คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57นั้น ถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามา ในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้วและจำเลยต้องชำระหนี้แล้ว จึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการมีอำนาจฟ้องคดี เมื่อผู้เช่าไม่สามารถเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าได้
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวางโจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้วโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
(อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องรายพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จำเลยที่เข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าโดยไม่สุจริต และอำนาจโจทก์ในการขอให้ผู้ให้เช่าเข้าร่วมเป็นโจทก์
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวาง โจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกบุคคลภายนอกเป็นคู่ความต้องแสดงเหตุผลความล่าช้า หากไม่ทำ ศาลย่อมยกคำร้องได้
การยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความภายหลังยื่นฟ้องหรือคำให้การแล้ว จำต้องชี้แจงเหตุผลประกอบให้ปรากฏด้วยว่าเหตุใดจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอหมายเรียกเสียเมื่อแรกยื่นฟ้อง ทั้งนี้ เพื่อศาลจะได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะให้ออกหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความด้วยหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นโจทก์ด้วย โดยอ้างแต่เหตุเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของตนแต่ประการเดียว ส่วนเหตุผลที่มายื่นคำร้องล่วงเลยล่าช้า ไม่ได้กล่าวอ้างไว้เลย เช่นนี้ ศาลก็ต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นเสีย (อ้างฎีกาที่ 706/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกบุคคลภายนอกเป็นคู่ความต้องแจ้งเหตุผลล่าช้า หากไม่แจ้งศาลย่อมยกคำร้อง
การยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความภายหลังยื่นฟ้องหรือคำให้การแล้ว จำต้องชี้แจ้งเหตุผลประกอบให้ปรากฏด้วยว่า เหตุใดจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอหมายเรียกเสียเมื่อแรกยื่นฟ้อง ทั้งนี้ เพื่อศาลจะได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะให้ออกหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความด้วยหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นโจทก์ด้วย โดยอ้างแต่เหตุเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของตนแต่ประการเดียว ส่วนเหตุผลที่มายื่นคำร้องล่วงเลยล่าช้า ไม่ได้กล่าวอ้างไว้เลย เช่นนี้ศาลก็ต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นเสีย (อ้างฎีกาที่ 706/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำะรหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้โดยสารรถจักรยานสามล้อไม่ต้องรับผิดในความประมาทของผู้ขับขี่ ฟ้องแย้งเรียกผู้ขับขี่เป็นคู่ความร่วมไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประมาทชนท้ายรถจักรยานสามล้อที่โจทก์โดยสารมา เป็นเหตุให้โจทก์บาดเจ็บ ขอให้ใช้ค่าเสียหายนั้น แม้ผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อนั้นจะประมาทด้วยก็ตาม หากโจทก์เป็นเพียงผู้โดยสาร ไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมกับผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อแต่อย่างใดแล้ว จำเลยก็จะขอให้ศาลเรียกผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้โดยสารรถจักรยานสามล้อไม่ต้องรับผิดชอบความประมาทของผู้ขับขี่ การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประมาทชนท้ายรถจักรยานสามล้อที่โจทก์โดยสารมาเป็นเหตุให้โจทก์บาดเจ็บ ขอให้ใช้ค่าเสียหาย นั้นแม้ผู้ขับขี่จักรยานสามล้อนั้นจะประมาทด้วยก็ตาม หากโจทก์เป็นเพียงผู้โดยสาร ไม่มีส่วนต้องรับผิดร่วมกับผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อแต่อย่างใดแล้ว จำเลยก็จะขอให้ศาลเรียกผู้ขับขี่รถจักรยานสามล้อเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974-1975/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: หลักฐานเป็นหนังสือ, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา, และการพิสูจน์ความถูกต้องของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เช่าที่ดิน 112 ตารางวาจากเจ้าของที่ดิน จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกบ้านในที่ดินบางส่วน จำเลยให้การว่าไม่ได้บุกรุก ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านนี้จำเลยขอเช่าจากเจ้าของ ๆ ให้จำเลยเข้าอยู่แล้ว จำเลยขอให้เรียกเจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วย เจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นจำเลยร่วมและขอถือเอาคำให้การของจำเลยกับขอให้การเพิ่มเติมว่าโจทก์เช่าเพียง 51 ตารางวาเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเช่าที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยร่วมเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้น จะต้องฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เอกสารการเช่ารายนี้ คือ สัญญาหมาย 8 โจทก์ว่า ไม่ใช่สัญญาเช่าที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยร่วม ซึ่งจำเลยและจำเลยร่วมยืนยันว่าใช่ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสัญญาเช่าหมาย 8 นี้เป็นสัญญาที่แท้จริง และใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าโจทก์ทำไว้จริงและใช้ได้แล้ว ก็ต้องฟังว่าโจทก์เช่า 51 ตารางวา ตามที่ปรากฏในสัญญา โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่าความจริงโจทก์เช่า 112 ตารางวาย่อมไม่ได้ แต่โจทก์มีสิทธินำสืบได้ว่า สัญญานี้ปลอมหรือไม่ถูกต้อง
of 17