คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากสมบูรณ์ ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้ตกลงซื้อคืนภายหลังได้ โดยมีค่าปรับ
จำเลยมิได้ตกลงทำสัญญาจำนองตามความประสงค์ของโจทก์เพียงแต่ให้คำมั่นว่าให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนได้ภายหลังครบกำหนดเวลาในสัญญาขายฝากแล้วเท่านั้น โดยการซื้อคืนโจทก์จะต้องเพิ่มเงินชดเชยให้จำเลย ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิได้เกิดขึ้น ที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาขายฝากที่พิพาทไว้แก่จำเลยโดยมีสัญญาผูกพันกันไว้อีกฉบับหนึ่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่พิพาทคืนหลังจากครบกำหนดสัญญาขายฝากแล้ว ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจ มิใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยแต่อย่างใด นิติกรรมขายฝากจึงสมบูรณ์ บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ และ มิใช่นิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดในสัญญา การที่ตัวแทนทำสัญญาในนามหลัก ย่อมทำให้หลักมีหน้าที่ผูกพัน
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมาย จ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3 เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริตแต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง ตัวแทน และความรับผิดชอบในสัญญา การกระทำของตัวแทนผูกพันหลักทรัพย์
ห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนไปประมูลและทำการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งกระจกและบานประตูจนโจทก์ทำให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 1077(2) ประกอบด้วยมาตรา1087
ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจหมายจ.3 เป็นเรื่องที่ห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3ยืมชื่อไปใช้ประมูลและทำการก่อสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 3เข้าทำการก่อสร้างเอง จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นการไม่สุจริต แต่อย่างใด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังกล่าวจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องได้รับความเสียหายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก
ปรากฏตามคำฟ้องและทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ของจำเลยที่ 1 และได้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ภายในขอบอำนาจแห่งฐานเป็นตัวแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดโดยกำหนดจำนวนหนี้แตกต่างกัน จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาทั้งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาลวง นิติกรรมยกทรัพย์สินระหว่างสมรส และการยักย้ายทรัพย์มรดก
การแสดงเจตนาลวงที่จะเป็นเหตุทำให้เป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 นั้น ต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนาทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยแจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าสามีจำเลยที่ 1 ตายจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสามีใหม่นั้น เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมยกที่ดินให้กันจริง ไม่ปรากฏว่าได้แสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใดจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตายโดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอม และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้ จำเลยที่1 บิดพลิ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะทำได้ และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาลวง นิติกรรมโมฆะ สิทธิในทรัพย์สินระหว่างสมรส การจัดการทรัพย์มรดก
การแสดงเจตนาลวงที่จะเป็นเหตุทำให้เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 นั้น ต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยแจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าสามีจำเลยที่ 1 ตาย จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสามีใหม่นั้น เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมยกที่ดินให้กันจริง ไม่ปรากฏว่าได้แสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เคยทวงถามเงินกู้จากผู้กู้หลังจากเจ้ามรดกตาย โดยยอมลดจำนวนเงินกู้ให้ หรือให้ผู้กู้เปลี่ยนเป็นกู้จำเลยที่ 1 แทนแต่ผู้กู้ไม่ยอม และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ส่งมอบสัญญากู้เงินดังกล่าวให้ จำเลยที่ 1 บิดพลิ้วโดยขอหักเป็นค่าทำศพเจ้ามรดกรูปเรื่องน่าจะเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทเข้าใจว่าตนมีสิทธิจะทำได้ และเป็นการใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ ไม่พอฟังว่าปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางขายฝากที่ดิน - การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลง
บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยประสงค์จะขายฝากที่ดินกันเพียง200 ตารางวา ส่วนที่เหลือไม่ได้ขายฝากเพราะจะต้องแบ่งแยกโฉนดแม้โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยทั้งแปลงโจทก์ก็นำสืบว่าขายฝากเพียง 200 ตารางวา ได้เพราะเป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินและข้อตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงิน การหักกลบลบหนี้ และอำนาจศาลในการบังคับคดี
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2 ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, การเปลี่ยนแปลงวงเงิน, การหักกลบลบหนี้, นิติกรรมอำพราง, สัญญาต่างตอบแทน
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าที่ไม่สมบูรณ์และมีเจตนาหลอกลวง ทำให้การหย่าไม่มีผลผูกพัน โจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภรรยา
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่ร่วมเรือนเดียวกันและร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันอีก 1 หลัง ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนาขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกต้นผลอาสินเยี่ยงสามีภรรยา ต่างฝ่ายไม่มีคู่ครองใหม่พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าการจดทะเบียนหย่าก็โดยเจตนาไม่ประสงค์จะให้มีผลผูกพันกัน จึงใช้บังคับกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรือนพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้ และผู้รับช่วงสิทธิจำนอง
โจทก์ยอมถอนการยึดทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ก็เพื่อให้จำเลยนำไปขายแก่บุคคลทั่วไป มิได้เจาะจงให้ขายแก่ผู้ร้อง เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผู้ร้องรู้อยู่ก่อนทำสัญญาซื้อขายทรัพย์พิพาทจากจำเลยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่จำเลยตกลงขายทรัพย์พิพาทให้ผู้ร้อง โดยโจทก์มิได้ยินยอมให้ผู้ร้องหักหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ก่อนจนเหลือเงินไม่พอชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการที่จำเลยได้ขายทรัพย์พิพาทให้ผู้ร้องทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบและผู้ร้องได้รู้เท่าถึงความจริงโจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
การที่ผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. แทนจำเลยเป็นการไถ่ถอนจำนองทรัพย์พิพาทจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก. และธนาคาร ก. ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้จำเลยแล้ว ผู้ร้องย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจำนองของธนาคาร ก. ที่มีอยู่เหนือทรัพย์พิพาทในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์พิพาทก่อนหนี้รายอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226, และ 229(2)
แม้ตามคำร้องและคำให้การของโจทก์จะมีประเด็นเพียงว่าผู้ร้องและจำเลยสมคบกันโอนทรัพย์พิพาทให้พ้นจากการถูกยึดขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยสมคบกันโอนทรัพย์พิพาทให้พ้นจากการถูกยึดขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์นั้น ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบ. ศาลย่อมวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวได้ ไม่เป็นการนอกประเด็น
of 28