พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทนายจำเลยหลังจำเลยแต่งตั้งทนาย และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยได้แต่งทนายความต่อสู้คดีและให้ว่าความในชั้นขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้วจึงเห็นสมควรให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ทนายจำเลยแทน ให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540โจทก์ได้วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยในศาลชั้นต้นโดยศูนย์หน้าบัลลังก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ในวันที่16 พฤษภาคม 2540 โจทก์ยังยืนยันว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยได้รื้อถอนบ้าน อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยออกไป และในวันนัดไต่สวนคำร้อง ขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมรับ หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งประกาศ โฆษณาแจ้งให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วจึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174(2) กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยัง ไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหา แห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีและการทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ละเลยหน้าที่
ป.วิ.พ.มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ละเลย ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนด & การใช้ดุลพินิจของศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อปีพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า"รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้อง แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉย มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายและการแจ้งคำสั่งศาล: โจทก์ยังไม่ทิ้งอุทธรณ์ แม้ไม่ได้รับแจ้งโดยตรงจากความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตามหมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมายไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายางในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดย ท.ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ ท.มาทราบคำสั่งในวันที่ 14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่าระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้นเป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้นตามที่ถือว่าโจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาล: การปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ & ผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตาม หมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับ โดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมาย ไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายาง ในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดยท. ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ท. มาทราบคำสั่งในวันที่14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหาก ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่า ระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้น เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่ง ศาลชั้นต้นตามที่ถือว่า โจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล และการรับทราบคำสั่งผ่านผู้รับมอบฉันทะ
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาลหาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่ง เมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบ คำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะ จากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนด ดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการ รับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่ง ที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉย มิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่า จำเลยทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับทราบคำสั่งศาลและการทิ้งอุทธรณ์: ผลของการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดศาล
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่งเมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนดดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการรับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่งที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายข้ามเขตและการทิ้งฟ้องอุทธรณ์: จำเลยไม่ทราบผลการส่งหมาย จึงยังไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์จำเลยทั้งสาม โดยกำหนด ให้จำเลยทั้งสามนำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้อง แต่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพัทลุง ศาลชั้นต้นได้มีหนังสือ แจ้งให้ศาลจังหวัดพัทลุงดำเนินการส่งหมายนัดและ สำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์แทน แสดงว่าจำเลยทั้งสามมิได้ เป็นผู้นำส่งแต่เป็นกรณีส่งหมายข้ามเขตโดยเจ้าพนักงานเดินหมายเป็นผู้ส่งเอง ต่อมาศาลจังหวัดพัทลุงแจ้งศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานผลการส่งหมายแต่เพียงว่ารอจำเลยทั้งสามแถลงเมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลจังหวัดพัทลุงส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ ดังนั้นแม้จำเลย ทั้งสามจะมิได้แถลงให้ดำเนินการต่อไปก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล: การขยายเวลาอุทธรณ์และการไม่รับอุทธรณ์ - ผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223,229 ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า จำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง 2 ประการ คือ สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ในกรณีสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229ซึ่งมาตรา 235 บัญญัติบังคับให้ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 คดีนี้จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองประการ และโต้แย้งคำสั่งทั้งสองประการรวมกันมาโดยทำเป็นอุทธรณ์ ไม่ได้แยกทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ขึ้นต่างหาก ดังนี้ ในกรณีจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่จำเลยไม่ได้ชำระเงินค่าส่งภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าจำเลยไม่ติดใจให้ศาลมีคำสั่งเมื่ออุทธรณ์คำสั่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยตกไป ดังนั้น ในส่วนที่เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่เป็นสาระ แก่คดีที่จำเลยจะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะพ้นกำหนดเสียแล้ว