คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 275

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: การชำระหนี้บางส่วนไม่กระทบการบังคับคดีทั้งหมด
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุจำนวนเงินและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตรงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำขอของโจทก์ การออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 และไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามมาตรา 296 การที่จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว โจทก์ก็มิได้รับรองว่าได้รับชำระหนี้ไว้และแม้เป็นความจริงก็ยังมีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก้โจทก์อยู่อีกจำเลยจึงต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจะยกเอามาเป็นเหตุให้ศาลยกเลิกหมายบังคับคดีหรืองดการบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: ศาลชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยอ้างชำระหนี้บางส่วน
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุจำนวนเงินและอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตรงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำขอของโจทก์ การออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 และไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามมาตรา 296 การที่จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว โจทก์ก็มิได้รับรองว่าได้รับชำระหนี้ไว้และแม้เป็นความจริงก็ยังมีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก้โจทก์อยู่อีกจำเลยจึงต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจะยกเอามาเป็นเหตุให้ศาลยกเลิกหมายบังคับคดีหรืองดการบังคับคดีหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมายบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยชำระหนี้บางส่วน โจทก์ไม่รับรองการชำระหนี้
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุจำนวนเงินและอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตรงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามคำขอของโจทก์ การออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 และไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามมาตรา 296 การที่จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว แม้เป็นความจริงก็ยังมีหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์อยู่อีก ทั้งโจทก์ก็มิได้ยอมรับว่าได้รับชำระหนี้ไว้แล้ว จำเลยจึงต้องไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะยกเอามาเป็นเหตุให้ศาลยกเลิกหมายบังคับคดีหรืองดการบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การชำระหนี้บางส่วนไม่กระทบต่อการบังคับคดีทั้งหมด และเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
ในชั้น บังคับคดีนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว ก็ยังคงมีหนี้ที่จำเลยจะต้อง ชำระแก่โจทก์อยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยังไม่ได้รับรองว่าได้ รับ ชำระ หนี้ไว้แล้วดัง ที่จำเลยอ้าง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้อง ไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะยกเอาการชำระหนี้ดังกล่าวมาเป็นเหตุให้ศาลยกเลิกหมายบังคับคดี หรืองดการบังคับคดีหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเป็นต้องระบุวิธีการบังคับคดีให้ชัดเจนในคำร้อง
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุเพียงว่า ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วย มิได้ระบุโดยแจ้งชัดถึงวิธีการบังคับคดีว่าจะให้บังคับคดีด้วยวิธีการอย่างไรไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 275 ประกอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี แม้สัญญาจะระบุ 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิเช่ามีผลใช้ได้ 3 ปี แม้ทำสัญญา 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน: สิทธิเช่าจำกัด 3 ปี แม้สัญญา 8 ปี เจ้าของที่ดินรื้อถอนก่อนกำหนดชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หน้าที่ผู้จัดการ, ประมาทเลินเล่อ, สัญญาซื้อเชื่อ, อายุความ (การไม่ยกข้อต่อสู้)
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส. และ ส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง-หน้าที่ผู้จัดการ-ประมาทเลินเล่อ-การปฏิบัติต่อกัน-อายุความ
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส.และส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้.
of 14