พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตัวแทนขนส่งทางทะเล: การมอบอำนาจช่วงและการไม่ถือเป็นผู้ขนส่งหลายทอด
การที่จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมเจ้าท่า และการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำร่องเรือ น. ซึ่งบรรทุกสินค้ารายพิพาทเข้าสู่ท่าและขอที่จอดเทียบเรือ กับติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือรวมทั้งแจ้งเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือน. และบริษัท ฟ. ผู้ขนส่งจะต้องกระทำโดยตนเองซึ่งได้มอบอำนาจให้บริษัท ซ.เป็นผู้กระทำการแทนแต่บริษัทซ. มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงได้มอบอำนาจช่วงให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเหล่านั้นแทน การที่จำเลยกระทำไปดังกล่าวยังไม่พอให้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำหน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับเรือ น. และบริษัท ฟ.และเพียงแต่จำเลยได้ร่วมตรวจสอบสินค้ารายพิพาทกับพนักงานตรวจสอบสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รับมอบใบตราส่งคืนมา แล้วออกใบรับของให้แก่ผู้รับตราส่งกับแจ้งไปยังผู้อำนวยการกองตรวจสอบสินค้าขาเข้า กรมศุลกากร ขอแก้บัญชีสินค้าเพื่อให้ผู้รับตราส่งไปดำเนินพิธีการศุลกากร ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย หากไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนส่งโดยตรง แม้จะดำเนินการทางพิธีการต่างๆ แทนเจ้าของเรือ
การที่จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำร่องเรือ น. ซึ่งบรรทุกสินค้ารายพิพาทเข้าสู่ท่าและขอที่จอดเทียบเรือ กับติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือรวมทั้งแจ้งเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือ น. และบริษัท ฟ. ผู้ขนส่งจะต้องกระทำโดยตนเองซึ่งได้มอบอำนาจให้บริษัท ซ. เป็นผู้กระทำการแทน แต่บริษัท ซ. มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จึงได้มอบอำนาจช่วงให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเหล่านั้นแทน การที่จำเลยกระทำไปดังกล่าวยังไม่พอให้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำหน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับเรือ น. และบริษัท ฟ. และเพียงแต่จำเลยได้ร่วมตรวจสอบสินค้ารายพิพาทกับพนักงานตรวจสอบสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รับมอบใบตราส่งคืน แล้วออกใบรับของให้แก่ผู้รับตราส่งกับแจ้งไปยังผู้อำนวยการกองการตรวจสอบสินค้าขาเข้า กรมศุลกากรขอแก้บัญชีสินค้าเพื่อให้ผู้รับตราส่งไปดำเนินพิธีการศุลกากร ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนขนส่งสินค้า: การพิสูจน์การเป็นผู้ร่วมรับขนส่ง
จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท น. ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากประเทศโรมาเนีย เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแห่งประเทศไทย ทางเรือได้แจ้งรายการสินค้าเสียหายให้บริษัท จ. ผู้ซื้อสินค้าทราบไม่ได้แจ้งจำเลยด้วย และบริษัท จ. เป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นไปขนถ่ายสินค้าจากเรือดังกล่าวเอง จำเลยมีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของเรือสินค้าให้บริษัท จ. ทราบเท่านั้น จำเลยไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาท โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้ากับบริษัท จ. จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายของสินค้า เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท ฟ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศไม่มีประเด็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการต่าง ๆในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของบริษัทฟ. หรือไม่ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่ง บริษัทฟ.ซึ่งเป็นผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แต่ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับหน่วยราชการต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อนำเรือบรรทุกสินค้าของบริษัทฟ. เข้าออกท่าเรือกรุงเทพ ขนสินค้าลงจากเรือและแจ้งการมาถึงของเรือให้เจ้าของสินค้าหรือผู้รับตราส่งทราบ ตลอดจนออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งไปรับสินค้าออกจากท่าเรือ เมื่อปรากฏว่า จำเลยได้แจ้งวันที่เรือสินค้าจะมาถึงท่าเรือกรุงเทพให้ผู้รับตราส่งทราบ เป็นผู้ขออนุมัตินำเรือเข้าเทียบท่าและแจ้งหน่วยราชการต่าง ๆ เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดระวางเรือและขนถ่ายสินค้า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้า และเพื่อให้ผู้รับตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยมิฉะนั้นจะรับสินค้าไม่ได้ การดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งอันจะทำให้สินค้าที่ขนส่งมาถึงผู้รับตราส่ง และจะขาดช่วยนี้เสียมิได้ มิฉะนั้นการขนส่งจะชะงักนอกจากนี้เมื่อผู้ส่งยังไม่ได้ชำระค่าระวางในการขนส่งโดยให้มาเก็บค่าระวางปลายทาง จำเลยก็มีสิทธิเก็บค่าระวางขนส่งเสียก่อนที่จะออกใบปล่อยสินค้าให้ผู้รับตราส่ง ส่วนบุคคลผู้ที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือไม่ว่าจำเลยจะใช้พนักงานของจำเลยหรือผู้อื่นทำการขนถ่ายก็ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องวิธีดำเนินการค้าระหว่างบริษัทฟ. กับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จจากทางการค้าตามปกติของตน จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่ง นอกจากจำเลยจะดำเนินการดังกล่าวแก่สินค้าขาเข้าแล้ว จำเลยยังดำเนินการเกี่ยวกับการขนสินค้าขาออกจากประเทศไทยให้แก่บริษัทฟ. ด้วย พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าเกี่ยวข้องดำเนินงานดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมประกอบธุรกิจขนส่งด้วยกันอันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยให้การว่า ผู้ส่งทำการบรรจุหีบห่อสินค้าไม่ดี เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่ง ผู้ส่งจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบบริษัทฟ. ผู้ขนส่งหรือจำเลยไม่ต้องรับผิด แต่จำเลยอุทธรณ์ว่าการซื้อขายสินค้าพิพาทเป็นการซื้อขายระบบซีแอนด์เอฟซึ่งสิทธิทั้งหลายจะตกแก่ผู้รับตราส่งเมื่อของหรือสินค้าได้ถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบของหรือสินค้าแล้ว แต่ปรากฏว่าสินค้าพิพาทสูญหายก่อนส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นเรื่องที่ผู้ส่งจะต้องไปว่ากล่าวกับผู้ขนส่งผู้รับตราส่งยังไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง เช่นนี้เห็นได้ชัดว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยไม่ตรงกับที่จำเลยให้การไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ ภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าที่ขนส่งสูญหายไปเพราะสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ตกแก่ผู้ขนส่งแม้จะปรากฏว่าขณะเรือบรรทุกสินค้ารายพิพาทมาได้ถูกมุรสมอย่างรุนแรงระหว่างทางก็ตาม แต่ผู้ขนส่งไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาแสดงให้เห็นว่า หีบที่บรรจุสินค้ารายพิพาทได้แตกและสินค้าได้สูญหายไปเพราะเรือโดนมรสุมดังกล่าว และไม่มีพยานยืนยันแน่ชัดว่าหีบที่บรรจุสินค้าพิพาทแตกชำรุดขณะใด จึงยังถือไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทได้สูญหายไปเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความสูญหายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่ง
การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองซานโจ่อันประเทศปัวโตริโก้ โดยจำเลยที่ 1 จัดหารถบรรทุกไปขนสินค้าจากโรงงานของผู้ว่าจ้างไปยังสนามบินกรุงเทพ แล้วว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้านั้นทางอากาศต่อไปอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งมอบแก่บริษัทกวนแอนด์นาเกล จำกัด เมืองนิวยอร์ก และบริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด รับสินค้าและดำเนินการให้บริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ จำกัด ขนส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง ดังนี้ ถือเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด เมื่อสินค้าสูญหายไปในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2531 )
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2531 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งหลายทอด: ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากการสูญหายของสินค้า
การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองซานโจอันประเทศปัวโตริโก้ โดยจำเลยที่ 1 จัดหารถบรรทุกไปขนสินค้าจากโรงงานของผู้ว่าจ้างไปยังสนามบินกรุงเทพ แล้วว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนส่งสินค้านั้นทางอากาศต่อไปอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งมอบแก่บริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด เมืองนิวยอร์ก และบริษัทควนแอนด์นาเกล จำกัด รับสินค้าและดำเนินการให้บริษัทอเมริกันแอร์ไลน์ จำกัด ขนส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง ดังนี้ถือเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด เมื่อสินค้าสูญหายไปในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้แทนเรือในฐานะผู้ขนส่งสินค้าช่วงสุดท้าย
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศบรรทุกมาทางเรือ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือมีหน้าที่ต้องติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เรือได้เข้าเทียบท่า และติดต่อกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสินค้าในเรือให้ไปรับใบปล่อยสินค้าจากจำเลยและจำเลยต้องขนสินค้าจากเรือเข้าคลังสินค้าโดยจำเลยได้รับบำเหน็จจากตัวการ ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดโดยมีจำเลยรับขนในช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหาย และอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
เรือต้องคลื่นลมแรงและสภาวะอากาศที่เลวร้ายมากในระหว่างทาง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวมีความร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่อาจจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในเรือได้ คลื่นลมและสภาวะอากาศเช่นนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 อันจะทำให้ผู้ขนส่งหลุดพ้นความรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนขนส่ง: ไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย
จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท น. ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากประเทศโรมาเนีย เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแห่งประเทศไทย ทางเรือได้แจ้งรายการสินค้าเสียหายให้บริษัท จ. ผู้ซื้อสินค้าทราบไม่ได้แจ้งจำเลยด้วย และบริษัท จ.เป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นไปขนถ่ายสินค้าจากเรือดังกล่าวเอง จำเลยมีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของเรือสินค้าให้บริษัท จ. ทราบเท่านั้น จำเลยไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาท โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้ากับบริษัท จ. จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยรับผิดได้.