พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้แจ้งผลให้โจทก์ทราบ ไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน15 วัน โดยให้โจทก์ส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้" ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย โดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน7 วัน" คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด ทำให้ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด ทนายจำเลยรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนด ถือว่าเป็นการทิ้งฎีกาตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247ศาลฎีกามีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2536 ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์เซ็นชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งในวันที่29 ตุลาคม 2536 โดยหากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 27 ตุลาคม 2536ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของโจทก์ให้รับฎีกาและให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายใน 5 วัน แม้โจทก์มิได้มาฟังคำสั่งก็ต้องถือว่าได้ส่งคำสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบ และโจทก์ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2536 เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดจึงเป็นการท้องฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล แม้โจทก์มิได้มาฟังคำสั่ง
โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2536 ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์เซ็นชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 29 ตุลาคม 2536 โดยหากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว เป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 27 ตุลาคม 2536 ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของโจทก์ให้รับฎีกาและให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายใน 5 วัน แม้โจทก์มิได้มาฟังคำสั่ง ก็ต้องถือว่าได้ส่งคำสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบ และโจทก์ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2536 เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างร่วมต่อละเมิดของลูกจ้าง: เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องลูกจ้าง นายจ้างย่อมหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนหรือในทางการที่จ้าง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์แต่โจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจำเลยที่ 1 คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาล-อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จึงไม่มีหนี้ที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดีและการพิจารณาเรื่องกำหนดเวลาการยื่นคำร้อง
หลังจากผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินของจำเลยแล้ว ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องอื่นรวมทั้งคำแถลงต่อศาลอีกหลายครั้ง และตามรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ศาลลงวันที่28 มิถุนายน 2532 ก็ระบุว่าเจ้าหน้าที่ศาลได้นำหมายนัดไปส่งแก่จำเลยด้วย แต่ส่งไม่ได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำแถลงเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2532 ว่า ยังส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ให้จำเลยไม่ได้ขอให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดให้จำเลยอีกครั้งแสดงว่าผู้ร้องทราบดีว่าศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องและผู้ร้องทราบวันนัดนั้นแล้วดังนั้น การที่ฝ่ายผู้ร้องไม่ไปศาลในวันนัดจึงเป็นการทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) กรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยในคดีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำนองยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดนั้น มิใช่เป็นกรณีเฉลี่ยทรัพย์โดยตรงกับโจทก์เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองแต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่โจทก์แล้ว ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 มาบังคับใช้โดยอนุโลมเมื่อการขายทอดตลาดครั้งหลังที่โจทก์เป็นผู้ประมูลได้ ยังไม่มีการยกเลิกโดยคำสั่งใดต้องถือว่ามีการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้จำเลยฝ่ายหนึ่งยื่นคำแก้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว ศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้มีการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้วศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป