คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 618

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสิ่งของสูญหาย: ข้อจำกัดความรับผิดตามระเบียบและข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิม ส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้น และต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสิ่งของสูญหาย และขอบเขตการประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของลงทะเบียนที่ไม่ได้รับการประกัน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสินค้าสูญหาย: การลงทะเบียนไม่ประกัน, การแจ้งราคา, และผู้รับขน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงใน ใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่ง เอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่1 แล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งสินค้าหลายทอด: ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยมีหน้าที่ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อทราบชื่อเรือ กำหนดเรือเข้า จองท่าเทียบเรือ ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อตรวจสินค้าและทราบราคาสินค้า ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเกี่ยวกับลูกเรือ แจ้งกรมเจ้าท่าเพื่อส่งเรือนำร่องและแจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งมามอบแก่จำเลย และรับใบปล่อยสินค้าที่จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือฯ และรับจองระวางสินค้าที่จะออกจากท่าเรือแห่งประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ซึ่งจำเลยจะลงลายมือชื่อในใบตราส่งแทนเจ้าของเรือ ดังนี้ เป็นวิธีการของการรับขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615 และ มาตรา 622 มีลักษณะร่วมกันในการขนส่ง สินค้ากับ บริษัทเดินเรือต่างประเทศ และเป็นการขนส่ง หลายทอดโดยจำเลย เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จึงต้อง ร่วมรับผิดในการสูญหาย หรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งตาม มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสายการเดินเรือต่างๆรวมทั้งเรือ อ. ของบริษัท บ.ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทด้วย เมื่อเรือจะเข้าท่าเรือกรุงเทพจำเลยเป็นผู้แจ้งให้บริษัท ย. เจ้าของสินค้าผู้รับตราส่งทราบ บริษัท ย. นำใบตราส่งมาชำระค่าระวางสินค้าแก่จำเลย และจำเลยออกใบรับมอบของหรือใบปล่อยสินค้าให้ไปรับสินค้า และจำเลยติดต่อขออนุญาตเช่าเครื่องมือขนถ่ายสินค้าจากการท่าเรือฯด้วย หน้าที่ดังกล่าวจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ต้องถือว่าการขนส่งสินค้ารายพิพาทจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยคนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. หรือไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งจึงต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายทั้งหมดของสินค้ารายพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าสูญหาย และข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่ง
บริษัท น. เป็นผู้ขนส่งสินค้าให้แก่ห้าง ศ. จากประเทศบราซิลและบริษัท น. ว่าจ้างบริษัท ป. ให้รับขนสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อเรือมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 2 ตัวแทนบริษัท ป. แจ้งให้ห้าง ศ.ทราบจัดการให้เรือเทียบท่า หาคนขนถ่ายสินค้า ออกใบส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 1 จะต้องโอนสินค้าให้ห้าง ศ.จึงจะไปเบิกสินค้าจากโกดังของการท่าเรือฯ ได้ การขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นวิธีดำเนินการค้าอันทำให้ได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตน จึงเป็นการดำเนินงานในลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้า และเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าเกิดเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมในสัญญาขนส่งทางทะเลและการกำหนดอายุความ
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10 ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้เพราะมาตรา 164 บังคับไว้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งหลายทอดทางทะเล ผู้ขนส่งร่วมรับผิดชอบความเสียหายต่อสินค้า
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องโดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่าขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้ารับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตนพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้ เพราะมาตรา164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
of 15