พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้แทนเรือและผู้ขนส่งร่วม กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนถ่าย
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทอ.โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนขนส่ง: การแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์บ่งชี้ความร่วมมือทางธุรกิจ
บริษัท จ. ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้ติดต่อกับจำเลย จำเลยรับจัดการให้ โดยติดต่อกับบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลให้ทำการขนส่งสินค้าให้บริษัท ว. เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือแล้วจำเลยได้ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่บริษัท จ. และเก็บค่าระวางเรือ และจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างขนสินค้าแก่ผู้ขนส่งสินค้าลงเรือ เมื่อเรือของบริษัทซ. เข้ามาในประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่อง กรมเจ้าท่า เมื่อเรือจะออกจากประเทศไทยจำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่องกรมเจ้าท่าและเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อให้เรือออกจากประเทศไทยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าของบริษัท จ. ในลักษณะร่วมกับบริษัท ซ. โดยวิธีแบ่งหน้าที่กันดำเนินงานและแบ่งผลประโยชน์ด้วยกัน มิใช่เป็นเพียงนายหน้าของบริษัท ซ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจัางขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดในสัญญาขนส่ง
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจ้างขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทน.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัทล. ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัทล.ผู้ตราส่งแทนบริษัทน.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัทท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัทท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัทท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัทน.และห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัทท.เพื่อให้บริษัทท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้ามิใช่บริษัทล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัทท.ผู้รับตราส่งบริษัทส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัทท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัทล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงการขาดหายของสินค้า การนำสืบไม่เป็นการนอกคำให้การหากเกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่าสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมทอดหนึ่งจึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหาย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตามฟ้องได้ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้น เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคำให้การนั่นเอง หาเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างข้อกล่าวหาการขาดหายของสินค้า การนำสืบต้องอยู่ในประเด็นที่ได้ต่อสู้ไว้
โจทก์ฟ้องว่าสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมทอดหนึ่งจึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหาย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตามฟ้องได้ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้น เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคำให้การนั่นเอง หาเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายรับผิดชอบความเสียหายสินค้าสูญหาย การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ยื่นคำร้องต่อการท่าเรือฯ ขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือฯ ให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้า ตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่การท่าเรือฯเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้าง การท่าเรือฯ นำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือฯ เพื่อรับสินค้าซึ่งหากไม่มีใบรับสินค้าก็ไม่สามารถจะไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ ดังนี้ การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต่อการสูญหายของสินค้า และการบังคับใช้กฎหมายไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบยื่นคำร้องต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้าตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้า การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล ผู้ขายสินค้าพิพาทมีสัญชาติญี่ปุ่น และส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นโดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทยการขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทยและบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13ให้ใช้กฎหมายใดบังคับในเรื่องค่าเสียหายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งทอดสุดท้าย: จำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบการขนส่งขึ้นลงจากเรือ ถือเป็นผู้ขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยได้ติดต่อว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือ โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งให้ผู้ขนถ่ายทราบว่าเป็นเรือลำไหนและจอดที่ใด จำเลยเป็นผู้ชำระค่าจ้างให้ห้าง ส.และหากห้างส. พบความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งจะแจ้งความเสียหายให้จำเลยทราบ จำเลยเป็นผู้เช่าเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือและชำระค่าเช่าให้แก่การท่าเรือฯจำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าเทียบท่าแจ้งข่าวการมาถึงของเรือให้ผู้ซื้อและกรมศุลกากรทราบ เมื่อผู้ซื้อนำใบตราส่งมาที่บริษัทจำเลย จำเลยจะออกใบปล่อยสินค้าให้ ซึ่งจำเลยได้ดำเนินการดังกล่าวเฉพาะในประเทศไทย โดยได้รับมอบหมายจากบริษัทด. ผู้ขนส่งทุกครั้งไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นลงจากเรือไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 ส่วนการกล่าวอ้างเอกสารที่ระบุข้อความว่าจำเลยเป็นตัวแทน หรือจำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนก็เป็นเรื่องของจำเลยเองในการดำเนินการค้าระหว่างผู้ขนส่งกับจำเลยโดยจำเลยได้รับบำเหน็จตอบแทนตามอัตราทางการค้าปกติของตน หามีผลทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นผู้ขนส่งเปลี่ยนแปลงไปไม่