พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความอีกฝ่าย
ศาลมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์ ให้จำเลยนำส่งให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และตามแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ซึ่งทนายจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาอุทธรณ์ โดยข้อความถูกต้องอย่างเดียวกันมาด้วย 1 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ ถือว่าทราบแล้ว" จึงถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่ง ของศาลแล้วเมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ ภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบคำสั่งศาล และการลงลายมือชื่อรับทราบ
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อไว้ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 อย่างไร ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วันแต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกา: ผลของการรับทราบวันนัดฟังคำสั่ง และการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3และให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อ ทราบวันนัดไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตาม ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำส่งสำเนา ฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 3มีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว แต่ผู้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าว มิใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3แต่เป็นผู้อื่น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์โดยเป็นการสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้คู่ความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นฎีกา กำหนดให้ จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งใน วันนั้นแล้ว ต่อมาจำเลยเพียงแต่มาวางเงินค่านำส่งสำเนาฎีกา ในวันหลังซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาไปหลายวันแล้ว โดยยังไม่ได้ นำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก แม้จะวางเงินค่าส่งแล้ว
ในคดีอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ ให้โจทก์นำส่งหมายภายใน7 วัน หากไม่นำส่งให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โจทก์ทราบคำสั่งแล้วทนายโจทก์นำเงินค่าส่งหมายไปวางต่อเจ้าพนักงานศาลแต่มิได้นำส่งถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)ประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์
การที่โจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้ว แต่ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนด
แม้จะมีเหตุขัดข้องทำให้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยไม่ได้อย่างไร โจทก์ก็จะเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุและขออนุญาตขยายระยะเวลาเพื่อนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยหาได้ไม่ คำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจแจ้งเหตุและขออนุญาตขยายระยะเวลาเพื่อนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยไม่ได้ก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว การที่โจทก์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาครบถ้วน ทำให้คดีขาดอายุความและศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยขอให้ยกฟ้องโจทก์ แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์เพียง 140,000 บาท และค่าขึ้นศาลอนาคตอีก 100 บาท ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงิน 140,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาด้วยจำเลยหาได้เสียให้ถูกต้องไม่ ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดจากจำเลยให้ครบถ้วน ศาลชั้นต้นได้มีหมายนัดแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาวางศาลเพิ่ม แต่จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาวางภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 มาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยฎีกาคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาและคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำเลยทราบโดยวิธีปิดหมายแต่จำเลยไม่มาฟังคำสั่งปรากฏว่าศาลฎีกาสั่งรับฎีกาของจำเลยบางข้อ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาภายใน 15 วันเพื่อให้โจทก์แก้ ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งแล้ว เมื่อครบกำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องนำส่งสำเนาฎีกา จำเลยไม่นำส่งจึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246,247.