คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139-1141/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การเพิ่มจำเลยร่วม: การพิจารณาความถูกต้องของฟ้อง และอำนาจศาล
โจทก์เคยฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดรายนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหนึ่ง แล้วถอนฟ้องไปเพราะฟ้องผิดตัว ต่อมาได้ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดอีกห้างหนึ่งกับพวกเป็นจำเลยใหม่ในคดีนี้ แสดงว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงหลังจากฟ้องคดีแรกแล้ว นับถึงวันฟ้องคดีใหม่นี้ยังไม่เกิน 1 ปีคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
ตามสัญญาวางมัดจำซื้อรถยนต์ (ชั่วคราว) ระหว่างโจทก์กับอ.ระบุว่า.ในระหว่างที่อ. ยังส่งเงินไม่ครบจะนำทรัพย์สินไปซื้อขายหรือทำนิติกรรมใดกับผู้อื่นไม่ได้หากฝ่าฝืนยอมให้ถือว่าได้ยักยอกทรัพย์สินของโจทก์แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาได้ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในรถคันนี้ยังเป็นของโจทก์อยู่จนกว่าจะได้รับชำระราคาครบถ้วนดังนั้น เมื่อโจทก์ผู้ขายยังไม่ได้รับชำระราคาครบถ้วนโจทก์จึงยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ฟ้องห้างหนึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์เพิ่งทราบว่ารถยนต์ที่ทำละเมิดเป็นของห้างอีกห้างหนึ่งซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ อาคารเดียวกันกับห้างจำเลยที่ 1 บุคคลภายนอกทั่วไปย่อมเข้าใจว่าห้างทั้งสองนี้เป็นห้างเดียวกัน เพราะชื่อของห้างซ้ำและเลียนกัน หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างทั้งสองก็คือจำเลยที่ 2 คนเดียวกันป้ายชื่อก็ติดตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันพนักงานลูกจ้างตลอดจนเครื่องใช้ในสำนักงานก็ใช้ร่วมกัน โจทก์จึงชอบจะขอให้ศาลหมายเรียกห้างอีกห้างหนึ่งนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ และศาลย่อมมีอำนาจที่จะเรียกห้างอีกห้างหนึ่งนั้นเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยในเหตุละเมิดจากการขนส่งสินค้า
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งนำเข้าร่วมรับขนส่งกับห้างหุ้นส่วนผู้เอาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยร่วม จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นนายจ้าง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ห้างหุ้นส่วนผู้เอาประกันภัยไม่ได้เข้ามาในคดี แต่จำเลยร่วม ผู้รับประกันภัยถูกหมายเรียกเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีแล้ว มีผลเสมือนจำเลยร่วมถูกฟ้อง และโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมได้โดยตรง ตาม มาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยจากสัญญาหย่า: ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ผู้รับเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็ค จำเลยมีสัญญาหย่ากับจำเลยร่วมว่า จำเลยร่วมผู้สามียอมรับผิดในหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างเป็นสามีภริยากันทั้งสิ้น สิทธิระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมนี้ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เป็นสิทธิตามสัญญาหย่ามิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมาย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) บัญญัติไว้ จำเลยไม่มีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียก จำเลยร่วมเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คของผู้ถือ การโอนเช็คโดยสุจริต และสิทธิของผู้ทรงเช็คในการเรียกร้องจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยผู้สั่งจ่าย จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียก ส.เข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) โดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ ส. และได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทจึงไม่มีกรณีที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับ ส.ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ส.ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คพิพาทคนใดเลย ไม่มีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่จะต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะเรียก ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ จำเลยผู้สั่งจ่ายมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับโอนเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกับฉ้อฉล ทั้งคำให้การก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีใด อันจะถือได้ว่าเป็นการคบคิดฉ้อฉล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้อื่นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นในเบื้องต้นจึงจะต้องถือว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยสุจริต แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. แล้ว แต่ ส.ไม่คืนเช็คพิพาทให้ก็ตาม การที่ ส.ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้ โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ส. ได้ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นได้งดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คออกให้ผู้ถือ การต่อสู้สิทธิของผู้ทรงเช็ค และการเรียกจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยผู้สั่งจ่าย จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียก ส. เข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) โดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ ส. และได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยจำเป็นต้องฟ้อง ส. เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่ปรากฏว่าส. เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท จึงไม่มีกรณีที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับ ส.ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินส.ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คพิพาทคนใดเลย ไม่มีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่จะต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะเรียก ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ จำเลยผู้สั่งจ่ายมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับโอนเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล ทั้งคำให้การก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีใดอันจะถือได้ว่าเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้อื่นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นในเบื้องต้นจึงจะต้องถือว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยสุจริต แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส.แล้วแต่ส. ไม่คืนเช็คพิพาทให้ก็ตามการที่ ส. ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ส. ได้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นได้งดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่การตั้งประเด็นข้อพิพาทและสิทธิโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์ จำเลยปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของจำเลยซึ่งซื้อไว้จากจำเลยร่วมโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย จำเลยมิได้กล่าวในคำให้การว่าได้ปลูกสร้างเรือนในที่พิพาทโดยสุจริต ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารอยู่ในที่ดินของโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ คดีจึงไม่มีข้อให้วินิจฉัยเลยไปถึงว่า ถ้าอาคารของจำเลยที่ปลูกสร้างไว้ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยกระทำโดยสุจริตหรือไม่
ศาลชั้นต้นมีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามคำของจำเลยแต่จำเลยร่วมไม่ยอมเข้ามาในคดีจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อศาลชั้นต้นทำการสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าพอจะวินิจฉัยคดีได้ ศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องทำการสืบพยานต่อไป และไม่จำต้องเรียกจำเลยร่วมมาสอบถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกประเด็นนี้ขึ้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์ จำเลยปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของจำเลยซึ่งซื้อไว้จากจำเลยร่วมโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย จำเลยมิได้กล่าวในคำให้การว่าได้ปลูกสร้างเรือนในที่พิพาทโดยสุจริต ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงไว้เพียงว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารอยู่ในที่ดินของโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ คดีจึงไม่มีข้อให้วินิจฉัยเลยไปถึงว่า ถ้าอาคารของจำเลยที่ปลูกสร้างไว้ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยกระทำโดยสุจริตหรือไม่
ศาลชั้นต้นมีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามคำขอของจำเลยแต่จำเลยร่วมไม่ยอมเข้ามาในคดีจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อศาลชั้นต้นทำการสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าพอจะวินิจฉัยคดีได้ ศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องทำการสืบพยานต่อไป และไม่จำต้องเรียกจำเลยร่วมมาสอบถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยค้ำจุนและการใช้สิทธิไล่เบี้ย: ศาลชอบที่จะพิพากษาให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายก่อนผู้เอาประกันภัย
บริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยประเภทค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 1เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลหมายเรียก จำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) มีผลเสมือนจำเลยร่วมถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะให้เรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยร่วมได้โดยตรงก่อนตามจำนวนเงินในกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: การใช้สิทธิไล่เบี้ยและข้อยกเว้นอายุความตามมาตรา 448
รถชนกันเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2519 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2520 โดยวันที่ 27 มีนาคม 2520 ตรงกับวันอาทิตย์ และจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่เกิดเหตุเข้ามาในคดีเพื่อให้ร่วมรับผิดเมื่อเกินกำหนด 1 ปีนับแต่วันละเมิดเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยเพราะจำเลยร่วมจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยจะนำบทบัญญัติ มาตรา 448 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้ต้องเสียหายในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มาบังคับไม่ได้คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นนั้นได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต แต่จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
of 17