คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 618

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งร่วม การมอบอำนาจและการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์มีผลต่อการรับผิดชอบค่าเสียหาย
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่1จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่1ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วแต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งฎีกาจำเลยที่1ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ใบตราส่งเป็นแบบ ฟลูไลเนอร์เทอม ซึ่งหมายความว่าหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ ฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือ เกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเองจำเลยที่1ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่2ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วยส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้ารวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่2ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเองการที่จำเลยที่1ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือยังไม่พอถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่2และเรือใหญ่ด้วยจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่1ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ283,734.40บาทซึ่งจำเลยที่1ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง7,092.50บาทแต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน359,497.31บาทด้วยและให้จำเลยที่1เสียค่าขึ้นศาลฎีกาเป็นเงิน8,987.50บาทจำเลยที่1จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน1,895บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบความเสียหาย: การที่จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมขนส่งโดยตรง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่ 1 จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งทางทะเล: การแจ้งเรือและเอกสารพิธีการศุลกากรไม่ถือเป็นผู้ขนส่งรายสุดท้าย
จำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ารายพิพาทขึ้นจากเรือลงสู่ท่าแล้วขนไปพักยังโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนที่บริษัท ฟ. จะจ้าง อ. ให้ทำการขนส่งต่อไปยังโกดังของบริษัท ฟ. เพื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตรวจนับสินค้าและสำรวจความเสียหาย จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาททางทะเลทอดสุดท้าย ลำพังแต่เพียงที่จำเลยแจ้งการมาถึงของเรือ รับใบตราส่งจากผูัรับตราส่งแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อนำไปรับสินค้าจากท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือดำเนินพิธีการศุลกากรทางด้านเอกสารต่าง ๆ แทนผู้รับขนหรือนายเรือซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยร่วมในการขนส่งทางทะเลทอดสุด-ท้ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์การประกอบกิจการประกันภัยครอบคลุมประกันภัยทุกชนิด ผู้รับขนส่งมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากการขนส่ง
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า"(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำประกันภัยทางอุบัติเหตุ ประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลยจำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทย จำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของป.พ.พ.มาตรา 617 และ 618
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาทศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6626/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: การพิสูจน์ฐานะและการรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทแก่ผู้รับตราส่ง และมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือการรับใบตราส่งและออกใบสั่งปล่อยสินค้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการขนส่ง ก็ทำให้ฐานะเป็นตัวแทนของเรือ จำเลยจึงมิใช่ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6626/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต้องมีส่วนร่วมในขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง หากไม่มีส่วนร่วม ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย
จำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทแก่ผู้รับตราส่งและมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือการรับใบตราส่งและออกใบสั่งปล่อยสินค้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการขนส่งก็ทำให้ฐานะเป็นตัวแทนของเรือจำเลยจึงมิใช่ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6626/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: จำเลยไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งหากไม่ได้แจ้งการมาถึงเรือและดำเนินการขั้นตอนสำคัญ
จำเลยมิได้เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทแก่ผู้รับตราส่งและมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือการรับใบตราส่งและออกใบสั่งปล่อยสินค้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการขนส่งก็ทำให้ฐานะเป็นตัวแทนของเรือจำเลยจึงมิใช่ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้า แม้จะอ้างเฮกรูลส์ไม่ได้ และอายุความยังไม่ครบกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้วและฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่างๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้าติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอดเป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทยประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้นหากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่3พฤษภาคม2532อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้นปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่3พฤษภาคม2532ในสภาพเรียบร้อยผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่3พฤษภาคม2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทอดสุดท้าย และอายุความตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้ว และฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 15