไม่ใช่การบุกรุก
จำเลยเข้าไปในสวนผักของโจทก์ร่วมโดยเจตนาที่จะสอบถามเรื่องราวที่ อ.บุตรโจทก์ร่วมท้าชก แล้วจึงเกิดการวิวาทต่อสู้กัน ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์หรือเจตนาเพื่อกระทำการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทจากบทสัมภาษณ์ แม้ไม่มีเจตนา
แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในฐานะตัวการ หากลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่มีเจตนา
จำเลยที่ 2 ให้สัมภาษณ์และได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 แม้จำเลยที่ 1จะไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทกองทัพ: การระบุเจาะจงและการตีความหมายของข้อความ
ประเทศไทยมีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศจำเลยให้สัมภาษณ์และลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกองทัพโดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็น กองทัพใด ข้อความที่เกี่ยวกับอาวุธปืนใหญ่ก็มีไว้ใช้ในกองทัพใดก็ได้ส่วนการซื้อเครื่องบิน รถถังและอาวุธต่าง ๆก็ไม่ได้หมายความถึงกองทัพบกโดยเฉพาะ และที่ว่าซื้อมาแล้วก็มากองที่สระบุรี ก็มีความหมายว่า ของที่กองทัพซื้อมาถูกทอดทิ้งไว้ที่จังหวัดสระบุรี ถึงแม้ในจังหวัดสระบุรีจะมีหน่วยงานกองทัพบกเท่านั้น ก็จะตีความหมายเลยไปถึงว่าเป็นกองทัพบกไม่ได้ ดังนั้น จะถือว่าจำเลยใส่ความหมิ่นประมาทกองทัพบกโดยเฉพาะหาได้ไม่ กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำพิพากษา: การโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ แม้มีข้อจำกัดด้านพื้นที่
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่ได้ย่อคำพิพากษาโดยย่อคำฟ้องได้ใจความถูกต้องตรงกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองและมีข้อความระบุว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตลอดจนบทลงโทษและโทษคนละเท่าใดตรงตามเนื้อความในต้นฉบับคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะเข้าใจได้ทันทีถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว
ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลง ประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามาก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึงปีหน้า จำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด ดังนั้น การลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย
ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลง ประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามาก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึงปีหน้า จำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด ดังนั้น การลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีโฆษณาคำพิพากษา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่อ้างขัดข้องไม่ถือเป็นการพ้นวิสัย
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวันดังนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ได้ย่อคำพิพากษาโดยย่อคำฟ้องได้ใจความถูกต้องตรงกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองและมีข้อความระบุว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตลอดจนบทลงโทษและโทษคนละเท่าใดตรงตามเนื้อความในต้นฉบับคำพิพากษาแล้วเมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะเข้าใจได้ทันทีถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลงประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามากย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึง>ปีหน้าจำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใดดังนั้นการลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางวาจา: การพิจารณาเจตนาและความหมายของคำพูดตามบริบท
ข้อความที่จำเลยกล่าวว่า"สำหรับอ.นั้นขอให้พิจารณาเป็นพิเศษด้วยเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาลเพราะสำนักงานร้างไปแล้ว"คำว่า"จุ้นจ้าน"เป็นคำกริยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525มีความหมาย2นัยนัยแรกคือเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือนัยที่สองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียดเมื่อพิจารณาทั้งประโยคที่ว่า"เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล"จึงน่าจะมีความตามความนัยแรกคือโจทก์เข้าไปเดินหากินยุ่งเกี่ยวในศาลในลักษณะพลุกพล่านยุ่มย่ามจนน่าเกลียดเพราะสำนักงานร้างไปแล้วเมื่อได้ความว่าจำเลยได้ติดต่อให้โจทก์เป็นทนายความที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและจำเลยเอาเงินค่าจ้างว่าความส่วนหนึ่งไปให้โจทก์ที่บ้านโดยไม่ได้ความชัดว่าโจทก์มีสำนักงานทนายความแยกจากบ้านที่พักอาศัยหรือไม่ส่วนจำเลยไม่เคยติดต่อโจทก์ที่สำนักงานทนายความของโจทก์ดังนั้นการที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ไปเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาลเพราะสำนักงานร้างไปแล้วจึงเป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสำนักงานเป็นหลักแหล่งต้องใช้ศาลเป็นที่ทำมาหากินมิได้มีความหมายไปในทางที่ว่าโจทก์เป็นทนายความที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรืออาศัยวิชาชีพหลอกลวงฉ้อโกงจำเลยหรือประชาชนจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้เสียหายหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังคำกล่าวดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท: การกล่าวถึงสำนักงานทนายความและเจตนาใส่ความ
ข้อความที่จำเลยกล่าวว่า "สำหรับ อ.นั้น ขอให้พิจารณาเป็นพิเศษด้วย เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว" คำว่า "จุ้นจ้าน"เป็นคำกริยาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 มีความหมาย 2 นัยนัยแรกคือ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือนัยที่สองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด เมื่อพิจารณาทั้งประโยคที่ว่า "เดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล"จึงน่าจะมีความตามความนัยแรกคือ โจทก์เข้าไปเดินหากินยุ่งเกี่ยวในศาลในลักษณะพลุกพล่าน ยุ่มย่าม จนน่าเกลียด เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ติดต่อให้โจทก์เป็นทนายความที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช และจำเลยเอาเงินค่าจ้างว่าความส่วนหนึ่งไปให้โจทก์ที่บ้าน โดยไม่ได้ความชัดว่า โจทก์มีสำนักงานทนายความ แยกจากบ้านที่พักอาศัยหรือไม่ ส่วนจำเลยไม่เคยติดต่อโจทก์ที่สำนักงานทนายความของโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยกล่าวว่าโจทก์ไปเดินหากินจุ้นจ้านที่ศาล เพราะสำนักงานร้างไปแล้ว จึงเป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสำนักงานเป็นหลักแหล่งต้องใช้ศาลเป็นที่ทำมาหากิน มิได้มีความหมายไปในทางที่ว่า โจทก์เป็นทนายความที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรืออาศัยวิชาชีพหลอกลวงฉ้อโกงจำเลยหรือประชาชน จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้เสียหายหรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง คำกล่าวดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ความผิดเกิดที่ไหนฟ้องได้ที่นั่น แม้ถอนฟ้องจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และจำเลยที่2บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ดังกล่าวอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา24(2)แม้ว่าจำเลยที่1จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานครแต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักรซึ่งรวมทั้งจังหวัดประทุมอันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1และที่2ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22และมาตรา24ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่2ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและความผิดเกี่ยวพัน: คดีหมิ่นประมาทจากหนังสือพิมพ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ดังกล่าว อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 (2) แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้ แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่