พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์ - ค่าขึ้นศาล - ประกันความเสียหาย - เพิกเฉยคำสั่งศาล - จำหน่ายคดี - เหตุผลอันสมควร
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องคือตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน 2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาท ก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์2,083,800 บาท ภายใน 30 วัน แม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้ คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1)และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการวางเงินประกันความเสียหาย: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินเพื่อคุ้มครองโจทก์หากคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและมีเจตนาประวิงคดี
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องคือตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้เป็นเงิน2,083,800 บาท คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคา 425,000 บาทก็ไม่ปรากฏเหตุผลในคำร้องว่าอาศัยหลักอะไรในการตีราคาเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ 2,083,800 บาท ภายใน 30 วันแม้ผู้ร้องจะยื่นคำคัดค้านไว้ แต่ต่อมาผู้ร้องก็แถลงขอขยายระยะเวลาชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่ออกไปถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2537 หากถึงวันนัดยังไม่สามารถนำเงินมาวางศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจร้องขัดทรัพย์ อันเป็นการยอมรับจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ชำระค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้าโดยมีหลักฐานสนับสนุนอยู่ในสำนวนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ได้
คดีนี้คำร้องของโจทก์อ้างว่า หากผู้ร้องและจำเลยที่ 3 ตกลงซื้อขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้องจริงก็ย่อมจะปรากฏในสารบาญโฉนดที่ดินทั้งราคาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างมาก็ต่ำกว่าที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทประกันหนี้โจทก์ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี ผู้ร้องได้รับสำเนาแล้วแถลงว่า แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานเบื้องต้นมีเหตุตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 200,000 บาท ภายใน 30 วัน คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง (1) และเมื่อจำนวนเงินที่วางประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่สมควร เมื่อผู้ร้องไม่วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล: การพิจารณาพฤติการณ์แสดงเจตนาดำเนินคดีของผู้ฟ้อง
คดีนี้โจทก์ยื่นคำฟ้องวันที่ 14 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาวันที่ 23 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี โดยปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีนั้น โจทก์ยื่นคำแถลงลงวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ยังได้เสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 3 ในวันยื่นคำฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมนำส่งหมายเรียกหลังจากวันฟ้องแล้วเพียง 8 วัน ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจดำเนินคดีต่อไปอีกเช่นกัน จึงเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีโจทก์ซึ่งเพิ่งยื่นฟ้องได้เพียง 8 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลและการคำนวณระยะเวลาชำระ: การยกเลิกคำสั่งเดิมและการนับระยะเวลาใหม่
การที่ผู้ร้องร้องขอปล่อยทรัพย์ทั้งหมดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เท่ากับประโยชน์ที่ผู้ร้องร้องขอหรือได้รับคือราคาทรัพย์ทั้งหมดที่ยึดไว้ หาใช่เฉพาะส่วนที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน ต่อมาก่อนถึงกำหนด 15 วัน ตามคำสั่งดังกล่าว คือเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งเดิม ให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันนี้ โดยไม่มีการแจ้งคำสั่งนี้ให้ผู้ร้องทราบ ซึ่งเป็นการมีคำสั่งก่อนพ้นกำหนดเวลาตามคำสั่งเดิม จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 แล้ว และให้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ซึ่งตามคำสั่งนี้ถือได้ว่ายังไม่มีวันเริ่มต้นชำระค่าขึ้นศาล ดังนั้น ต่อมาวันที่ 3 เมษายน 2538ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายใน 15 วัน ถือว่าทิ้งคำร้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนภายใน 7 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษานี้ แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน ต่อมาก่อนถึงกำหนด 15 วัน ตามคำสั่งดังกล่าว คือเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งเดิม ให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันนี้ โดยไม่มีการแจ้งคำสั่งนี้ให้ผู้ร้องทราบ ซึ่งเป็นการมีคำสั่งก่อนพ้นกำหนดเวลาตามคำสั่งเดิม จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 แล้ว และให้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ซึ่งตามคำสั่งนี้ถือได้ว่ายังไม่มีวันเริ่มต้นชำระค่าขึ้นศาล ดังนั้น ต่อมาวันที่ 3 เมษายน 2538ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายใน 15 วัน ถือว่าทิ้งคำร้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนภายใน 7 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษานี้ แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาโจทก์จากพฤติการณ์และข้อผิดพลาดเรื่องที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจกท์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า"เขตบางเขน"เท่านั้นทั้งๆที่สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า"เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น"เขตดอนเมือง"ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าโจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้วศาลคงสั่งให้ปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้นทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทิ้งฟ้อง: ความเข้าใจผิดในคำสั่งศาลและที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจทก์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า "เขตบางเขน"เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า "เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น "เขตดอนเมือง" ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้ว ศาลคงสั่งให้ปิดหมาย ณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้น ทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้ง ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อวันที่5ตุลาคม2537ทนายโจทก์มอบฉันทะให้อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้นและให้ทำคำแถลงชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทนเจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่12ตุลาคม2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วและอ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้วต่อมาวันที่6ตุลาคม2537อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้าเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2537ว่าศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่17ตุลาคม2537บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้นซึ่งไม่ตรงกับความจริงคงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง1วันดังนี้จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ล่าช้าและการเพิกเฉยคดี: ศาลฎีกาพิจารณาว่าโจทก์มิได้ทิ้งอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 ทนายโจทก์มอบฉันทะให้ อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ทำคำแถลง ชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทน เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว และ อ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้ว ต่อมาวันที่6 ตุลาคม 2537 อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ว่า ศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2537 บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความจริง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง 1 วัน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำส่งสำเนาอุทธรณ์: การปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการเสียค่าธรรมเนียมเพียงพอต่อการนำส่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของผู้ร้องว่าส่งให้โจทก์หากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้นั้นจะถือว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่กรณีเช่นนี้เพียงแต่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ก็ถือว่าผู้ร้องได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีล้มละลาย ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่า ให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด โดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตรายางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2537 อันล่วงเลยกำหนดเวลา5 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว ผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"