พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลล่างวินิจฉัยสิทธิครอบครองเกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอม จำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภารจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้น แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตน และจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วม ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเจ้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมมาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วม ยกฎีกาจำเลยร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้อง: ข้อพิพาททางภาระจำยอมแยกจากข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม จำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภาระจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตน และจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วม ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมมาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วม ยกฎีกาจำเลยร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้อง: ข้อพิพาททางภารจำยอมแยกจากข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน การหมายเรียกคู่ความที่ไม่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอมจำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภารจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นแม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตนและจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเจ้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไปการที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมมาด้วยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมยกฎีกาจำเลยร่วมแต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9164/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลหมายเรียกตัวการเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีสัญญากู้เงิน โดยอ้างเป็นตัวแทน
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ทำสัญญากู้เงินโจทก์ในฐานะตัวแทนของ บ. ผู้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นบ. และตามคำร้องที่จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกบ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมก็อ้างว่า ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของ บ.ย่อมจำต้องฟ้อง บ. ซึ่งเป็นตัวการเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญา: การนับอายุความเริ่มจากวันเกิดสิทธิเรียกร้อง และผลของการให้การต่อสู้เรื่องอายุความ
จำเลยร่วมให้การว่า อายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด 2 ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี และอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมาย คำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความชอบด้วยกฎหมาย การนับอายุความเริ่มจากวันที่จำเลยไม่ชำระเงิน
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยสิทธิของโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมเมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: โจทก์ร่วมที่ไม่ได้รับการเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ไม่สามารถได้รับการแบ่งที่ดินได้
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมให้เฉพาะโจทก์และยื่นคำร้องขอให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลนอกคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ขอให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่