พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีล้มละลาย ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่า ให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด โดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตรายางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2537 อันล่วงเลยกำหนดเวลา5 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว ผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้ว ยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว และจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญติดังกล่าว และจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา หรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้วยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวและจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)ประกอบมาตรา246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำร้องเป็นการฟ้องมีผลต่อค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง 20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามป.วิ.พ. เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้น อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องและตามมาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง20บาทเช่นเดียวกับการยื่นคำขออื่นๆต่อศาลชั้นต้นที่ต้องทำเป็นคำร้องตามตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1),174(2)และมาตรา246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามตามกฎหมายพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายข้ามเขตศาลและการแจ้งผลการส่งหมายต่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน15วันหากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นจึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลที่จำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตสั่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแทนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายข้ามเขตดังกล่าวจึงเป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นผู้นำส่งแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตศาลซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าวการที่โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)และจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทิ้งอุทธรณ์จากความประมาทเลล่า: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับสำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน5วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้จำเลยทั้งสองทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ไม่ได้จำเลยทั้งสองยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยทั้งสองไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นคงปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาประมาณ2เดือนถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เป็นการทิ้งอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน7วันส่งไม่ได้ให้แถลงใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้วเมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด7วันนับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางเงินค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว เมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา246 แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น