คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและบุคคลภายนอกไม่สุจริต
ผู้ร้องสอดจำนองเรือยนต์ไว้กับโจทก์ตามสัญญาหมาย จ.1 ต่อมาผู้ร้องสอดโอนเรือนี้ให้แก่จำเลย เพื่อหลบเจ้าหนี้ของผู้ร้องสอดโดยรู้กับจำเลย แล้วให้จำเลยทำสัญญาจำนองเรือนั้นกับโจทก์ใหม่เท่าจำนวนหนี้ตามสัญญาจำนองเดิม การจำนองครั้งหลังนี้ไม่มีการรับเงิน แต่ถือเอาเงินที่ผู้ร้องสอดจะต้องชำระตามสัญญาจำนองหมาย จ.1 มาเป็นเงินรับจำนองตามสัญญาหมาย จ.2 โดยโจทก์ก็ทราบว่าผู้ร้องสอดโอนเรือพิพาทให้แก่จำเลยเพื่อหลบเจ้าหนี้ ส่วนสัญญาจำนองหมาย จ.1 ก็ยังไม่ได้จดทะเบียนไถ่ถอน ดังนี้ เห็นได้ว่าเจตนาของผู้ร้องสอดในการโอนเรือให้แก่จำเลยเป็นเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ จำนองไม่มีสิทธิในเรือตลอดทั้งไม่มีสิทธิที่จะทำสัญญาจำนองเรือกับโจทก์แต่ประการใด โจทก์ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต เพราะทราบเจตนาลวงของผู้ร้องสอดนั้นอยู่แล้ว จึงฟ้องบังคับจำนองตามสัญญาหมาย จ.2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและบุคคลภายนอกไม่สุจริต ทำให้สัญญาจำนองไม่มีผลบังคับใช้
ผู้ร้องสอดจำนองเรือยนต์ไว้กับโจทก์ตามสัญญาหมายจ.1ต่อมาผู้ร้องสอดโอนเรือนี้ให้แก่จำเลยเพื่อหลบเจ้าหนี้ของผู้ร้องสอดโดยสมรู้กับจำเลย แล้วให้จำเลยทำสัญญาจำนองเรือนั้นกับโจทก์ใหม่เท่าจำนวนหนี้ตามสัญญาจำนองเดิม การจำนองครั้งหลังนี้ไม่มีการรับเงิน แต่ถือเอาเงินที่ผู้ร้องสอดจะต้องชำระตามสัญญาจำนองหมายจ.1 มาเป็นเงินรับจำนองตามสัญญาหมายจ.2 โดยโจทก์ก็ทราบว่าผู้ร้องสอดโอนเรือพิพาทให้แก่จำเลยเพื่อหลบเจ้าหนี้ ส่วนสัญญาจำนองหมายจ.1 ก็ยังไม่ได้จดทะเบียนไถ่ถอน ดังนี้ เห็นได้ว่าเจตนาของผู้ร้องสอดในการโอนเรือให้แก่จำเลยเป็นเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลย จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธิในเรือตลอดทั้งไม่มีสิทธิที่จะทำสัญญาจำนองเรือกับโจทก์แต่ประการใด โจทก์ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยไม่สุจริตเพราะทราบเจตนาลวงของผู้ร้องสอดนั้นอยู่แล้ว จึงฟ้องบังคับจำนองตามสัญญาหมายจ.2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่ไม่ผูกพันจริง ศาลวินิจฉัยเป็นนิติกรรมกู้เงินได้
โจทก์กู้เงินจำเลยแต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ(แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยเกินอัตรา ศาลพิจารณาตามเจตนาคู่สัญญา
โจทก์กู้เงินจำเลย แต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก นิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ (แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน, ระยะเวลาสัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียน, และการโอนสิทธิโดยไม่สุจริต
ในการทำสัญญาเช่าห้อง ผู้เช่าออกเงินให้ผู้ให้เช่า 5,000 บาท ในสัญญาเช่ากล่าวถึงว่าเป็นเงินค่าก่อสร้างค่าแป๊ะเจี๊ยะ เมื่อคดีได้ความว่าในขณะทำสัญญานี้ผู้ให้เช่ามีห้องพร้อมอยู่ แล้วไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ เงินที่ผู้เช่าออกไปนั้น จึงไม่ใช่เงินค่าก่อสร้าง คงเป็นเงินกินเปล่าตามธรรมดาสัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าไว้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน และผลกระทบต่อระยะเวลาการเช่า รวมถึงการสมยอมเพื่อขับไล่ผู้เช่า
ในการทำสัญญาเช่าห้อง ผู้เช่าออกเงินให้ผู้ให้เช่า 5,000 บาท ในสัญญาเช่ากล่าวถึงว่าเป็นเงินค่าก่อสร้างค่าแป๊ะเจี๊ยะ เมื่อคดีได้ความว่าในขณะทำสัญญานี้ ผู้ให้เช่ามีห้องพร้อมอยู่แล้วไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ เงินที่ผู้เช่าออกไปนั้นจึงไม่ใช่เงินค่าก่อสร้าง คงเป็นเงินกินเปล่าตามธรรมดา สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดาไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าได้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจากการโอนทรัพย์สิน โมฆะกรรม และการแสดงเจตนาลวง
