คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ซ้ำซ้อน ศาลสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเดิม มิใช่คำสั่งใหม่
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในชั้นร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาจำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์แล้วเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถาของจำเลยและจำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตลอดจนค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้อุทธรณ์ของจำเลยภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุที่จะต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ซ้ำอีกการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน5วันจึงเป็นการ ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าการที่จำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ไว้ดังกล่าวแล้วในตอนต้นเป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นอันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ซ้ำซ้อน: ศาลชั้นต้นผิดหลงเมื่อสั่งให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ซ้ำ ทั้งที่ได้ส่งไปแล้วในชั้นร้องขอ
จำเลยได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ไว้แล้วในชั้นร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถาดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถาของจำเลยแล้วจำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตลอดจนค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้อุทธรณ์ของจำเลยภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุที่จะต้องสั่งให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ซ้ำอีกดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน5วันจึงเป็นการผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าการที่จำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ไว้ดังกล่าวแล้วในตอนต้นเป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีกดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกา, ข้อจำกัดทุนทรัพย์, และอำนาจฟ้อง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ในฎีกาของโจทก์ ทนายโจทก์ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 23 ธันวาคม 2537 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นำส่งสำเนาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 ภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 23ธันวาคม 2537 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 192,500 บาท ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ชำระให้โจทก์ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คงมีจำนวน 192,500 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง192,500 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก และจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพื่อให้เกินสองแสนบาทหาได้ไม่ อีกทั้งโจทก์จะฎีกาโดยถือตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์มิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาท จึงมีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทิ้งฟ้องจำเลยบางส่วน, ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท, และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในฎีกาของโจทก์ทนายโจทก์ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่23ธันวาคม2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เมื่อวันที่20ธันวาคม2537ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นำส่งสำเนาฎีกาแก่จำเลยที่2ภายใน15วันตั้งแต่วันที่23ธันวาคม2537แล้วเมื่อโจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246,247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ร่วมกันชำระเงินจำนวน192,500บาทให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยที่1อุทธรณ์โจทก์มิได้อุทธรณ์เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ชำระให้โจทก์ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คงมีจำนวน192,500บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โจทก์ฎีกาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง192,500บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรกและจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพื่อให้เกินสองแสนบาทหาได้ไม่อีกทั้งโจทก์จะฎีกาโดยถือตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์มิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องการที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายนัด และการผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15วันโจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246และ247 คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการที่ศาลศาลอุทธรณ์คดีอาญาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่1กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้วเมื่อโจทก์ที่1เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่1ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46 โจทก์ที่2ฟ้องขอให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่2เป็นจำนวนเงิน174,338บาทดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน2จ-3838กรุงเทพมหานครและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่2และที่3หรือไม่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1หรือไม่และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่2เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่1ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่2ที่3และที่4จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่1ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง & ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งศาลของเจ้าหน้าที่ที่ดิน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ และการทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),132(1)และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – การปฏิบัติตามหน้าที่ราชการ – การทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้ แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อนอันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกา จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2), 132 (1) และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี และการทิ้งฟ้องที่มิชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน2535 ดังนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 8เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง: การพิจารณาความชอบด้วยกระบวนพิจารณาและกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ดังนี้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่8 เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
of 34