คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 111

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058-2076/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่ใช่ส่วนราชการ การจ่ายเงินรางวัลข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 7 การแบ่งส่วนราชการของกรมจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์ให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมโจทก์มาก่อน คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์ทั้งสิ้นแก่โจทก์ และสั่งให้จัดแบ่งส่วนราชการให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการสังกัดกรมโจทก์เท่านั้น การดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น เงินที่ใช้ในการหมุนเวียนได้มาจากการกู้และการลงหุ้นของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมโจทก์ดังนั้นเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นย่อมมิใช่รายได้อันจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินในนามของกรมโจทก์ ผลกำไรดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิประจำแต่ละปีหรือกำไรที่สะสมไว้ล้วนเป็นผลอันได้มาจากการประกอบกิจการของโรงพิมพ์ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นมิใช่ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น ทั้งมิใช่ดอกผลนิตินัยเพราะหาใช่ทรัพย์ที่ได้เป็นครั้งคราวจากผู้อื่นเพื่อตอบแทนการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้นไม่ ผลกำไรดังกล่าวจึงมิใช่ดอกผลตกได้แก่กรมโจทก์ แต่ย่อมจะตกแก่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการนั้น
ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์ กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงานกับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกันดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดด้วยการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา การคิดดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
พฤติการณ์ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ด.ผู้กู้ ให้โจทก์ผู้ให้กู้ทำนา ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ด้วยการให้โจทก์ได้ทำนา จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้ โจทก์จะมีสิทธิทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนา และเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืน ด. เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระดอกเบี้ย โดยไม่ยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อนโจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1,3/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนาและการรับสภาพหนี้ ทำให้ขาดอายุความ
พฤติการณ์ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ด. ผู้กู้ ให้โจทก์ผู้ให้กู้ทำนาถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ด้วยการให้โจทก์ได้ทำนาจึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีดังนี้ โจทก์จะมีสิทธิทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนาและเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนด. เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระดอกเบี้ยโดยไม่ยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อนโจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1,3/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน ถือเป็นการยกทรัพย์สินให้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้นประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน โจทก์มีแต่สิทธิอาศัย
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรม.มีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี)อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า. ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้น. ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ'. ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง.
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย. จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม. โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน มีผลให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรมมีว่า "ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี) อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ ฯลฯ" นั้น ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า "ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ ฯลฯ " ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่า อันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับดอกผลจากทรัพย์สินที่เช่าหลังเลิกสัญญาและการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าสิ่งปลูกสร้างร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซึ่งผู้เช่าถูกฟ้องล้มละลายคืนแก่ตน พร้อมทั้งดอกผลของสิ่งปลูกสร้างตามคำสั่งศาลนั้น คำร้องของผู้ร้องไม่มีลักษณะเป็นการคัดค้านการยึดทรัพย์ และไม่มีสภาพเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการสอบสวนและมีคำสั่ง ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำสั่งประการใด กรณีย่อมไม่เข้าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 และมาตรา 186 ฉะนั้น เมื่อคดีพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำคัดค้านของผู้ร้อง ๆ ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลได้ ในกรณีที่ผู้ร้องเรียกค่าเช่าอันเป็นดอกผลจากทรัพย์สินที่ให้เช่าในระยะเวลาที่ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้ร้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องส่งมอบเงินค่าเช่านั้นให้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 และ 1336
of 8