พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญากู้, ชำระหนี้, โมฆะเฉพาะส่วน, สิทธิเรียกร้อง
เอกสารระบุว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา โจทก์จะนำเงินของผู้ใดมาให้จำเลยกู้ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่ทำให้สัญญากู้และสัญญาจำนองเสียไปแต่ประการใด
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของ การขาดอายุความเรียกคืนประโยชน์
พ.ฟ้อง บ.หาว่าบุกรุกที่นามือเปล่าของตน ขอให้ห้ามมิให้เกี่ยวข้อง บ.ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. ในระหว่างพิจารณาศาลสั่งให้ประมูลค่าเช่านาพิพาทสำหรับปีนั้น (พ.ศ.2486) ฝ่ายใดให้ค่าเช่าสูงก็จะได้ทำนา ให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาลไว้ ชำระให้ผู้ชนะคดี จำเลยเป็นฝ่ายประมูลได้ ได้เข้าทำนาพิพาท ปีต่อมาจำเลยก็ทำนาพิพาทอีกโดยไม่ยอมประมูลค่าเช่าและเป็นฝ่ายทำนาพิพาทตลอดมา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อพ.ศ.2500 ซึ่งวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของ พ. พิพากษายืนให้ยกฟ้อง วันที่ 10 ตุลาคม 2503 บ.จึงร้องต่อศาลว่า พ.ยังไม่ออกจากที่พิพาท ขอให้เรียกมาว่ากล่าว พ.แถลงว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยทางครอบครองปรปักษ์แล้วตั้งแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลให้ บ.ทราบ ดังนี้การที่พ.ครอบครองที่พิพาทในระหว่างเป็นความกันอยู่ จะถือว่าครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ได้ การที่ได้เข้าครอบครองในพ.ศ.2506 ก็โดยการประมูลทำนาได้ คือ โดยความยินยอมของ บ. ค่าเช่าที่วางศาลก็เพื่อให้แก่ผู้ชนะคดี จึงถือว่าเข้าครอบครองแทนผู้ชนะคดีนั่นเอง เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องของ พ. แม้จะไม่ได้ชี้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. แต่ พ. ก็เถึยงไม่ได้ว่า
บ.ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ.มิสิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ.ครอบครองที่พิพาทภายหลัง่จกาวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ.จะอ้างอายุความการแบ่งการครอบครองตามมาตรา 1395 มาใช้ยัน บ. ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ.เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ.อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิดเพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ.มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อ ๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ. ผู้ชนะคดี การที่ บ.ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ.ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปีพ.ศ.2497 เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 เพราะการที่ พ.ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของบ.นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายในกำหนด 1 ปีนับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวฯของแต่ละปี ซึ่ง บ.ย่อมจะรู้ได้แล้วว่า ผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
บ.ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ.มิสิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ.ครอบครองที่พิพาทภายหลัง่จกาวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ.จะอ้างอายุความการแบ่งการครอบครองตามมาตรา 1395 มาใช้ยัน บ. ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ.เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ.อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิดเพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ.มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อ ๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ. ผู้ชนะคดี การที่ บ.ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ.ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปีพ.ศ.2497 เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 เพราะการที่ พ.ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของบ.นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายในกำหนด 1 ปีนับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวฯของแต่ละปี ซึ่ง บ.ย่อมจะรู้ได้แล้วว่า ผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการฉุดคร่าและการสมัคขมา: สิทธิเรียกร้องเมื่อผู้เสียหายบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 ได้ฉุดคร่าน้องสาวโจทก์ไปเป็นภรรยาและมาขอสมัคขมา โดยยอมใช้ค่าเสียหายหรือค่าล้างอายให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้จึงตกลงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องเรียกให้ชำระเงิน ได้ความต่อไปว่า ในขณะฉุดคร่าน้องสาวโจทก์มีอายุเกิน 20 ปีแล้ว เช่นนี้ถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ปกครองน้องสาวตาม กฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย แม้การสมัครขมาและการใช้ค่าเสียหายหรือล้างอายจะถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาอันเรื่องหน้าที่โดยศีลธรรม เมื่อยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่กันเพียงแต่ทำสัญญากันไว้เท่านั้นไม่มีกฎหมายให้ฟ้องร้องบังคับกันได้ เว้นแต่เมื่อชำระให้แก่กันแล้วไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ เรื่องเช่นนี้ปรับเข้าได้กับสัญญาให้ซึ่งตาม กฎหมายย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการฉุดคร่าเมื่อเหยื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และผลของสัญญาใช้ค่าเสียหายที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยที่ 1 ได้ฉุดคร่าน้องสาวโจทก์ไปเป็นภรรยาและมาขอสมัคขมาโดยยอมใช้ค่าเสียหายหรือค่าล้างอายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้จึงตกลงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องเรียกให้ชำระเงิน ได้ความต่อไปว่าในขณะฉุดคร่าน้องสาวโจทก์มีอายุเกิน 20 ปีแล้ว เช่นนี้ถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ปกครองน้องสาวตาม ก.ม.โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย แม้การสมัคขมาและการใช้ค่าเสียหายหรือล้างอายจะถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาอันเรื่องหน้าที่โดยศึลธรรมเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่กัน เพียงแต่ทำสัญญากันไว้เท่านั้นไม่มี ก.ม.ให้ฟ้องร้องบังคับกันได้ เว้นแต่เมื่อชำระให้แก่กันแล้วไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ เรื่องเช่นนี้ปรับเข้าได้กับสัญญาให้ซึ่งตาม ก.ม.ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ไม่ทำหนังสือเป็นโมฆะ ผู้เช่าไม่สามารถเรียกร้องค่าเช่าคืนได้ แม้ทำประโยชน์ไม่ได้
เช่านาโดยไม่ได้ทำหนังสือ ผู้เช่าทำนาไม่ได้เพราะน้ำมากเกินไปจะเรียกค่าเช่าที่ให้ไปแล้วคืนไม่ได้ชำระหนี้ตามอำเภอใจ วิธีพิจารณาแพ่ง กฎหมายใหม่ลบล้างกฎหมายเก่า เทียบฎีกาที่ 425/2472