พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และประเด็นการชำระหนี้ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
เมื่อคำให้การจำเลยแปลงความได้ว่าจำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้วจำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าวสัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้นหาได้มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้จึงกระทำด้วยเอกสารหมายล.1ถึงล.3และจ.3ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม แม้มีข้ออ้างเรื่องนิติกรรมอำพราง ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
เมื่อคำให้การจำเลยแปลความได้ว่า จำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้ว จำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น หาได้มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้ จึงกระทำด้วยเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และจ.3 ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น หาได้มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้ จึงกระทำด้วยเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และจ.3 ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมลวงซื้อขายที่ดินเพื่อจำนอง ศาลสั่งให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์คืน
การที่โจทก์จดทะเบียนขายที่ดินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยนำที่ดินไปประกันเงินกู้ของนางสาว ป. โดยมิได้ตกลงซื้อขายกันจริงหนังสือสัญญาขายที่ดินจึงเกิดขึ้นโดยเจตนาลวง เป็นโมฆะ จำเลยไม่มีอำนาจนำที่ดินไปจำนองต่อธนาคาร แต่ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยปลอดภาระหนี้สิน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ซึ่งการบังคับโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้กระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้นในกรณีนี้หากจำเลยไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองก่อน ก็ให้โจทก์ดำเนินการแทนโดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สัญญาเช่าซื้อ vs. ซื้อขายผ่อนส่ง และการหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้คัดค้านทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย มีผู้จองซื้อที่ดินจากผู้คัดค้านจำนวน 96 ราย รวมทั้งลูกหนี้ด้วยผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินทำสัญญาเช่าซื้อไว้ และก่อนทำการแบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย ผู้คัดค้านใส่ชื่อผู้จองซื้อที่ดินทั้งหมดลงในโฉนดที่ดินเป็นการซื้อร่วมกับผู้คัดค้าน และเมื่อเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินแปลงย่อยแล้วมีชื่อผู้จองซื้อที่ดินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงซึ่งเป็นการให้ผู้จองซื้อที่ดินถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเป็นการอำพรางว่าผู้คัดค้านมิได้จัดสรรที่ดิน ผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ใช้ดำเนินการโอนที่ดินเป็นของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้จองซื้อที่ดินผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และผู้คัดค้านเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไว้แสดงว่าผู้คัดค้านและผู้จองซื้อที่ดินมีเจตนาให้ผูกพันต่อกันอย่างสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งราคา เมื่อลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันผู้คัดค้านทวงถามแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้คัดค้านกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่ลูกหนี้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าไปดำเนินการโอนที่ดินใส่ชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน หากแต่เป็นการโอนให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงจึงไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน นิติกรรมซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง และย่อมถือว่าสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงเพื่อนำไปจำนอง สัญญาเป็นโมฆะและต้องคืนที่ดิน
การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ยืมที่ดินไปจำนองธนาคาร โดยจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตกลงว่าเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 จะโอนคืนโจทก์นั้น การโอนขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยเจตนาลวง ไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการสมคบกันแสดงเจตนาลวงของลูกหนี้และโจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)โดยอ้างว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองสมคบกันแสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเพื่อมิให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้มีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิซึ่งผู้ร้องมีอยู่ เพื่อให้ได้ชำระหนี้ ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย คำร้องของผู้ร้องมีเหตุผลต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57(1) โดยไม่ต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม การพิสูจน์นิติกรรมอำพรางต้องมีหลักฐานสัญญาการกู้ยืมที่แท้จริง
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานในการขายฝากที่ดินหาใช่เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินไม่ ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่าสัญญาขายฝากที่ดินที่พิพาทซึ่งจำเลยทำไว้กับโจทก์เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ไม่ได้ ในเมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมอันเป็นนิติกรรมที่แท้จริงมาแสดงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาขายฝากอำพรางการกู้ยืมเงินกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายหุ้นจากการแสดงเจตนาลวง แต่ต้องรับผิดต่อบริษัทจำเลยสุจริต และเอกสารมหาชนมีผลสันนิษฐานถูกต้อง
การที่ผู้ร้องรับซื้อหุ้นบริษัทจำเลยมาจาก ก. โดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการแสดงเจตนาลวงระหว่างผู้ร้องกับ ก. สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยรู้เห็นกับการแสดงเจตนาลวง โดยรับจดแจ้งการโอนหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามสัญญาซื้อขายโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงดังกล่าว เนื่องจากบริษัทจำเลยไม่อาจเรียกเอามูลค่าหุ้นที่ขาดจาก ก. ได้ผู้ร้องจึงไม่อาจยกความเป็นโมฆะขึ้นต่อสู้กับบริษัทจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 118วรรคแรก บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองเป็นเอกสารมหาชนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 เมื่อผู้ร้องอ้างว่าบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะมีการชำระค่าหุ้นพิพาทเต็ม มูลค่าแล้ว ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้: ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยอ้างว่าเป็นสินสมรสของจำเลย ก่อนถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยตกลงแบ่งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้เป็นของผู้ร้อง แต่ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินในการหย่านั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจึงคงเป็นทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนการยึดตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 158.