พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาล: การใช้ดุลพินิจของศาล
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่บทบัญญัติมาตรา 132 (1) นี้มิได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีทุกกรณี แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีแล้วกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินมาเสียค่าขึ้นศาลใหม่ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งค่าขึ้นศาลในชั้นรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์: ศาลสั่งได้แม้จำเลยยังไม่ได้ให้การ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้ชัดเจน ผู้ร้องยังไม่ได้ทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท มาชำระตามคำสั่งศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าผู้ร้องมีคความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีต่อไปในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งในคำแถลงขอวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมของผู้ร้องหลังยื่นคำแถลง 6 วัน แต่เพียงว่า เสนอวันนี้ นำฝากโดยไม่ระบุไว้ด้วยว่า ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้ด้วยในอุทธรณ์แล้วแม้จะมีตราประทับที่ด้านล่างของคำแถลงว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตาม ก็ย่อมฟังได้แต่เพียงว่าเสมียนทนายผู้ร้องทราบคำสั่งศาลที่สั่งรับเงินค่าขึ้นศาลไว้เท่านั้น แม้ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่อาจจะถือได้ว่าเสมียนทนายผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวด้วย เพราะเป็นการสั่งในเอกสารอีกฉบับหนึ่ง และเป็นการสั่งในภายหลังโดยไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบถึงแม้ว่าที่ด้านล่างของอุทธรณ์จะมีตราประทับว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตามเพราะศาลชั้นต้นได้เคยส่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์มาครั้งหนึ่งแล้วและถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว หากจะให้ตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มีผลบังคับตลอดไปว่าศาลชั้นต้นจะสั่งอะไรในอุทธรณ์ให้ถือว่าผู้ร้องได้ทราบทุกคำสั่งในทุก ๆ 7 วัน ก็ย่อมที่จะไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ดังนั้น จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งรับในอุทธรณ์แล้วไม่ได้ เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องทราบโดยตรง เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสองตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่า ผู้ร้องจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนคนโดยสาร: ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายทางร่างกาย มิใช่เฉพาะความเสียหายทางการเงิน
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยทนายจำเลยลงชื่อรับรองไว้ท้ายฎีกาว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยและสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันเดียวกับที่จำเลยยื่นฎีกา จึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246, 247
ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
ป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 2 ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร ไม่ได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบต่อคนโดยสารมีเฉพาะความเสียหายที่เป็นตัวเงินเท่านั้น ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถแหงนหน้าหรือเอี้ยวคอได้ตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ถูกฟ้องคดี และผลกระทบต่อการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
เดิมขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 37 ต่อมาในปี 2540 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาในปี 2545 จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 43 การติดต่อยื่นคำร้องและคำแถลงต่อศาลหลังจากนั้นจำเลยระบุภูมิลำเนาคือบ้านเลขที่ 43 ทั้งสิ้น การที่ต่อมาเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องได้กระทำในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเกือบ 10 ปี เจ้าพนักงานศาลน่าจะตรวจสอบที่อยู่ของจำเลยในสายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยปิดหมายตามภูมิลำเนาเดิมคือบ้านเลขที่ 37 ซึ่งจำเลยย้ายที่อยู่ออกไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบนัดแล้ว การที่จำเลยมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลเพิ่มตามนัด จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากการทิ้งคำร้อง และการคำนวณทุนทรัพย์ในคดีครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอที่ให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องขอและจำหน่ายคดีแล้ว การยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอดังกล่าวจึงไม่มีผลที่จะให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564-565/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกาคดีรวม & การทิ้งฟ้องฎีกา
คดีที่ศาลสั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน แม้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาทั้งสองสำนวนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาในฎีกาฉบับเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นรายคดีตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว แต่ผู้คัดค้านไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และผลกระทบต่อการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง และศาลชั้นต้นส่งหมายนัดแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โดยวิธีรับหมายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 แต่โจทก์มิได้ดำเนินการชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงถือว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. 132 (1) นั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับอุทธรณ์แล้วโจทก์จะร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความผิดพลาดในการส่งหมายและการเพิกเฉยจำเลย
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ และในอุทธรณ์ดังกล่าวมีข้อความประทับว่า "ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้น ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าวจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารอจำเลยที่ 1 แถลง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเองแต่ให้เจ้าหน้าที่ศาลไปนำส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า รอจำเลยที่ 1 แถลง โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 แถลงและไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบอีก ก็ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 มิได้แถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมระยะเวลาเกือบ 2 เดือน จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)