คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจกำหนดเวลาเหมาะสมได้ แม้ต่ำกว่า 7 วัน
การกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์นั้น เป็นการกำหนดเวลาเกี่ยวกับการดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ซึ่งกำหนดเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลชั้นต้น กฎหมายมิได้จำกัดดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าจะต้องสั่งให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เกินกว่า 7 วัน จึงจะเป็นการสมควร เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเวลาโดยเหมาะสมแล้ว และจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความ
จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทั้งสองมาฟังคำสั่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ถ้าไม่มาฟังคำสั่งให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534ศาลชั้นต้นสั่งว่ารับฎีกาของจำเลยทั้งสอง สำเนาฎีกาให้โจทก์ถ้าหากไม่มีผู้รับสำเนาฎีกาให้ปิดหมายนัดได้ และศาลชั้นต้นออกหมายนัดให้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีต่อมาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์และตามแบบพิมพ์ของศาลท้ายอุทธรณ์ได้ระบุไว้ว่าโจทก์ได้ยื่นสำเนาอุทธรณ์โดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยหนึ่งฉบับดังนั้นการที่ทนายโจทก์ได้ลงลายมือจริงไว้ในอุทธรณ์หาใช่เป็นการยื่นสำเนาอุทธรณ์โดยมีการรับรองข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันไม่ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์หรือทนายโจทก์มาลงชื่อรับรองสำเนาอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แต่โจทก์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบทความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 132,174(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฉบับแรกของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์หรือทนายโจทก์จะต้องมาลงชื่อรับรองสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน แต่โจทก์กลับส่งอุทธรณ์และสำเนาอุทธรณ์ฉบับที่สองซึ่งมีข้อความเหมือนอุทธรณ์ฉบับแรกมายังศาลโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ และสำเนาอุทธรณ์โดยชอบเพราะอุทธรณ์เป็นคำคู่ความ โจทก์จะต้องนำมายื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และมาตรา 229ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรขาเข้า-ภาษีการค้า น้ำมันปาล์ม ร.บ.ดี. ไม่พึงบริโภค โจทก์ต้องเสียอากรในอัตราที่ถูกต้อง
แม้ว่าทนายจำเลยจะไม่ได้แถลงเพื่อขอให้ศาลดำเนินการอย่างไรในการส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายจำเลยได้วางเงินค่านำหมาย มีการดำเนินการและจัดส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะจำหน่ายฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 132(1) น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. ที่โจทก์นำเข้า ประชาชนไม่นิยมบริโภคเพราะจะทำให้ไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นโรคหัวใจได้ง่าย โดยจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยงและทำให้หัวใจวายถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503จัดอยู่ในพิกัดอัตราประเภทที่ 15.07 ค. ในอัตราน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค โจทก์จึงต้องเสียอากรขาเข้าในอัตราลิตรละ 1.32 บาทมิใช่ลิตรละ 2 บาท ซึ่งเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่พึงบริโภค แม้ว่าน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.ที่โจทก์นำเข้าจะเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค แต่โดยสภาพยังเป็นน้ำมันปรุงอาหารอยู่การที่โจทก์ต้องนำไปทำการผลิตโดยกรรมวิธีใหม่เพื่อแยกส่วนข้นออกจากส่วนใส ก็เป็นเพียงเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจะได้จำหน่ายได้มากขึ้น อันเป็นนโยบายทางด้านการค้าของโจทก์ไม่ทำให้น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.เปลี่ยนสภาพไปเป็นน้ำมันที่ไม่ใช้ปรุงอาหารแต่อย่างใด เมื่อน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. พิพาท เป็นน้ำมันปรุงอาหารตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 1 หมวด 1(5) และเป็นสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามมาตรา 7(1) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 เสมียนทนายจำเลยลงชื่อในตรายางซึ่งประทับในฎีกามีความว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"เมื่อศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยและกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา 1 วัน ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ระยะเวลาสิ้นสุดที่จำเลยจะต้องนำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นคือวันที่ 7 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534ว่าจำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดนั้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นก็เป็นเวลาที่สมควรการที่โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามมาตรา 132(1) ประกอบด้วยมาตรา 246 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วนั้น ถ้าแม้ข้ออ้างของโจทก์จะเป็นจริงก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งเอกสารให้คู่ความ
จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2533 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ทนายจำเลยลงชื่อทราบนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 ให้รับฎีกาจำเลย สำเนาให้โจทก์ ให้จำเลยนำส่งใน 7 วัน เมื่อทนายจำเลยได้ลงชื่อทราบนัดฟังคำสั่งไว้ก่อนแล้ว กรณีถือว่าจำเลยทราบคำสั่งนั้นโดยชอบ การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันที่ยื่นฎีกา เมื่อตอนท้ายฎีกาเหนือลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่นฎีกามีข้อความที่แสดงว่าผู้ยื่นฎีการอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ทั้งในวันรุ่งขึ้นทนายจำเลยก็ได้มายื่นคำร้องขอส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์แทนการส่งให้แก่ตัวโจทก์อีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ จนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้น แล้วจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจำเลยจากสารบบความของศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทิ้งฟ้อง: เพิกเฉยคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้จำหน่ายคดีได้ แม้ใช้คำสั่งคลาดเคลื่อน
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์โดยให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยให้คำนวณทุนทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายในกำหนด20 วัน ผู้ร้องทราบคำสั่งโดยชอบแล้วไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ และจำหน่ายคดีของผู้ร้อง คำสั่งดังกล่าวหาใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสุดท้าย เนื่องจากมิใช่คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1) ผู้ร้องต้องทำคำคัดค้านโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (2) เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ต้องเสียเพิ่มมาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนด ถือว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา174 (2)
แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้คำว่า "สั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์" รวมอยู่ในคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องด้วย แต่ก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความไว้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน ซึ่งมีผลเป็นว่าให้จำหน่ายคดีด้วยเหตุที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล และผลของการใช้คำสั่งระหว่างพิจารณา
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์โดยให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยให้คำนวณทุนทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายในกำหนด 20 วัน ผู้ร้องทราบคำสั่งโดยชอบแล้วไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ และจำหน่ายคดีของผู้ร้องคำสั่งดังกล่าวหาใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสุดท้าย เนื่องจากมิใช่คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ผู้ร้องต้องทำคำคัดค้านโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ต้องเสียเพิ่มมาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนดถือว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้คำว่า "สั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์"รวมอยู่ในคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องด้วย แต่ก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความไว้ด้วยถือว่าเป็นการใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน ซึ่งมีผลเป็นว่าให้จำหน่ายคดีด้วยเหตุที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเอง.
of 34