(1) ข้อต่อสู้ของจำเลยกับสิทธิของจำเลยนั้นเป็นคนละเรื่อง ด้วยเหตุนี้เอง แม้ในคดีเรื่องหนึ่งจำเลยจะได้เคยต่อสู้ คืออ้างว่าหนังสือสัญญาปลอม แต่ต่อมาคดีนั้นถึงที่สุด โดยศาลฟังว่าหนังสือสัญญานั้นไม่ปลอม และหนังสือสัญญาที่ว่านี้ได้ทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะจำเลยได้รับรองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้วด้วยเช่นนี้ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิตามที่บุคคลนั้นทำให้ไว้แก่จำเลยด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเสียหายในการที่บุคคลนั้นโอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวไปโดยสมยอมกับผู้ซื้อ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิอ้างความเป็นโมฆะอันเกิดจากการซื้อขายในการสมยอมนั้นขึ้นต่อสู้คดีได้ (2) การแสดงเจตนาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีได้ในสัญญาทุกชนิด อันการทำกรมธรรม์สัญญาด้วยเจตนาลวง แม้จะทำที่อำเภอก็เป็นโมฆะ และไม่จำต้องขอให้เพิกถอน เพราะไม่เป็นนิติกรรมเสียแล้ว ผลก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อผูกพันจากสัญญาเดิมเป็นสัญญากู้ และผลของการปฏิเสธความรับผิดตามสัญญากู้
โจทก์จำเลยมีหนี้สินเกี่ยวค้างกันคิดบัญชีแล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ จำเลยก็ทำให้ดังนี้ เป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนข้อผูกพันจากสัญญาเดิมมาผูกพันกันในลักษณะกู้เงิน การกู้เงินจึงเป็นนิติกรรมที่แสดงออกโดยเจตนาแท้จริงที่จะผูกพันกันตามที่แสดงนั้น หาใช่นิติกรรมอำพรางอย่างใดไม่
การที่โจทก์มาฟ้องหนี้เงินกู้ก่อนถึงกำหนดชำระนั้น เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ก็เป็นการแสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ เท่ากับจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยใช้หนี้ได้โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดตามเงื่อนเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางต้องมีนิติกรรมที่ใช้บังคับได้ทั้งสองอัน การอ้างนิติกรรมต่างจากที่จดทะเบียนเป็นข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมิได้มีเจตนาที่จะผูกพิติสัมพันธ์กันอย่างไรเลย หากแต่แสร้งทำเป็นนิติกรรมขึ้นเพื่อลวงบุคคลภายนอก กฎหมายจึงยอมให้บุคคลทั้งสองฝ่ายน้นอ้างอิงความไม่สมบูรณืของนิติกรรมนั้น เพื่อแสดงว่าเป็นโมฆะได้ ส่วนวรรคสองหมายถึงบุคคลสองฝ่ายตกลงกันทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่ไม่แสดงเจตนาออกเช่นนั้น แสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่ง เพื่ออำพรางนิติกรรมที่เขาแสดงเจตนาอันแท้จริงผูกนิติสัมพันธ์กันขึ้นนั้น กฎหมายจึงให้บังคับตามเจตนาอันแท้จริงที่เขาผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นได้
ในกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนองโดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่งเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาสั่งซื้อเป็นสัญญากู้: ข้อต่อสู้ที่ขัดต่อสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในฐานผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า ผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องการทำสัญญาซื้อขายต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ซื้อคือโจทก์ เกรงว่าผู้ขายจะกลับถ้อยคืนคำ ผู้ซื้อให้ทำเป็นสัญญากู้จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ เป็นเรื่องคู่สัญญาเปลี่ยนความประสงค์เดิม เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นเรื่องคู่สัญญาสมัครใจเปลี่ยนทำสัญญากู้และค้ำประกัน แทนสัญญาซื้อขายเสียแล้ว การที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้เป็นการขัดต่อสัญญากู้และค้ำประกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
of 28