พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791-792/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพื่อเลี่ยงเจ้าหนี้ สัญญาใช้บังคับไม่ได้ตามมาตรา 118
โจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป แล้วมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ย
จำเลยให้โจทก์ทำเป็นสัญญาขายนาพิพาทอำพรางไว้ให้แก่จำเลยเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้อื่นมายึดเอาที่นาพิพาทได้สัญญาขายนาพิพาทใช้บังคับแก่คู่กรณีไม่ได้ตามมาตรา 118แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยให้โจทก์ทำเป็นสัญญาขายนาพิพาทอำพรางไว้ให้แก่จำเลยเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้อื่นมายึดเอาที่นาพิพาทได้สัญญาขายนาพิพาทใช้บังคับแก่คู่กรณีไม่ได้ตามมาตรา 118แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะทำสัญญาขายฝาก จำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใด นิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลย สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในขณะทำสัญญาขายฝากจำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใดนิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลยสัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้วคำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้วคำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การพิสูจน์เจตนาลวงและผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่านิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะ โดยอ้างว่านิติกรรมการขายฝากและสัญญาเช่าเป็นิติกรรมอำพราง ให้จำเลยรับเงินไถ่ถอนและแก้ทะเบียนที่ดินคืนเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่า นิติกรรมขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมแท้จริงไม่อำพราง สัญญาเช่าสิ้นอายุแล้ว ขอให้ขับไล่นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตาที่แสดงออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508)(ประชุมใหญ่)
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตาที่แสดงออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508)(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: โมฆะของนิติกรรมที่ปรากฏ และผลบังคับใช้ของนิติกรรมที่ถูกซ่อน
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่านิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะ โดยอ้างว่านิติกรรมการขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ให้จำเลยรับเงินไถ่ถอนและแก้ทะเบียนที่ดินคืนเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่านิติกรรมขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมแท้จริงไม่อำพราง สัญญาเช่าสิ้นอายุแล้วขอให้ขับไล่นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมยอมทำหนี้เพื่อเรียกทรัพย์จากผู้ไร้ความสามารถ ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดี
จำเลยที่ 1 เป็นคนไร้ความสามารถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 2 ได้สมยอมทำหนังสือสัญญากู้เงินกับโจทก์เพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมยอม: การกู้เงินโดยผู้อนุบาลเพื่อเรียกทรัพย์สินของบุคคลไร้ความสามารถ ศาลพิพากษายืนตามชั้นต้น
จำเลยที่ 1 เป็นคนไร้ความสามารถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 2 ได้สมยอมทำหนังสือสัญญากู้เงินกับโจทก์เพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาลวงในการโอนสิทธิเช่า: เอกสารเป็นโมฆะได้ แม้มีพยานสืบหักล้าง
เอกสารมีข้อความว่า ผู้เช่าที่ดินแจ้งต่อผู้ให้เช่าขอโอนสิทธิการเช่าให้ผู้รับโอน และผู้รับโอนบันทึกไว้ด้วยว่ายอมรับโอนสิทธิการเช่า ดังนี้ ในคดีระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน ผู้โอนนำสืบได้ว่าความจริงผู้โอนและผู้รับโอนตกลงกันให้ผู้รับโอนชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่ผู้ให้เช่าแทนผู้โอนโดยผู้รับโอนเก็บค่าเช่าห้องแถวที่ดินที่เช่านั้นชดใช้และแบ่งเป็นบำเหน็จจึงทำเอกสารการโอนไว้เพื่อความสะดวกและเป็นประกันการแสดงเจตนาเช่นนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวง โดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 คู่ความนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างข้อความในเอกสารนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)