พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อ, การรับฟังพยานผู้ต้องหาร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหม อยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการกรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.
เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจรและมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไปมิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้นและแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่พนักงานอัยการกรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผล เชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน: การถอนฟ้องเพื่อส่งดำเนินคดีต่อโดยอัยการพลเรือน และการรับฟังพยานผู้มีส่วนร่วม
ทรัพย์ตามฟ้องซึ่งถูกคนร้ายลักไปเป็นของกระทรวงกลาโหมอยู่ในความดูแลของกรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองทัพบกกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ต่างก็เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ การที่เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้ครอบครองดูแลทรัพย์ดังกล่าว มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการ กรมอัยการ ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ เดิมอัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกับคดีนี้ไว้แล้ว ต่อมาขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์คดีนั้นได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารกระทำความผิดฐานรับของโจทก์และมีอาวุธปืนไว้โดยฝ่าฝืนกฎหมายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(2) โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อส่งคืนพนักงานสอบสวนให้ส่งพนักงานอัยการพลเรือนดำเนินการต่อไป มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แต่เป็นการถอนฟ้องเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจศาลเท่านั้น และแม้กรณีศาลทหารยกฟ้องเพราะเหตุคดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน พนักงานอัยการก็ยังนำคดีมาฟ้องต่อศาลพลเรือนได้ ดังนั้นสิทธินำคดีมาฟ้องจึงหาระงับไปไม่ พนักงานอัยการ กรมอัยการ มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานโจทก์ที่เคยตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นแต่มีน้ำหนักให้รับฟังมากน้อยเพียงใดเท่านั้นหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเบิกความประกอบชอบด้วยเหตุผลเชื่อได้ว่าเบิกความตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: มาตรา 36 ว.ส.ก. การถอนฟ้องมีผลทำให้คดีเสร็จสิ้น
โจทก์เคยนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา แล้วขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าฟ้องบกพร่องขอถอนเพื่อจะนำไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อศาลอนุญาตก็ต้องถือว่าเป็นการถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งเรื่อง โจทก์จะนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วนำฟ้องใหม่ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 แม้จะอ้างเหตุฟ้องบกพร่อง
โจทก์เคยนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งให้ประทับฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง อ้างว่าฟ้องบกพร่อง ขอถอนเพื่อดำเนินการใหม่ ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้โจทก์จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้ำหลังถอนฟ้องคดีเดิม: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ขัดมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การพิจารณาความต่างกรรมต่างวาระของการยักยอกทรัพย์และการปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ถอนฟ้องก่อนไต่สวนมูลฟ้อง ไม่สามารถฟ้องคดีเดิมได้อีก
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เมื่อโจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จอีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36แม้โจทก์จะถอนฟ้องก่อนที่ศาลจะไต่สวนมูลฟ้องก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะมาฟ้องใหม่อีกไม่ได้เช่นกันเพราะถือว่าได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลโดยถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: แม้คำฟ้องต่างกัน หากมูลเหตุเดิม ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกห้องแถวของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันควบคุมตัวโจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไป โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตราก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือข้อหาที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: คดีอาญาที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว ห้ามฟ้องคดีเดิมอีก
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกห้องแถวของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันควบคุมตัวโจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไป โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือข้อหาที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องโดยสมัครใจมีผลผูกพันโจทก์ แม้ภายหลังจะอ้างถูกหลอกลวง ศาลไม่เพิกถอนคำสั่ง
การที่โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กับจำเลยตกลงกันได้และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้วนั้น เป็นการถอนฟ้องที่เกิดจากความสมัครใจของโจทก์เองมิใช่กรณีที่ศาลอนุญาตไปโดยผิดพลาดอันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าถอนฟ้องเพราะจำเลยและ จ. นำความเท็จมากล่าวให้โจทก์หลงเชื่อหาได้ไม่ เพราะข้ออ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องดำเนินคดีแก่จำเลยและ จ. เป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่ข้ออ้างที่โจทก์จะนำมาอ้างให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งอนุญาตไปโดยชอบแล้วได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 260/2512)