พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิ และความแตกต่างระหว่างภาษีการค้ากับภาษีเงินได้นิติบุคคล
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน โดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่าย ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิ สำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศ การที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิด ปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 453, 458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการรับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิในภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งออกสินค้าและวันในเอกสารไม่ตรงกัน
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันโดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิสำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศการที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิดปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัด เลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453,458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการ รับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,250,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาทหากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาทหักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้วผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12 บาทการที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมอบขนส่งและการยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัยที่ต้องป้องกันได้
ฟ้องของโจทก์แปลได้ว่าโจทก์ซื้อวิทยุแล้วมอบให้ผู้ขายเป็นตัวแทนนำเอาวิทยุไปให้จำเลยทำการขนส่งไปให้โจทก์ และในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ผู้ขายกระทำไปนั้นเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าขนส่งเอง ผู้ขายจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาขนส่งวิทยุกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขนได้
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญารับขน: ตัวแทน, ตัวการ, ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อ และเหตุสุดวิสัย
ฟ้องของโจทก์แปลได้ว่าโจทก์ซื้อวิทยุแล้วมอบให้ผู้ขายเป็นตัวแทนนำเอาวิทยุไปให้จำเลยทำการขนส่งไปให้โจทก์และในทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ผู้ขายกระทำไปนั้นเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของโจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้จ่ายค่าขนส่งเอง ผู้ขายจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาขนส่งวิทยุกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับขนได้
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยนั้นต้องเป็นเหตุผิดปกติสุดวิสัยที่คิดว่าจะมีขึ้น หากเป็นกรณีที่อาจป้องกันผลพิบัติได้ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว ก็มิใช่เหตุที่จะป้องกันไม่ได้ จำเลยรับขนวิทยุไปให้โจทก์โดยบรรทุกมาในรถ ถ้าหากลูกจ้างของจำเลยใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลสินค้าที่บรรทุกมาในระหว่างจอดพักรถ คนร้ายก็จะไม่สามารถขโมยเอาวิทยุไปได้จึงอยู่ในวิสัยที่จะป้องกันได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า: ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดหากสินค้าสูญหายก่อนถึงมือ
จำเลยสั่งซื้อเหล็กจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยไม่มารับของก็ให้โจทก์ส่งเหล็กไปให้จำเลยที่ร้านของจำเลยซึ่งอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่มารับของโจทก์จึงให้ผู้ขนส่งบรรทุกของไปให้จำเลย แต่จำเลยไม่ได้รับเพราะของสูญหายไประหว่างขนส่ง ดังนี้ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระราคาต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับตราส่ง สัญญาขนส่ง: ผู้รับตราส่งไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหากของหายระหว่างขนส่ง
