คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่า: ต้องเข้าครอบครองก่อนหรือไม่ และผลของการที่ผู้เช่าไม่เข้าครอบครอง
จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินกับอาคารพิพาทมาก่อนที่โจทก์ทำสัญญาเช่าและเมื่อทำสัญญาเช่าแล้วโจทก์ก็ยังมิได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ทรัพย์ที่เช่าเช่นนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยแต่ลำพังโดยไม่เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัย แม้ถูกกรมสรรพากรสั่งอายัดเงิน หนี้ค่าภาษีไม่ใช่เหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระหนี้
เมื่อจำเลยตกลงยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่ได้รับประกันภัยไว้แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะได้รับแจ้งจากกรมสรรพากรมิให้ชำระเงินแก่โจทก์ เนื่องจากจากโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ก็ตาม แต่คำสั่งของกรมสรรพากรดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งศาลที่แจ้งให้จำเลยงดชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งหนี้ค่าภาษีอากรเป็นบุริมสิทธิสามัญ มิใช่บุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์ที่เอาประกัน อันกรมสรรพากรจะเรียกร้องเอากับจำเลยผู้ประกันได้ กรณีเช่นนี้จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกกรมสรรพากรเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือปฏิเสธจำนวนหนี้ที่จำเลยยอมรับผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนประกันภัย: จำเลยไม่สามารถอ้างอายัดภาษีเพื่อปฏิเสธหนี้ได้
เมื่อจำเลยตกลงยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่ได้รับประกันภัยไว้แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะได้รับแจ้งจากกรมสรรพากรมิให้ชำระเงินแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ก็ตาม แต่คำสั่งของกรมสรรพากรดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งศาลที่แจ้งให้จำเลยงดชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งหนี้ค่าภาษีอากรเป็นบุริมสิทธิสามัญ มิใช่บุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์ที่เอาประกันอันกรมสรรพากรจะเรียกร้องเอากับจำเลยผู้ประกันได้กรณีเช่นนี้จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกกรมสรรพากรเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือปฏิเสธจำนวนหนี้ที่จำเลยยอมรับผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน-นายจ้างต่อความเสียหายจากสัญญาที่ทำไป และอายุความฟ้องไล่เบี้ย
การที่เทศบาลเมืองฯ โจทก์ต้องชดใช้เงินให้ พ. เป็นผลโดยตรงจากสัญญาซึ่งจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีและจำเลยในฐานะเทศมนตรีร่วมกันทำแทนโจทก์ โดยมอบสิทธิในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินที่ พ. เคยเช่าอยู่เดิมให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะถือว่าเป็นการกระทำของโจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่บริการงานแทนโจทก์โดยไม่คำนึงถึงข้อผูกพันที่โจทก์มีอยู่ต่อ พ.ตามสัญญาเดิมที่โจทก์ต้องสร้างอาคารพาณิชย์ให้พ.เช่าอยู่แทนอาคารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้เป็นเหตุให้ พ. ได้รับความเสียหายไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารพาณิชย์ที่ก่อสร้างขึ้นดังกล่าว และโจทก์ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ พ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้และขณะโจทก์ถูก พ. ฟ้องต่อศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องเรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วย การที่โจทก์ไม่เรียกจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยแก่จำเลย ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว แม้จำเลยร่วมที่ 2จะพ้นจากหน้าที่ไปก่อนที่โจทก์จะได้ชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่พ. ก็ไม่ทำให้จำเลยร่วมที่ 2 พ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ อายุความเกี่ยวกับสิทธิฟ้องไล่เบี้ยของโจทก์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นว่าต้องฟ้องภายในอายุความเท่าใดจึงต้องฟ้องภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานต้องภายใน 30 วันนับจากวันที่ทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเงินทดแทนแรงงาน: การฟ้องกรมแรงงานหลังพ้น 30 วันจากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทำให้ขาดอายุความ
บ. ลูกจ้างจำเลยประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โจทก์เป็นภริยาของ บ. ยื่นเรื่องราวขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสำนักงานแรงงานจังหวัดปฏิเสธการจ่ายเงินทดแทนโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนคณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ทราบผลการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2529 ดังนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 25 กำหนดว่าถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและต่อมาได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางหมายเรียกกรมแรงงานเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2529 ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ฟ้องกรมแรงงานในวันที่ 18 กันยายน นั้นเอง ถือได้ว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยร่วมต่อศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีอากรและการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกในคดีภาษี โดยศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องเรียกภาษีอากรจากจำเลยผู้นำของเข้า จำเลยต่อสู้ว่าสินค้ารายพิพาทบริษัท ส. สั่งจากประเทศญี่ปุ่นไม่ตรงตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี อนุมัติ ต่อมาคณะกรรมการ ดังกล่าวได้มีมติกลับมติเดิมให้เรียกเก็บภาษีอากรรายนี้ ก็หาใช่เป็นเหตุโดยตรงให้จำเลยถูกฟ้องเรียกภาษีอากรเป็นคดีนี้ไม่ เพราะจำเลยเป็นผู้นำเข้าสินค้าบริษัท ส. ก็ดี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ดีไม่ได้มีส่วนในการนำเข้าสินค้ารายพิพาท จำเลยไม่อาจฟ้องบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือถูกฟ้องไล่เบี้ยอันเนื่องมาจากการเสียภาษีอากรของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มมากไปกว่าที่จำเลยต้องชำระก็ดี หรือให้เสียดอกเบี้ยโดยที่จำเลยไม่มีความรับผิดตามกฎหมายที่ต้องเสียก็ดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าข้ามพรมแดน การหลีกเลี่ยงภาษี และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ฎีกาของจำเลยจะคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มา แต่ก็เป็นฎีกาในเหตุเดียวกับที่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) นั้น คำว่าอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องจะต้องเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่โดยตรง เมื่อจำเลยให้การรับว่าเครื่องรับโทรทัศน์รายพิพาทไม่ใช่เครื่องรับโทรทัศน์ชนิดแบบวงจรปิดตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาลตามที่โจทก์ฟ้องดังนั้นศาลชั้นต้นย่อมสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระภาษีอากรได้ การที่จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเครื่องรับโทรทัศน์สีชนิดแบบวงจรปิด โดยให้ได้รับงดเว้นการเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า แต่จำเลยกลับนำเข้าโทรทัศน์สีซึ่งใช้รับภาพจากสถานีส่งภายนอกได้ด้วย และมีราคาแพงกว่าเช่นนี้จำเลยอ้างไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีอากร การคิดเงินเพิ่มภาษีอากรไม่ถูกต้องและการให้เสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มซึ่งไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อกฎหมายได้บัญญัติทางแก้ ในกรณีที่ไม่ชำระภาษีอากรตามกำหนดเวลาไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ อยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มตามบทกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยร่วมต้องอยู่ในขอบเขตหนังสือมอบอำนาจช่วง การขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้าสู่คดีนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า 'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยนายยรรยงคุโรวาท รองผู้อำนวยการ (บริหาร) ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติ สุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิ บริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไป และระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้น แม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะในหนังสือมอบอำนาจช่วง การขอเรียกจำเลยร่วมเกินขอบเขต
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า 'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยนายยรรยง คุโรวาท รองผู้อำนวยการ (บริหาร) ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติ สุจริตพงศ์ ฟ้องนายจำลอง รุธิระวุฒิ บริษัทขอนแก่นยนต์ จำกัด บริษัทธนกิจประกันภัย จำกัด ต่อศาลแพ่ง ในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ มิใช่มอบอำนาจทั่วไป และระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้น แม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้อง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย และที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี
of 17