คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญากู้ - การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้อำพรางการที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยหักกับหนี้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่นำสืบพยานก่อน แต่เอกสารกู้มีความว่า จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วจำเลยให้การทำนองว่าแปลงหนี้โดยเอาหนี้เก่าหักกับหนี้ค่าเช่ามาทำเป็นสัญญากู้ ไม่เป็นการแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จึงสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงินหลอกลวงเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิกถอนใบอนุญาต ประเด็นเจตนาและการรู้เห็นเป็นใจ
โจทก์กู้เงินจำเลยและฝากเงินประจำแก่จำเลยเพื่อหลอกลวงทางราชการโดยแสดงใบรับเงินฝากว่าโจทก์มีเงิน ทางราชการจะได้ไม่ถอนใบอนุญาตกิจการประกันภัย อันเป็นการรู้เห็นเป็นใจ ไม่ใช่เจตนาแท้จริงเป็นโมฆะ
จำเลยให้การว่าสัญญาฝากเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเจตนาลวงหากจะมีการฝากกันจริง ก็ได้ถอนไปแล้ว ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นสองแง่ขัดกัน จำเลยนำสืบได้ตามที่ให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการจำนอง แม้ไม่ได้จดทะเบียน ศาลสั่งให้จำเลยรับเงินไถ่ถอน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากสัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์เพื่อแสดงเจตนาที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญากู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส. ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ. ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้ แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสาร โดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อหุ้น และการรับผิดในหนี้สิน กรณีผู้กู้ตัวจริงไม่ใช่ผู้ลงนามในสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญารู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส.ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ.ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพรางจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสารโดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินร่วม กรณีทายาทรับมรดกและเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดา ซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินมรดก ศาลพิจารณาการแบ่งสิทธิร่วมในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดาซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีว่าสัญญาไม่สมบูรณ์และหนี้ระงับแล้ว ศาลอนุญาตให้สืบพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินที่กู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์กันระหว่างสามีโจทก์กับสามีจำเลย สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อจึงให้จำเลยนำที่ดินมาจำนองค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้น โดยให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแทนเพราะสามีโจทก์เป็นคนต่างด้าว สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ และหนี้ตามสัญญาจำนองได้ระงับสิ้นไปเพราะสามีโจทก์ได้เรียกเอารถยนต์คืนไปแล้ว และในระหว่างที่รถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่ที่สามีจำเลย สามีจำเลยก็ได้ส่งเงินให้สามีโจทก์ และไม่เคยติดค้างดอกเบี้ยคำให้การจำเลยเช่นนี้เป็นคำให้การที่ต่อสู้คดีว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาที่พิพาทอยู่กับสามีโจทก์ แต่การที่ปรากฏมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยก็โดยมีเจตนาจะอำพรางตัวเจ้าหนี้ที่แท้จริงไว้ ทั้งจำเลยยังต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาที่พิพาทเป็นหนี้สืบเนื่องมาจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยอ้างด้วยว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีติดค้างอยู่ระหว่างสามีโจทก์และสามีจำเลย หากฟังได้สมจริงดังจำเลยต่อสู้หนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองตามที่โจทก์ฟ้องก็อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องนิติสัมพันธ์จริงของหนี้ และการนำสืบพยานตามข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินที่กู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์กันระหว่างสามีโจทก์กับสามีจำเลย สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อจึงให้จำเลยนำที่ดินมาจำนองค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้น โดยให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแทนเพราะสามีโจทก์เป็นคนต่างด้าว สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ และหนี้ตามสัญญาจำนองได้ระงับสิ้นไปเพราะสามีโจทก์ได้เรียกเอารถยนต์คืนไปแล้ว และในระหว่างที่รถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่ที่สามีจำเลย สามีจำเลยก็ได้ส่งเงินให้สามีโจทก์ และไม่เคยติดค้างดอกเบี้ยคำให้การจำเลยเช่นนี้เป็นคำให้การที่ต่อสู้คดีว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาที่พิพาทอยู่กับสามีโจทก์ แต่การที่ปรากฏมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็โดยมีเจตนาจะอำพรางตัวเจ้าหนี้ที่แท้จริงไว้ ทั้งจำเลยยังต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาที่พิพาทเป็นหนี้สืบเนื่องมาจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยอ้างด้วยว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีติดค้างอยู่ระหว่างสามีโจทก์และสามีจำเลย หากฟังได้สมจริงดังจำเลยต่อสู้หนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองตามที่โจทก์ฟ้องก็อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
of 28