คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 275

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การผิดนัด และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรม การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้ว แสดงว่าแม้หากจำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียน โจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ ดังนั้น เพียงการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้
การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2536 โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่ 28 ตุลาคม2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2536 จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3118/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายบังคับคดีต้องระบุคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีชัดเจน การดำเนินการตามคำสั่งศาลไม่ใช่การขอออกหมายบังคับคดี
คำร้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ระบุโดยชัดแจ้งถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดีและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา275(1)(3)การที่ศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบส่วนมาตรา272เป็นเรื่องขอให้ศาลมี คำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นคนละขั้นตอนกับการ ขอให้ออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ซึ่งศาลได้มี คำพิพากษาตามยอม และมีคำบังคับกับกำหนดวิธีที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี และแก้ไขหมายบังคับคดีให้ถูกต้องตามคำพิพากษา
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่2อยู่ด้วยจึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกาคดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์เมื่อวันที่8พฤศจิกายน2525โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่16กันยายน2535ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271 เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษาก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้ไขคำพิพากษาเมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีและการแก้ไขหมายบังคับคดี: การดำเนินการภายใน 10 ปี และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพิ่มมูลหนี้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นอุทธรณ์ความรับผิดของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย จึงหาทำให้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วหากคู่ความไม่ฎีกา คดีก็ย่อมเป็นที่สุดนับตั้งแต่ระยะเวลาฎีกาได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามอุทธรณ์โจทก์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2525 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ย่อมไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีแม้จะเกินกว่าคำพิพากษา ก็ย่อมออกคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลสั่งแก้ไขหมายบังคับคดีมิใช่แก้คำพิพากษา เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมตามหมายบังคับคดีเกินกว่าที่จำเลยรับผิดตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน หรือก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
การร้องคัดค้านการบังคับคดีจะต้องร้องคัดค้านภายในแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน แต่ต้องกระทำเสียก่อนที่การบังคับคดีได้เสร็จลงหากการบังคับคดีได้เสร็จลงไปแล้วแม้เพิ่งทราบการฝ่าฝืนก็ร้องคัดค้านอีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่าหมายบังคับคดีให้ยึดทรัพย์จำเลยที่ 1แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 2 โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีนั่นเอง กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้เองตั้งแต่วันที่5 มีนาคม 2531 โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน จนกระทั่งมีการขายทอดตลาดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้โจทก์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2535 ซึ่งถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง จำเลยไม่ชำระหนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่จำนองเพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินร้องขัดทรัพย์และต่อมาโจทก์กับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม โดยผู้ร้องยอมชำระเงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับยึดทรัพย์ที่จำนองในคดีนี้ได้ ต่อมาผู้ร้องผิดสัญญา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองซึ่งยึดไว้ในคดีเดิม โดยโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขอให้ออกคำบังคับ ยังไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดี และศาลก็ไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275,276 ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้ขอให้ศาลออกคำบังคับภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา ก็ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีตามมาตรา 271 แล้ว การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีถือได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เริ่มต้นดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ถ้า ได้ดำเนินการบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้กลายเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเสียแล้ว เมื่อเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ดังกล่าวย่อมอยู่ในฐานะเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หนี้ขาดอายุความย่อมไม่สามารถขอรับชำระได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลออกคำบังคับ ถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเริ่มต้นบังคับคดีแล้ว เพราะหากลูกหนี้ตามคำพิพากษายอมปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงโดยไม่ต้องขอให้บังคับคดีและศาลไม่ต้องออกหมายบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอหมายบังคับคดีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟ้องคดีใหม่
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนหน้าไม่เป็นอุปสรรค
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 14