คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยร่วมต้องอยู่ในขอบเขตหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ หากเกินขอบเขตถือเป็นฟ้องบุคคลนอกเหนือที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยนายยรรยงคุโรวาทรองผู้อำนวยการ(บริหาร)ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติสุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิบริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้นแม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: ศาลมีอำนาจเรียกจำเลยร่วมได้หากมีเหตุผล และไม่ถือเป็นการฟ้องบุพการีโดยตรง
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและการฟ้องบุพการี: การบังคับให้ส่งมอบโฉนดและการไม่ขัดต่อมาตรา 1562
โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของจำเลยร่วม ทั้งสามต่างเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 2568 ร่วมกัน โจทก์ต้องการโฉนดมาเพื่อทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนและเข้าใจว่าจำเลยเป็นผู้เก็บโฉนดไว้ไม่ยอมมอบให้ จึงฟ้องจำเลยขอให้ส่งมอบโฉนดและเรียกค่าเสียหาย ต่อมาความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยร่วมเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดไว้ ดังนี้จึงเป็นการสมควรและจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ ศาลจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) และพิพากษาบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดตามฟ้องของโจทก์ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตนจึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3)(ข) ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และเขตอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดีตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, อายุความประกันภัย, และอำนาจศาล
เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายแล้ว แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของลูกจ้างตนตามฟ้อง กรณีหาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี เพื่อใช้ค่าทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน อันเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมจึงยกอายุความละเมิดมาใช้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้ เพราะเพิ่งทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้รับประกันภัยรายนี้และขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยที่แท้จริงการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไม่ตัดอำนาจศาลแพ่งในอันที่จะพิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(2)
*และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งเช่นเดียวกันเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจำเลยร่วม: เริ่มนับจากวันที่หมายเรียกเข้า ไม่ใช่ฟ้องเริ่มต้น
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาแต่มูลละเมิดภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรกแล้วก็ตามแต่เมื่อได้ขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)ปรากฏว่าล่วงพ้นกำหนดอายุความดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงเป็นอันขาดอายุความฟ้องร้องเพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ
กรณีดังกล่าวจำเลยร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58วรรคแรกหาได้มีสิทธิเท่ากับจำเลยไม่ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้ามาในคดีมิใช่ถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดตัวและการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม จำเลยร่วมไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยเดิม
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์นั่ง ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุก โดยมิได้ฟ้อง ส. คนขับรถยนต์บรรทุกผู้กระทำละเมิด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เพิ่งทราบว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนี้ จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องเดิมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน รูปคดีเป็นเรื่องฟ้องผิดตัว โจทก์จะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดตัวและการเรียกคู่ความเพิ่มเติม: ศาลไม่อนุญาตเรียกจำเลยร่วมเมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์กัน และควรฟ้องคดีใหม่
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์นั่ง ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุก โดยมิได้ฟ้อง ส. คนขับรถยนต์บรรทุกผู้กระทำละเมิด ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เพิ่งเทราบว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและเป็นนายจ้างของ ส. จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนี้ จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องเดิมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน รูปคดีเป็นเรื่องฟ้องผิดตัว โจทก์จะขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 (3) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีขับไล่ที่จำเลยร่วมไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ อันมีค่าเช่าเดือนละห้าร้อยบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของนางล้อมนางล้อมมอบให้จำเลยดูแลแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์แม้ต่อมาศาลชั้นต้นให้เรียกนางล้อมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยร่วมไม่ฎีกา ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ อันมีค่าเช่าเดือนละห้าร้อยบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของนางล้อมนางล้อมมอบให้จำเลยดูแลแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์แม้ต่อมาศาลชั้นต้นให้เรียกนางล้อมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยร่วมไม่ฎีกา ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 17