พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5287/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเรือสินค้าต่างประเทศไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายสินค้า หากไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการขนส่ง
จำเลยมิใช่ผู้ออกใบตราส่งและไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างทางหรือเมื่อเรือมาถึงท่าเรือปลายทางแล้ว การเกี่ยวข้องของจำเลยเพียงเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศและไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือผู้ขนส่งให้ผู้รับตราส่งทราบและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าและติดต่อกรมศุลกากรเพื่อเปิดระวางเรือ แจ้งกรมเจ้าท่าเพื่อให้นำเรือเข้าเทียบท่าเรือปลายทาง และแจ้งกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจคนที่มากับเรือ ซึ่งการเหล่านี้มิใช่การขนส่ง แต่เป็นงานเกี่ยวกับเอกสารหรือการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้ขนส่งมิได้กระทำโดยตนเอง หากแต่ได้มอบหมายให้จำเลยทำแทนเท่านั้นการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยจึงมิใช่ลักษณะการร่วมเป็นผู้ขนส่งสินค้าหรือเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ซึ่งยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 4 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความชำรุดเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประกันภัย, และการประเมินความเสียหาย
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฎว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การรับช่วงสิทธิ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และการพิสูจน์หลักฐาน
ดวงตราที่ประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์เหมือนกับที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน ต่างกันแต่เพียงขนาด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับของกรมทะเบียนการค้าว่าดวงตราที่ประทับจะต้องมีขนาดเท่ากับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องประทับในใบแต่งทนาย ทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายใหม่มีกรรมการลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับต่อศาล และให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ดำเนินไปแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาต การยื่นฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 867วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620
การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิใช่ฟ้องให้บังคับตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 867วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงและไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายตามบันทึกประจำวันซึ่งตัวแทนฝ่ายจำเลยทำกับตัวแทนฝ่ายบริษัทผู้ส่งภายหลังเกิดเหตุไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีจำนวนเท่าใดแน่นอน ไม่อาจระงับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เครื่องปิดฉลากอากรแสตมป์ขวดสุราเป็นเพียงสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620
การขนส่งเครื่องปิดฉลากดังกล่าวมีผู้ขนส่งหลายคนคือจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์รับขนส่ง เมื่อของที่ขนส่งบุบสลาย จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ผู้ขนส่งทั้งนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 618 จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้ขนส่งหลายคนในสัญญาขนส่ง และการระงับความรับผิดจากการประนีประนอมยอมความ
ดวงตราของโจทก์ที่ประทับในใบแต่งทนายความมีรูปร่างลักษณะ และรายละเอียดตัวอักษรในดวงตราเหมือนกับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมทะเบียนการค้าทุกประการต่างกันแต่เพียงว่ามีขนาดไม่เท่ากัน ดังนี้ เมื่อกรมทะเบียนการค้าไม่มีระเบียบข้อบังคับว่าดวงตราที่ใช้ประทับจะต้องมีขนาดเท่าดวงตราที่จดทะเบียนไว้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับประทับในใบแต่งทนายความ อีกทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความใหม่มีกรรมการของบริษัทลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ต่อศาลและให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ได้ดำเนินไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต การยื่นคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิได้ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรกอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ และไม่ตกอยู่ภายในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนเท่าใดแน่นอน จึงไม่ระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องจักรแม้จะมีราคาหลายล้านบาท แต่ก็เป็นสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 จำเลยที่ 1 รับจ้าง ส. ขนเครื่องจักร แล้วไปติดต่อจำเลยที่ 3ให้จัดหารถบรรทุกเครื่องจักรให้ จำเลยที่ 3 ออกใบเสร็จรับเงินและใบรับของให้จำเลยที่ 1 และติดต่อหารถบรรทุกให้ ซึ่งเป็นรถที่จดทะเบียนใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งและดำเนินการรับจ้างขนส่งสินค้าในนามของจำเลยที่ 5 โดยระบุในหนังสือแสดงการจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 5 มีสิทธิครอบครองและใช้ประกอบการขนส่งไปบรรทุกเครื่องจักรให้ ส. พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5เป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด ดังนั้นเมื่อเครื่องจักรบุบสลายระหว่างขนส่ง จะต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือข้อที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และความเสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นอำนาจฟ้อง ปัญหานี้ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก (เดิม) สินค้าที่เสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งร่วมทอดสุดท้ายต้องร่วมรับผิดในความเสียหายดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระแทนให้ผู้รับตราส่งไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาในข้อที่มิได้ให้การไว้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากข้อต่อสู้ของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหายเนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 609 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้นถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 แล้ว แต่จำเลยที่ 2ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหาย เนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้แทนเรือไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ขนส่ง หากไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนถ่ายสินค้าจริง
บริษัท ซ. ผู้ขนส่งสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เป็นผู้ว่าจ้างบริษัท อ. โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักรหรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้ารวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทซ. และเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้แทนเรือไม่ต้องรับผิดฐานผู้ขนส่งร่วม หากไม่ได้มีส่วนร่วมในการขนถ่ายสินค้า
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท อ. โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล บริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากรหรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้าตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง.