คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงคือการกู้ยืมเงินหรือไม่
เดิมโจทก์มีเจตนาเพียงกู้เงินจากจำเลยไม่ประสงค์จะขายฝากที่พิพาท แต่เมื่อจำเลยให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาท ซึ่งถ้าโจทก์ไม่ยอมทำขายฝากจำเลยก็จะไม่ให้เงินในที่สุด โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาขายฝากให้เช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยความสมัครใจของโจทก์เอง สัญญาขายฝากใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยการสมรู้ของโจทก์ จำเลยที่ทำเพื่อจะอำพราง การกู้ยืมเงินไม่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหลอกลวงเป็นโมฆะ: เจตนาลวงทำให้สัญญาไม่สมบูรณ์
บุตรโจทก์ชอบดื่มสุราและเล่นการพนัน จะเอาที่พิพาทไปจำนอง โจทก์จึงขายที่พิพาทให้จำเลยหลอก ๆ เมื่อกลับถึงบ้าน โจทก์คืนเงินที่จำเลยชำระให้แก่จำเลยดังนี้ สัญญาซื้อขายที่พิพาทจึงทำขึ้นโดยเจตนาลวงเป็นโมฆะต้องคืนที่พิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและการเปลี่ยนเจตนา ยินยอมผูกพันตามสัญญา
โจทก์ไปติดต่อกู้เงินจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยนำรถยนต์พิพาทไปเป็นหลักประกัน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ตกลงโดยทำเป็นวิธีการให้โจทก์โอนขายรถยนต์พิพาทแก่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 3 ขายต่อไปยังจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์จึงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทนั้นจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นวิธีการทางการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงแม้ว่าขณะโจทก์ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อนั้นยังไม่ได้มีการกรอกข้อความก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทราบถึงวิธีการทางการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ดีอยู่แล้วจึงมอบหมายให้จำเลยที่ 1 กรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อได้หาใช่การไม่มีข้อความกรอกไว้ขณะโจทก์ลงชื่อเป็นหลักฐานว่าสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางไม่แม้ความประสงค์เดิมของโจทก์เป็นเรื่องต้องการกู้เงิน ไม่ใช่ต้องการได้รถยนต์พิพาทแต่เมื่อโจทก์ยอมทำนิติกรรมตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพื่อในที่สุดจะได้เงินตามที่ต้องการ ก็แสดงว่าโจทก์เปลี่ยนมายินยอมผูกพันตามนิติกรรมที่ทำขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัทไม่ใช่การกู้ยืม และการประนีประนอมยอมความเป็นหลักฐานการเกิดหนี้ที่ใช้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
จ่ายเงินทดรองค่าใช้จ่ายของบริษัทไม่ใช่กู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อเป็นหนี้กันจริงก็ไม่เป็นการสมยอม ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากโดยสมัครใจ ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด
เดิมโจทก์มีเจตนาจะทำสัญญาจำนอง แต่เมื่อจำเลยไม่ตกลงด้วย และให้ทำสัญญาขายฝาก โจทก์ก็ตกลงยินยอม เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจเอง มิใช่เกิดจากเจตนาลวง และมิใช่นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง แม้จำเลยจะคิดผลประโยชน์ในการรับซื้อฝากโดยเรียกเท่ากับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 บาท 75 สตางค์ต่อเดือน เป็นอัตราเกินกว่ากฎหมายกำหนดในการเรียกดอกเบี้ยก็ตาม แต่เมื่อนำผลประโยชน์ที่เรียกมารวมกับเงินค่ารับซื้อฝากที่จำเลยให้โจทก์ไปแล้วย่อมกลายเป็นสินไถ่ซึ่งในสัญญาขายฝาก คู่สัญญาจะกำหนดสินไถ่โดยเรียกผลประโยชน์รวมไปกับเงินต้นเท่าใดก็ได้ โดย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 อนุญาตไว้ และคู่สัญญาย่อมตกลงผ่อนชำระสินไถ่กันได้ การผ่อนชำระเงินต้นของโจทก์ย่อมมีผลเท่ากับผ่อนชำระสินไถ่บางส่วนนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินสินสมรสโดยไม่มีค่าตอบแทนและการยินยอมของคู่สมรสในคดีล้มละลาย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดิน ต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ดังนี้ หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2, 3, 4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน และเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้ มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเจตนายินยอม
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาของลูกหนี้ (จำเลยในคดีล้มละลาย) มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 นำที่ดินที่ตนซื้อมาระหว่างสมรสไปจำนองเอาเงินมาสร้างตึกแถวบนที่ดินต่อมานำเงินอันเป็นสินส่วนตัวไปไถ่จำนอง แล้วจดทะเบียนยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 โดยลูกหนี้รู้เห็นยินยอม และเป็นการโอนในระหว่าง 3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายดังนี้หนี้จำนองนั้นเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวชำระหนี้นั้น เป็นคนละส่วนกับการโอนที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เงินไถ่จำนองไม่ใช่ค่าตอบแทนในการโอนที่ดิน การโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2,3,4 เป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยอมให้ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการโอนที่ดินในส่วนของตนอันจำต้องเพิกถอนศาลย่อมสั่งให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วนของลูกหนี้มิฉะนั้นก็ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้ราคา
ปัญหาว่านิติกรรมยกให้เป็นนิติกรรมอำพราง มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง: ต้องมีสมรู้ร่วมใจและเจตนาปกปิดนิติกรรมที่แท้จริง
การแสดงเจตนาลวงที่จะตกเป็นโมฆะ จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ที่จะไม่ให้ผูกพันกัน หรืออีกนัยหนึ่ง จะต้องปรากฏว่ามีการสมรู้กันระหว่างคู่กรณีในการแสดงเจตนาลวงนั้น
กรณีที่จะเกิดมีนิติกรรมอำพรางขึ้นนั้น จะต้องเนื่องมาจากการที่บุคคลสองฝ่ายตกลงจะทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่กลับแสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่ง เพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะทำกันโดยเจตนาอันแท้จริง จึงให้บังคับกันตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง: ต้องมีสมรู้ร่วมใจกันและมีเจตนาซ่อนเร้นที่แท้จริง
การแสดงเจตนาลวงที่จะตกเป็นโมฆะ จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่ทำขึ้นโดยความประสงค์ร่วมกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่จะไม่ให้ผูกพันกัน หรืออีกนัยหนึ่ง จะต้องปรากฏว่ามีการสมรู้กันระหว่างคู่กรณีในการแสดงเจตนาลวงนั้น
กรณีที่จะเกิดมีนิติกรรมอำพรางขึ้นนั้น จะต้องเนื่องมาจากการที่บุคคลสองฝ่ายตกลงจะทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่กลับแสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งเพื่อปกติหรืออำพรางนิติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะทำกันโดยเจตนาอันแท้จริง จึงให้บังคับกันตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาเช่าซื้อ: หลักฐานการรับมอบงานและชำระค่าจ้างไม่ผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ต่อรถยนต์บรรทุกน้ำมันเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ไว้เพราะค้างชำระค่าจ้าง จำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบพยานว่า ความจริงเป็นกรณีจำเลยว่าจ้างโจทก์ต่อรถยนต์บรรทุกน้ำมันอันเป็นสัญญาจ้างทำของ และเอกสารสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์เป็นเพียงหลักฐานการรับมอบการงานที่ว่าจ้าง และการชำระสินจ้างที่ยังค้างชำระอยู่เท่านั้น มิได้มีเจตนามุ่งผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ และจำเลยจะไปฟ้องร้องกันใหม่นั้นเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาดังกล่าวได้ในเมื่อพิจารณาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
of 28