คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาภายในกำหนดถือเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามกฎหมาย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระกรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีและอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่ความในคดีเดิมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงหาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์โดยมีคำสั่งว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์สำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์" และในวันเดียวกันโจทก์แถลงขอให้ส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ข้ามเขตศาลโดยแนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์จำนวน 300 บาท เป็นค่าส่งหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งคำสั่งให้ทนายโจทก์ทราบว่าอัตราค่าส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ยังขาดค่าพาหนะอีก 100 บาท ให้นำเงินค่าพาหนะมาวางเพิ่ม โจทก์มีหน้าที่ต้องนำค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่ง ดังนั้น นอกจากโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งแล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วย ซึ่งในคดีนี้เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ข้ามเขตศาลและโจทก์ไม่ไปจัดการนำส่ง จึงต้องเสียเงินค่าพาหนะในการนำส่งให้เจ้าหน้าที่ศาลให้ครบถ้วน การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าโจทก์ไม่ได้วางเงินค่าพาหนะเพิ่มและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งรายงานเจ้าหน้าที่ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นเวลา 2 เดือนเศษ และเมื่อนับถึงวันที่นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปีเศษ โจทก์ก็ยังมิได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงเจรจาประนีประนอมแล้วไม่ตกลง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง หากทนายแถลงเหตุผลให้ศาลทราบ
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีว่า ทนายคู่ความได้แถลงร่วมกันว่ามีความประสงค์จะประนีประนอมข้อพิพาท โดยทนายโจทก์และทนายจำเลยทั้งสี่จะได้แจ้งตัวความให้กำหนดผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเจรจากันเพื่อหาข้อยุติให้ทันก่อนวันนัดหน้า หากยังไม่ได้ข้อยุติทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งเป็นผู้เจรจาฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้ถึงอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงขอไม่มาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจตนาประนีประนอมและการดำเนินการของโจทก์
การที่ทนายโจทก์แถลงว่า หากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงไม่ขอมาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดที่แล้วก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงรายละเอียดการเจรจาที่ไม่สามารถตกลงกันให้ศาลทราบแล้ว ซึ่งหากผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลงเมื่อตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้วศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์กรณีกระทบสิทธิคู่ความ
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตรามีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วันนับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราประทับข้อความดังกล่าวหาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบแต่อย่างใดไม่
แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี หาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลเท่านั้นไม่ เมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ติดตามผลการส่งหมายและการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน หากส่งไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 7 วัน เมื่อคำแถลงของจำเลยมีข้อความประทับว่า "ให้มาทราบคำสั่งถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบแล้ว" และทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว แม้ทนายจำเลยจะไม่มาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งที่ศาลได้สั่งในคำแถลงและในอุทธรณ์ของจำเลยโดยชอบแล้ว ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ โดยศาลไม่จำต้องแจ้งผลของการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6726/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการเพิกเฉยไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาล
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินต้นแต่ละช่วงเวลาจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ทั้งในส่วนของต้นเงินและดอกเบี้ยของเงินต้นแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวนับถึงวันฟ้องด้วย แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเฉพาะตามทุนทรัพย์ในส่วนของต้นเงินยังขาดในส่วนของดอกเบี้ย เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย: จำเลยมีหน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
จำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 5 วัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำส่งหมายดังกล่าวย่อมมีความชัดเจนว่าจำเลยมีสิทธิใช้จ่ายเงินของตนได้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 24 จำเลยจะอ้างว่าไม่มีสิทธิใช้ทรัพย์สินเพราะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของศาลละเลยต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาและให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่ทุกฝ่ายภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน แม้จำเลยจะไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่ง แต่เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาฎีกาโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย 2 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
of 34