พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุในคดีรับขนทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสน และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะเกิดเหตุรับขน
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาเกิดเหตุในคดีรับขนของทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง พยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือ ตรงตามความหมายของคำว่า "ตัวแทน" ตามมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามมาตรา248 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การปรับใช้กฎหมายเก่าแก่กรณีรับขนของทางทะเล, และการตีความตัวแทน
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง พยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือ ตรงตามความหมายของคำว่า "ตัวแทน" ตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามมาตรา 248วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พ.ร.บ.การรับขน-ของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พ.ร.บ.การรับขน-ของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์รับขนส่งสินค้าทางทะเลและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเรือของบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าต่างประเทศที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าให้จัดส่งเรือนำร่องลากจูงเรือเดินทะเลเข้ามายังท่าเรือคลองเตย ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบรายชื่อของลูกเรือ ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อขออนุญาตเปิดระวางเรือ แจ้งให้โจทก์ผู้ขายสินค้าจัดส่งสินค้ามามอบให้กัปตันเรือเดินทะเล และออกใบตราส่งให้โจทก์ในนามของบริษัท ซ. จำเลยได้ค่าตอบแทน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าระวางขนส่ง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้าดังกล่าว การเกี่ยวข้องของจำเลยหาใช่เพียงเป็นตัวแทนของบริษัท ซ.ไม่ แต่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าหรือผู้ขนส่งหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทนี้ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดและการร่วมขนส่งสินค้าทางทะเล
สายการเดินเรือ ซ.รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทย แต่ไม่มีสาขาในประเทศไทย จึงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแทนระหว่างเดินทาง เรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือ ซ.เกิดเพลิงไหม้ ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วน ต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัด จากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกัน เมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้าง ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่ง มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้า และเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยที่ 1 ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้า การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 1 เป็นวิธีการรับขนทางทะเล มีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จำเลยที่ 1 ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามป.พ.พ. มาตรา 615 และมาตรา 622 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักมาก ไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 4และที่ 5 ขนถ่ายสินค้า โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นคนขับเรือเล็ก จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้า จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 3 จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักมาก ไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 4และที่ 5 ขนถ่ายสินค้า โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นคนขับเรือเล็ก จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้า จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 3 จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดร่วมรับผิดชอบความเสียหายสินค้า การรับขนส่งทางทะเล
สายการเดินเรือช. รับจ้างขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทยแต่ไม่มีสาขาในประเทศไทยจึงให้จำเลยที่1ดำเนินการแทนระหว่างเดินทางเรือบรรทุกสินค้าของสายการเดินเรือช.เกิดเพลิงไหม้ทำให้สินค้าเสียหายบางส่วนต้องขนสินค้าที่เสียหายขึ้นที่เมืองฮ่องกง จำเลยที่1มีหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าบนเรือขอให้ใช้กฎแห่งการเฉลี่ยทั่วไปในรูปแบบของหลักประกันเฉลี่ยของบริษัทลอยด์ จำกัดจากผู้รับตราส่งสินค้าเรียกหนังสือค้ำประกันเพื่อกฎแห่งการเฉลี่ยอย่างไม่จำกัดจำนวนจากผู้รับประกันภัยสินค้าและขอให้ลงชื่อในแบบฟอร์มหลักประกันเฉลี่ยและหนังสือค้ำประกันเมื่อเรือสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งเรือเข้าต่อกรมเจ้าท่าและต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าสินค้าที่บรรทุกมาบนเรือมีอะไรบ้างประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นผู้รับค่าระวางขนส่งจากผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าบนเรือทั้งหมดไปเก็บไว้ในคลังสินค้าและเมื่อเรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาจำเลยที่1ต้องหาเรือลำเลียงมาขนถ่ายสินค้าการดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่1เป็นวิธีการรับขนทางทะเลมีลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จำเลยที่1ประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งมาแลกกับใบปล่อยสินค้าซึ่งจำเลยที่1เป็นผู้ออกให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นขั้นตอนสำคัญของการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา615และมาตรา622จำเลยที่1จึงเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ เมื่อเรือบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักให้มากไม่สามารถเข้ามาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้จำเลยที่1ได้ให้จำเลยที่2เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือบรรทุกสินค้าจากเกาะสีชังมากรุงเทพมหานครจำเลยที่2ได้ว่าจ้างจำเลยที่4และที่5ขนถ่ายสินค้าโดยมีจำเลยที่3เป็นคนขับเรือเล็กจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่สู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าจึงถือได้ว่าจำเลยที่2ที่4และที่5เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่1เพื่อให้สินค้าถึงผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้ายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่3มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยที่3จึงย่อมไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหลายทอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งและผู้ขนส่งทอดสุดท้ายกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งทางทะเล
จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย และเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่ง เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือ ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือ แจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบ และให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลย สั่งให้นายเรือปล่อยสินค้า และวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการใช้บริการทางท่าเรือ เมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง และบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้า เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้ เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล
จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทยและเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่งเมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือ เกาะสีชังจังหวัดชลบุรีจำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือแจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบและให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยสั่งให้นายเรือปล่อยสินค้าและวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการใช้บริการทางท่าเรือเมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะ สีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้