พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล แม้คดีมีทุนทรัพย์ ศาลสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดก เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้องแต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลและการขอเป็นคนอนาถา ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ
คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียว ซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 187 ประกอบมาตรา246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียว ซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 187 ประกอบมาตรา246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และสิทธิในการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไปเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียวซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 187 ประกอบมาตรา 246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาล: ศาลต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมโดยตรงถึงจำเลย/ทนาย ไม่ถือว่าทราบหากแจ้งผ่านเสมียนทนาย
ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำบัญชีพยานที่จะใช้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาไปยื่นต่อศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นเกษียณสั่งในใบมอบฉันทะว่า "ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดหมาย" แม้ใบมอบฉันทะมีข้อความระบุว่าให้เสมียนทนายฟังและรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็จะถือว่าเสมียนทนายจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ให้แก่ทนายโจทก์ภายในกำหนด 7 วัน ด้วยไม่ได้เพราะตามใบมอบฉันทะฉบับดังกล่าวแปลความได้ว่า เสมียนทนายจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงฟังและรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าจะสั่งรับหรือไม่รับบัญชีพยานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เท่านั้นจึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 หรือทนายจำเลยที่ 1 ทราบโดยตรงมิฉะนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งนั้นแล้วไม่ได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงถือเอาเหตุที่เสมียนทนายจำเลยที่ 1ไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายจำเลยที่ 1 ทราบมาเป็นเหตุแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 โดยสั่งว่าจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาล: ศาลต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมโดยตรงถึงจำเลย/ทนาย ไม่ถือว่าเสมียนทนายทราบและต้องแจ้งต่อ
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยที่ 1นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในวันอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ฟัง แต่ได้มีคำสั่งในใบมอบฉันทะของทนายจำเลยที่ 1ที่ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำบัญชีพยานที่จะใช้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวไปยื่นว่า "ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดหมาย" แม้ในใบมอบฉันทะดังกล่าวมีข้อความระบุว่าให้เสมียนทนายฟังและทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ตาม จะถือว่าเสมียนทนายได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวด้วยไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจสั่งในใบมอบฉันทะฉบับนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 หรือทนายจำเลยที่ 1 ทราบโดยตรง มิฉะนั้นจะถือว่าทราบคำสั่งนั้นแล้วไม่ได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ทราบ ศาลชั้นต้นจะถือเอาเหตุที่เสมียนทนายจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายจำเลยที่ 1ทราบมาเป็นเหตุแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 แล้วสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัด การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่านัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลยส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องกำหนด7วันดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใดก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าในแถลงใน7วันนับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาลจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งเอกสารภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า นัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลย ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง กำหนด 7 วัน ดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใด ก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้ หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่ เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาล จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และผลกระทบต่อการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันเดียวกับวันที่ผู้คัดค้านที่ 2ยื่นฎีกา จึงถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ทิ้งฎีกา สำหรับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 2 จะรับมรดกความกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาและการสิ้นสุดสถานะผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้คัคค้านที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้ร้องภายใน 7 วันโดยมีคำสั่งในวันเดียวกับวันที่ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นฎีกา จึงถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้คัดค้านที่ 2ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ถือว่าผู้คัดค้านที่ 2 ทิ้งฎีกา สำหรับผู้ร้อง
ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 2 จะรับมรดกความกันไม่ได้
ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับแต่งตั้งจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 2 จะรับมรดกความกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้แจ้งผลให้โจทก์ทราบ ไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน15 วัน โดยให้โจทก์ส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้" ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย โดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน7 วัน" คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)