คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ การลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดมีผลผูกพัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องในหน้าแรกมีตัวหนังสือที่มีตรายางประทับข้อความว่าผู้ร้องจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นและทุก ๆ 7 วันนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาใช่เป็นเพียงแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 หลังจากที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ 7 วันก็ตาม แต่การที่ทนาย ผู้ร้องลงลายมือชื่อรับทราบข้อความที่ประทับตรายางต้องถือว่าผู้ร้องยอมผูกพันตามข้อความที่ประทับตรายางนั้น ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะไม่มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2545 เมื่อปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ว่าผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398-1399/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความบกพร่องเจ้าพนักงานศาล-ทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาอุทธรณ์ ให้ดำเนินคดีต่อ
คดีทั้งสองสำนวนพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ชำระค่าขึ้นศาลจำนวน 57,420 บาท แล้ว ดังนี้ โดยปกติวิสัยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ชอบที่จะต้องวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ซึ่งเป็นเงินเพียง 240 บาท ตามคำสั่งศาลชั้นต้น ส่วนรายงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเสนอต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลนั้น เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ล่าช้าถึง 6 เดือน ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 วางค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายใน 7 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทราบเหตุดังกล่าวตามรายงานเจ้าหน้าที่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็ได้ยื่นคำแถลงยืนยันว่าได้วางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลแล้ว อีกทั้งได้ดำเนินการขอตรวจสมุดรับเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายในช่วงระหว่างวันที่ 29 กันยายน 2542 จนถึงสิ้นปีแต่เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบแจ้งว่าสมุดดังกล่าวสูญหาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงแสดงเจตนาพร้อมจะวางค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เอาใจใส่คดี และเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลแล้วตามระเบียบราชการจะต้องจะต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและต้องใช้เป็นหลักฐานในทางราชการ เว้นแต่จะถึงกำหนดเวลาต้องทำลายตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการปรากฏว่านอกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบว่าสมุดคุมการส่งหมายในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 สูญหายแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 หลังจากได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความทราบแล้วให้เจ้าพนักงานศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการค้นหาสมุดบัญชีเวรรับเงินนำหมายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานศาลผู้รับผิดชอบก็ยังคงรายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ว่าสมุดเล่มนั้นสูญหายไปจึงชี้ให้เห็นความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาล รายงานเจ้าหน้าที่มีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ พฤติการณ์แห่งคดีประกอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้จงใจละทิ้งไม่วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลไม่เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือเป็นการทิ้งฎีกา คดีจึงถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหาย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาจากจำเลยโดยจำเลยขายฝาก จำเลยให้การว่าการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายฝากให้โจทก์ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการแจ้งผลการส่งหมายนัด: ความรับผิดของจำเลยในการดำเนินการตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ว่า "รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 สำเนาให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำส่งใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และมีข้อความประทับไว้ด้วยว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 9 เมษายน 2544 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และทนายจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดต่อเนื่อง: การเพิกเฉยไม่ยอมออกจากที่ดินหลังได้รับแจ้ง ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดต่อเนื่องจากการไม่ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และกำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยในวันที่ยื่นอุทธรณ์ โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีโอกาสชนะคดีก็ดี ทนายจำเลยทราบว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วแต่ไม่ยอมรับสำเนาอุทธรณ์ไปจากศาลก็ดี เจ้าพนักงานศาลและทนายจำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ยังไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ดี หาใช่ข้ออ้างให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการปฏิบัติตามคำสั่งศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว ทำให้สิทธิในการยกคดีขึ้นพิจารณาอีกครั้งหมดไป
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงทราบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดังกล่าว โดยโจทก์ได้ไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการแถลงต่อศาลภายในกำหนด ระยะเวลาตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด เพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ซึ่งเป็นระยะเวลาเนิ่นนานหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ 6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทั้งคำสั่งศาลดังกล่าวก็ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาและการทิ้งฎีกา: การแจ้งคำสั่งรับฎีกาและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้และสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง และจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี อันเป็นการทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8909/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษาหรือประกันให้ได้ตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ทั้งจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับไว้ชั่วคราว โดยที่ศาลยังมิได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับได้ จะถือว่าจำเลยได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลแล้วมิได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องยกคำร้อง แม้จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดก็มิใช่กรณีทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
of 34