คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในภายหลัง
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้เรียกบิดามารดาจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา การที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับคำร้องฉบับแรกโดยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ประการใด ถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมจำเลยร่วมในคดีแพ่ง: ศาลอนุญาตได้หากจำเลยเดิมอาจต้องรับผิดในฐานะตัวการหรือนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ประกอบการขนส่งใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1646 นนทบุรี แล้วโจทก์ยังระบุอีกว่า จำเลยเป็นนายจ้างหรือตัวการได้ใช้จ้างวานหรือเชิดให้ผู้มีชื่อซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือตัวแทนขับรถคันดังกล่าว ดังนั้นแม้ต่อมาโจทก์จะแถลงว่ารถคันดังกล่าวเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิใช่ของจำเลยก็ตามแต่จำเลยอาจต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างหรือตัวการตามคำฟ้องอีกได้ จึงต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยก่อน การที่โจทก์ขอและศาลมีคำสั่งให้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่มีผลต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยเฉพาะ และไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบจะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีได้ หาต้องฟ้องเป็นอีกคดีต่างหากไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานฯ: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่หากไม่ได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปตัดต้นไม้และปลูกอาคารในที่ดินของโจทก์ ขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยได้รับอนุญาตให้ครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ จำเลยอาศัยสิทธิของกรมป่าไม้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้เรียกกรมป่าไม้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ ที่ดินพิพาทเดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยยื่นคำร้องขอกับที่ดินพิพาทออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติแล้ว การที่โจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่ได้สิทธิครอบครอง แม้จะรับโอนมาจากผู้ที่ครอบครองอยู่ก่อนนานเท่าใดก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งมารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดวินาศภัย ไม่ใช่อายุความละเมิด
การฟ้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก หาใช่นำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้ไม่ การยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และป.วิ.พ. มาตรา 57(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนให้โจทก์หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์พิพาทในส่วนที่ยังค้างชำระให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่ารถยนต์พิพาทได้รับความเสียหายเพราะชนกับรถยนต์บุคคลอื่น ต่อมาได้เกิดไฟลุกไหม้ และในทางพิจารณาก็ได้ความว่ารถยนต์พิพาทชนกับรถยนต์อื่นจนเสียหายใช้การไม่ได้จริงเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี ซึ่งหากจำเลยทั้งสองต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสองขอดังกล่าวแล้ว ศาลล่างทั้งสองย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้จะถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์นั้นหากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมพระราชบัญญัติ ญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 45(4) กำหนดไว้ว่า ถ้าไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม ฯลฯมิได้กำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม ทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดว่าในระหว่างที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มสำหรับภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ก็ต้องรับผิดเงินเพิ่มอยู่จนกว่าจะชำระจะอ้างว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และสิทธิในการไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ชำระหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ที่จำเลยต้องรับผิดให้แก่โจทก์ หากจำเลยจะมีสิทธิไล่เบี้ยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างใด ก็มิใช่เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของจำเลยที่มีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีภาษีอากร แม้จำเลยจะอยู่ในระหว่างที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบต่อปีของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จะอ้างเหตุว่าถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่เปลี่ยนเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภาระจำยอมยังคงมีผล
แม้ตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ จะไม่มีข้อความพาดพิง ถึงจำเลยร่วมเลยก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การจำเลยทั้งสองว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วกรมที่ดินได้จดทะเบียนที่พิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุด "แกรนวิลเฮาส์ 2" จำเลยร่วมกรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภารจำยอมในที่ดินซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391.
of 17