พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาเพื่อยื่นฟ้องใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจ และผลกระทบต่อคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงนครสวรรค์เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2097/2563 ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่ง ป.อ. มาตรา 328 มีระวางโทษเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลแขวงนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาต และหลังจากนั้น 6 วัน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ การถอนฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้อง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่คดีส่วนแพ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้อง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่คดีส่วนแพ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางออนไลน์ ค่าเสียหาย และความรับผิดทางแพ่ง จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เดิมโจทก์ร่วมเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ในคดีหมายเลขดำที่ 481/2558 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับคดีนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคน โดยระบุเหตุผลว่า "...โจทก์จึงมีความประสงค์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต่อศาล เพื่อจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีได้มีคำสั่งฟ้องจำเลยทั้งสี่ต่อศาลนี้..." ต่อมาเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนต่อศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมก็ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าว ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกเพียง 1 เดือนเศษ และต่อมาเมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ พวกอีกสองคนให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาใหม่ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ หลังจากนั้นอีกเพียง 3 วัน โจทก์ร่วมก็ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้แม้ขณะที่โจทก์ร่วมถอนฟ้องจำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนในคดีก่อน ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพนักงานอัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้วหรือไม่ และไม่ทราบว่าพนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่า โจทก์ร่วมมีเจตนาถอนฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นการเด็ดขาด เนื่องจากโจทก์ร่วมได้ระบุไว้ในคำร้องแล้วว่า ประสงค์ขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง เพื่อที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการทั้งสองคดีต่อเนื่องตลอดมา พฤติการณ์จึงหาใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 36 ไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องทั้งของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10354/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด หากมีเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องเดิม
แม้คำร้องขอถอนฟ้องคดีก่อนจะระบุว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้อง โดยปรากฏว่าในคำฟ้องคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ ทั้งปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้นหลังจากศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้มายื่นคำฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ในมูลคดีอาญาความผิดเดียวกันกับคดีก่อนและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในบทมาตราเดียวกัน โดยในคำฟ้องใหม่โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องใหม่ถูกต้องตามกฎหมายเชื่อว่าเหตุที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนเนื่องจากเห็นว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ซึ่งเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงประสงค์จะถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง การถอนฟ้องคดีก่อนจึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 36 ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้คำฟ้องต่างกัน เป็นการละเมิดอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่ โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่จบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา – โกงเจ้าหนี้ – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 – ห้ามฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดเพียงครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9454/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังถอนฟ้องคดีเดิม: โจทก์มีสิทธิฟ้องได้หากคดีใหม่มีประเด็นต่างจากเดิม
โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 ต่อศาลจังหวัดนางรอง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ป.อ. มาตรา 83, 91, 341 กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 482,000 บาท แก่ผู้เสียหายต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2545 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่คดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ โจทก์ร่วมได้ถอนฟ้องไปในภายหลังที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้และภายหลังที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ย่อมไม่มีผลกระทบต่อคดีนี้จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 36 (3) และ 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9454/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังถอนฟ้องคดีเดิม: โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องได้หากพนักงานอัยการเป็นโจทก์ดำเนินคดีแล้ว
แม้ว่าก่อนคดีนี้โจทก์ร่วมเคยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 ต่อศาลจังหวัดนางรอง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ก็ตามแต่คดีนี้พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ป.อ. มาตรา 83, 91, 341 กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 482,000 บาท แก่ผู้เสียหายต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ส่วนคดีอาญาของศาลจังหวัดนางรองที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องนั้นโจทก์ร่วมได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและศาลจังหวัดนางรองมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องจำหน่ายคดีจากสารบบความเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 ดังนั้น ในคดีความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น โจทก์ร่วมได้ถอนฟ้องไปในภายหลังที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ และภายหลังที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้อีกด้วย การถอนฟ้องดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด และย่อมไม่มีผลกระทบต่อคดีนี้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 36 (3) และ 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายรายอื่นเคยถอนฟ้องคดีเดิมที่มีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นผู้เสียหายเคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยอาศัยเหตุจากการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 199 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ได้ขอถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะกระทำได้ ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายอื่นที่จะฟ้องจำเลยได้อีก แม้มูลเหตุที่จะฟ้องเป็นเรื่องการโอนที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รายเดียวกันก็ตาม ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนถอนฟ้อง ทำให้สิทธิอุทธรณ์สิ้นสุด
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในครั้งแรก ก็แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการเสมือนโจทก์ร่วมฟ้องเองการที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดนั่นเอง เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในครั้งหลังจึงไม่ชอบ และเมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด สิทธิการอุทธรณ์จึงระงับ
การที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม โดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์ การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36