คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 174 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 331 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7513/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการทิ้งคำร้องของผู้ร้องที่ไม่ได้รับการแจ้งคำสั่งโดยชอบ
ผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยระบุในคำร้องว่ายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี รับทราบคำสั่งศาลกำหนดวันนัด แก้ไขคำผิดเล็กน้อย แถลงต่อศาลและตรวจสำนวนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีโดยเฉพาะ หาได้มอบหมายให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการขอเลื่อนคดีไม่ที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทว่ามีราคาน้อยกว่าราคาที่เป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลในส่วนที่ขาดเพิ่มขึ้นให้ถูกต้อง ให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลในนัดต่อไปแม้เสมียนทนายผู้ร้องจะลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็จะถือว่าทนายผู้ร้องหรือผู้ร้องรับทราบคำสั่งของศาลโดยชอบแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนอกเหนือจากที่เสมียนทนายผู้ร้องจะรับทราบตามที่ทนายผู้ร้องได้มอบฉันทะมาและกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ที่จะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องนั้นต้องได้ความว่าผู้ร้องเพิกถอนไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จะถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องทันที โดยไม่ได้มีคำสั่งให้ทนายผู้ร้องและผู้ร้องที่มาศาลในวันดังกล่าวรับทราบคำสั่งโดยกำหนดเวลาตามสมควรให้ปฏิบัติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องด้วยเหตุดังกล่าว คงเพียงแต่โต้แย้งเรื่องการประเมินราคาที่ดินพิพาทว่าเป็นการไม่ชอบเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ฎีกาผู้ร้องจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5798/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การคำนวณจากค่าจ้างรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่น การหักลดหย่อนและการคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำนวนภาษีต่าง ๆ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่างานที่มีการชำระภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ คำฟ้องโจทก์ ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ยกเลิกภาษีการค้าและมาตรา 8 ประกอบด้วยมาตรา 2(2) บัญญัติให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไปแต่ในกรณีที่สินค้าได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 มาตรา 24 บัญญัติให้ผู้ขายหรือให้บริการยังคงเสียภาษีการค้าต่อไป ดังนั้น กรณีที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่คู่สัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และการขายมิได้เสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการมิได้สิ้นสุดลงก่อนวันดังกล่าว ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไปแต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมาตรา 82/4แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราดังกล่าวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แม้ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30)ฯ มาตรา 22 จะบัญญัติว่า "เพื่อเป็นการ บรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งประกอบกิจการให้บริการตามสัญญาที่มีข้อกำหนดให้ชำระค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ โดยได้ทำสัญญาไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับ ถ้ากรณีเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิขอยกเว้นการเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ว่าจ้างตามมาตรา 82/4 วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติฯ นี้ และขอเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติฯ นี้ต่อไป"บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิผู้ประกอบการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเก่าหรือเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่ก็ได้ หากกรณีเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดการที่โจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่จึงเป็นการใช้สิทธิตามปกติ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย)อัตราร้อยละ 7 จากจำเลย ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมไว้กับราคาค่าจ้างจำนวนเงินภาษีที่ปรากฏในใบระบุราคาก่อสร้างก็มิได้ระบุชัดเจนว่าเป็นภาษีประเภทใดและไม่อาจฟังว่าภาษีดังกล่าวเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในขณะทำสัญญาจ้างและใบสรุปราคานั้นเป็นเวลาก่อนมีการใช้กฎหมายเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ทราบว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่มีอัตราภาษีมากน้อยเพียงใดจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมไว้กับค่าจ้าง ทั้งค่าภาษีตามใบสรุปราคาหากหมายถึงภาษีที่จะมีการบังคับใช้ภายหลังการทำสัญญาก็น่าจะระบุให้ชัดแจ้งไว้ในสัญญาจ้างว่าโจทก์จะเป็นผู้รับผิดชอบชำระภาษีอากรทุกประเภทรวมทั้งภาษีที่จะมีการนำมาใช้บังคับภายหลังด้วย แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความเช่นว่านั้นในสัญญา กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่ามีสัญญาให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบค่าจ้างแล้วด้วย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเป็นผู้มีหน้าที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นในการคิดราคาค่าบริการผู้ให้บริการย่อมกำหนดราคาค่าบริการโดยคำนวณรวมภาษีดังกล่าวไว้โดยเฉพาะใบสรุปราคาค่าก่อสร้าง รวมทั้งหนังสือแจ้งการเรียกเก็บเงินค่างวดงานและเอกสารรายละเอียดของมูลค่างานก็ระบุว่า ค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีรวมอยู่ด้วยจึงฟังได้ว่าค่าจ้างตามสัญญาได้รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วย แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการรวมทั้งภาษีสรรพสามิตถ้าหากมีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้จำเลยจะไม่ยื่นคำแถลงเรื่องการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายหลังสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้จำเลยแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 ศาลชั้นต้นมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจาก สารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 13 แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจการที่จำเลยมายื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ใหม่เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเกินกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่จะยื่นได้เพียงวันเดียว แสดงว่าจำเลยประสงค์จะให้ดำเนินคดีต่อไป ทั้งศาลภาษีอากรกลางก็ยัง มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางสั่งว่าการกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการทิ้งอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้วเมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า"ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย"ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วันตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวัน มิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลา ที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า "ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า"เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย" ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วัน ตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวันมิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับฎีกาและการแจ้งคำสั่งศาล โจทก์ไม่ทราบคำสั่ง ถือมิได้ทิ้งฎีกา
โจทก์ยื่นฎีกาและยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง หากโจทก์ติดใจที่จะฎีกาก็ให้เสียค่าขึ้นศาลภายใน 15 วัน ครบกำหนดโจทก์นำค่าขึ้นศาลบางส่วนมาชำระและขอขยายเวลาเพื่อหาเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระ ศาลชั้นต้นอนุญาตโจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระในวันที่ครบกำหนดคือวันที่ 26 มีนาคม 2540 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ในวันที่ 27 มีนาคม 2540 กำหนดให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งรับฎีกาและสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกในวันที่โจทก์นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระแต่ได้สั่งในวันรุ่งขึ้นและไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบ ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ได้มาลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ทราบคำสั่งศาล จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดข้ามเขตและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบก่อนพิจารณาว่าทิ้งฟ้องหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องเป็นการสั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องแต่ปรากฏว่าคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแขวงนครปฐม ศาลชั้นต้นคือศาลแขวงพระนครใต้จึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแขวงนครปฐมให้ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองแทน ต่อมาศาลแขวงนครปฐมได้แจ้ง ผลการส่งหมายมายังศาลชั้นต้นว่า ส่งให้ไม่ได้ ศาลชั้นต้นได้สั่งว่า รอโจทก์แถลง ดังนี้จึงเป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นผู้นำส่ง หากแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าว ให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าวการที่โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดข้ามเขตและการทิ้งฟ้อง: ศาลมีหน้าที่แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้อง เป็นการสั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องแต่ปรากฏว่าคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแขวงนครปฐม ศาลชั้นต้นคือศาลแขวงพระนครใต้จึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแขวงนครปฐมให้ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองแทน ต่อมาศาลแขวงนครปฐมได้แจ้งผลการส่งหมายมายังศาลชั้นต้นว่า ส่งให้ไม่ได้ ศาลชั้นต้นได้สั่งว่า รอโจทก์แถลง ดังนี้จึงเป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นผู้นำส่ง หากแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการส่งสำเนาและการเสียค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 ว่า รับฎีกาของจำเลย สำเนาให้โจทก์และผู้ร้องโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา และทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบนัดให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มา ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 14 มกราคม 2540 หลังจากวันที่จำเลยยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่ทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 20มกราคม 2540 การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ไปดำเนินการเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องจนพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องภายในกำหนด7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาและการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปก่อนโดยโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เหตุที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพราะจะทำให้คดีล่าช้าและเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจึงอุทธรณ์ฎีกาได้ และหากข้อโต้แย้งฟังขึ้น ศาลก็จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ฉะนั้น การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งหรือเห็นว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่อย่างใด การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย
of 34