ผู้ขายนำสินค้าไปส่งมอบแก่จำเลยผู้รับขนเพื่อส่งให้โจทก์ผู้ซื้อ โจทก์เป็นผู้รับตราส่งสินค้ารายพิพาท ไม่ใช่ผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จึงมิใช่คู่สัญญารับขน สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่สัญญารับขนจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 คือเมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว แต่สินค้ารายพิพาทนี้มิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง โดยได้สูญหายไปเสียก่อนในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งให้ส่งมอบสินค้าได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้น จึงไม่อาจจะตกไปได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามมาตรา 627 โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับขนพิพาทได้
การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 463 นั้น มิใช่เป็นข้อวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะการส่งมอบเป็นเพียงหน้าที่ประการหนึ่งของผู้ขายเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 และจะยกเอาบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ซื้ออันเกิดแต่สัญญารับขนไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดก็ต้องใช้กฎหมายลักษณะนั้นบังคับ
การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 463 นั้น มิใช่เป็นข้อวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะการส่งมอบเป็นเพียงหน้าที่ประการหนึ่งของผู้ขายเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 458 และจะยกเอาบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่ในลักษณะซื้อขายมาเป็นข้อวินิจฉัยสิทธิของผู้ซื้ออันเกิดแต่สัญญารับขนไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ต่างลักษณะกัน เมื่อเข้าลักษณะใดก็ต้องใช้กฎหมายลักษณะนั้นบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้า ซี.ไอ.เอฟ. (CIF) ผู้ขายรับผิดชอบจนถึงกราบเรือที่ท่าเรือต้นทาง
ซื้อกำมะถัน ซึ่งต้องขนจากต่างประเทศมายังประเทศไทย การส่งมอบสำเร็จเมื่อส่งมอบแก่ผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 463สัญญาซื้อขายที่ว่า ซี.ไอ.เอฟ.บางกอกฟรีเอ้าท์ หมายความว่าผู้ขายรับผิดจนถึงเวลาที่สินค้าผ่านพ้นกราบเรือที่ท่าเรือต้นทาง ไม่ใช่ท่าเรือในกรุงเทพฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายเมื่อสินค้าไม่ถึงมือผู้ซื้อ แม้จะเปลี่ยนวิธีการขนส่ง
ทำสัญญาซื้อข้าวสารกัน 230 กระสอบที่จังหวัดเพ็ชรบุรี ตกลงให้ส่งทางรถไฟและส่งมอบกันที่จังหวัดชุมพร ผู้ขายได้ส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ 1 ตู้ 115 กระสอบ ต่อมาทางรถไฟชำรุด ผู้ซื้อตกลงให้ผู้ขายส่งข้าวที่ยังเหลืออยู่ทางเรือ ผู้ขายได้จัดการจ้างเรือบันทุกส่งไปให้ผู้ซื้อแล้วปรากฎว่าข้าวสารส่งไปไม่ถึงมือผู้ซื้อ ดังนี้ ผู้ขายคงมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อผู้ซื้อตามเดิม
ผู้รับจ้างบันทึกนั้น ไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมาย ในมาตรา 463, 608 ป.ม.แพ่งฯ
ผู้รับจ้างบันทึกนั้น ไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมาย ในมาตรา 463, 608 ป.ม.แพ่งฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งมอบสินค้า ผู้ขายต้องรับผิดชอบเมื่อสินค้าไม่ถึงมือผู้ซื้อ แม้จะมอบหมายให้ผู้อื่นขนส่ง
ทำสัญญาซื้อข้าวสารกัน 230 กระสอบ ที่จังหวัดเพชรบุรีตกลงให้ส่งทางรถไฟและส่งมอบกันที่จังหวัดชุมพร ผู้ขายได้ส่งข้าวสารไปให้ผู้ซื้อ 1 ตู้ 115 กระสอบ ต่อมาทางรถไฟชำรุด ผู้ซื้อตกลงให้ผู้ขายส่งข้าวที่ยังเหลืออยู่ทางเรือ ผู้ขายได้จัดการจ้างเรือบรรทุกส่งไปให้ผู้ซื้อแล้วปรากฏว่าข้าวสารส่งไปไม่ถึงมือผู้ซื้อดังนี้ ผู้ขายคงมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อผู้ซื้อตามเดิม
ผู้รับจ้างบรรทุกนั้น ไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมาย ในมาตรา 463,608 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้รับจ้างบรรทุกนั้น ไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมาย ในมาตรา 463,608 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์และการครอบครองข้าวเปลือก: การขายข้าวแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ตกลงซื้อข้าวเปลือกซึ่งใส่กะสอบไว้ที่บ้านผู้ขายผู้ซื้อได้ชำระราคาแล้ว และตกลงให้ผู้ขายนำไปส่งให้ที่บ้านผู้ซื้อนั้น ถือว่ากรรมสิทธิตกเป็นของผู้ซื้อ แต่ถือว่าการครอบครองอยู่ที่ผู้ขาย ถ้าผู้ขายเอาไปขายให้ผู้อื่น ไม่มีผิดฐานลักทรัพย์