คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 277

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เจ้าหนี้ขอไต่สวนทรัพย์สินลูกหนี้ก่อนยื่นคำขอบังคับคดีไม่ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้มีการบังคับคดี หากลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา ด้วยการยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวต่อศาลตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ในการบังคับคดีดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีแต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือเก็บรักษาไว้ที่ใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวให้ศาลทำการไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนมีการขอให้บังคับคดีได้ เมื่อคดีนี้ โจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาลให้มีการบังคับคดีจึงไม่อาจยื่นคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยได้ ทั้งยังเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบหาทรัพย์สินของจำเลย เพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลตามมาตรา 277 ป.วิ.พ. กับการบังคับคดี: ศาลไม่สามารถวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินและมีคำสั่งอายัดได้
โจทก์ยื่นคำร้องโดยมุ่งประสงค์ขอให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยทั้งสองกับบุคคลอื่นมาให้ถ้อยคำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 277 โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายสินค้าแล้วนำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 กับบุคคลอื่นอันเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ทรัพย์สินใดเป็นของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ซึ่งมาตรา 277 บัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือวัตถุพยานซึ่งอยู่ในความยึดถือหรืออำนาจของผู้นั้นเพื่อให้ได้ความเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเรียกบุคคลผู้เคยเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นและพนักงานบัญชีของจำเลยที่ 1 มาให้ถ้อยคำและทำการไต่สวนเกี่ยวกับการขายสินค้าและการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าวอันเป็นการอนุญาตตามคำร้องของโจทก์แล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีคำสั่งใด ๆ ตามคำร้องของโจทก์อีก ส่วนการที่ตามทางไต่สวนจะได้ข้อเท็จจริงเป็นประการใดเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องไปดำเนินการขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 298 ต่อไป โดยมาตรา 277 หาได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการมีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไปเสียทีเดียวดังที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษามาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของจำเลยที่ 1 และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งสองดังกล่าวโดยให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหายมานั้น เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินเพิ่มเติมเพื่อบังคับคดี: ศาลยืนยึดได้หากราคาทรัพย์เดิมไม่พอชำระหนี้และเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
การที่โจทก์ยื่นคำขอยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม เนื่องจากราคาทรัพย์สินจำนองที่ยึดไว้เดิมไม่เพียงพอให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ประกอบกับจะล่วงเลยกำหนดเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการยึดทรัพย์สินเพิ่มเติมว่าจะนำออกขายทอดตลาดได้ก็ต่อเมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองที่ยึดไว้เดิมแล้วไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมจึงเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีเหตุสมควรให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมดังกล่าว
กรณีที่โจทก์ขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมของจำเลยในครั้งต่อ ๆ มา โดยทราบรายละเอียดของทรัพย์สินที่จะขอให้ยึดเพิ่มเติมแล้วนั้น หาจำต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และ 277 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอไต่สวนเพื่อตรวจทรัพย์สินของลูกหนี้: พยานหลักฐานไม่ชัดเจนเพียงพอ
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2534 ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้ และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด และ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา-ลาดพร้าว 111 ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกัน ดังนี้ ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้อง เป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้าง ๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 2 ปี 6 เดือน ระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลย ส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวน ชนิด และประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบ ทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์ เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบ โดยมี ว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลย คำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสองมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 277

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนค้นหาทรัพย์สินลูกหนี้: หลักฐานงบดุลที่ไม่ชัดเจนและการพิจารณาความจำเป็นในการเรียกพยาน
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลยณวันที่31ธันวาคม2534ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใดและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกันดังนี้ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้องเป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้างๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่31ธันวาคม2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ2ปี6เดือนระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลยส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัดดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวนชนิดและประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบโดยมีว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลยคำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสามมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา277

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา: ศาลมีอำนาจไต่สวนเมื่อมีเหตุผลเชื่อว่ายังมีทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากที่ทราบ
จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำนองที่ดินเป็นเงินจำนวน 30 ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจมีเหลืออยู่ อันเป็นเหตุผลพิเศษที่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ จึงมีเหตุให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยมาให้ถ้อยคำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์ที่จำนองไว้ราคาเท่าใดและจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ไม่ได้เจาะจงระบุชื่อนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมา เพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ โจทก์จะขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิของจำเลย ผู้รับโอนและเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อค้นหาทรัพย์สินเพิ่มเติมตามมาตรา 277 ว.พ.พ.
จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำนองที่ดินเป็นเงินจำนวน 30ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจมีเหลืออยู่ อันเป็นเหตุผลพิเศษที่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ จึงมีเหตุให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกจำเลยมาให้ถ้อยคำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์ที่จำนองไว้ราคาเท่าใดและจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ไม่ได้เจาะจงระบุชื่อนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมาเพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ โจทก์จะขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิของจำเลย ผู้รับโอนและเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา: เหตุผลพิเศษ & ขอบเขตการหมายเรียกพยาน
จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้จำนองที่ดินเป็นเงินจำนวน30 ล้านบาท เงินจำนวนนี้อาจมีเหลืออยู่ อันเป็นเหตุผลพิเศษ ที่โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะต้อง ถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ จึงมีเหตุให้ศาลทำการไต่สวนและ ออกหมายเรียกจำเลยมาให้ถ้อยคำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 277 โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์ที่จำนองไว้ราคาเท่าใดและจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์ก็ไม่ได้เจาะจง ระบุชื่อนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมา เพื่อให้ศาลได้ พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ โจทก์จะขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ของจำเลย ผู้รับโอนและเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา vs. พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การล่วงล้ำทางเพศและเจตนา
จำเลยอายุ28ปีผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ9ปีจำเลยใส่อวัยวะเพศของจำเลยไปที่ช่องขาตรงปากช่องคลอดและกระทำการในลักษณะของการกระทำชำเรามีรอยแดงช้ำบริเวณรอบๆช่องคลอดการกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายแล้วแต่อวัยวะเพศของจำเลยไม่ได้เข้าไปในช่องอวัยวะเพศของผู้เสียหายคงอยู่ที่บริเวณปากช่องคลอดของผู้เสียหายเท่านั้นดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา การที่จำเลยได้กระทำอนาจารโดยกอดจูบผู้เสียหายที่เตียงแล้วต่อมาจำเลยได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ห้องน้ำนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนทรัพย์สินจำเลย: ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลใกล้ชิดให้การได้หากมีเหตุอันสมควร
คำร้องของโจทก์มีข้อความว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังหนึ่งของจำเลย แต่ไม่ทราบเลขโฉนดที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถขายทอดตลาดได้บ้านราคาเพียง 50,000 บาทไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเป็นต้องยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมซึ่งโจทก์เชื่อว่ายังมีอยู่อีก แต่จำเลยหลบหนี มีบุคคล ที่อยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการไต่สวนคือ ช. สามีจำเลย ทั้งในคำร้องฉบับแรกก็ระบุว่า ช. มีฐานะมั่นคงและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสหลายโฉนด ดังนี้เป็นคำร้อง ที่แสดงเหตุอันสมควรที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียก ช. มาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
of 2