พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ สัญญาซื้อขายจึงโมฆะ
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาต จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โอนใบอนุญาตแก่กันได้ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ว่าไม่ประสงค์ให้โอนใบอนุญาตแก่กันแม้ใบอนุญาตดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สิน ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนใบอนุญาตให้แก่โจทก์ตามสัญญา เพราะวัตถุประสงค์แห่งสัญญาฝ่าฝืนต่อกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันลูกจ้าง
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาที่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติโดยทำสัญญาว่า การรับจ้างทำงานของโจทก์เป็นการทำงานที่มีลักษณะจ้างเหมา โดยมีค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนแต่ไม่มีค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ดังนี้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับ เพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 34ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาขัดแย้งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน สิทธิค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติโดยทำสัญญาว่า การรับจ้างทำงานของโจทก์เป็นการทำงานที่มีลักษณะจ้างเหมา โดยมีค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนแต่ไม่มีค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ดังนี้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับ เพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 34 ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดกับประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกตามอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 หมวด 5 กำหนดอัตราค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่เลิกจ้าง และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้อ 13 วรรคสองระบุว่า "ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ค่าจ้างหรือเงินอื่นจากนายจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2501 ให้คงรับต่อไป" ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะลูกจ้างและจำเลยในฐานะนายจ้างได้ตกลงกำหนดจำนวนเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอันหมายถึงเงินค่าชดเชยและเงินค่าครองชีพนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงที่ผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง อันถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าว ซึ่งมีการตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดกับประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกตามอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 หมวด 5 กำหนดอัตราค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่เลิกจ้าง และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้อ 13 วรรคสองระบุว่า'ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ค่าจ้างหรือเงินอื่นจากนายจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13ตุลาคม 2501 ให้คงรับต่อไป' ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะลูกจ้างและจำเลยในฐานะนายจ้างได้ตกลงกำหนดจำนวนเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอันหมายถึงเงินค่าชดเชยและเงินค่าครองชีพนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงที่ผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมืองอันถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าว ซึ่งมีการตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลา ไม่ขัดต่อกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เป็นการสละสิทธิ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดห้ามนายจ้างและลูกจ้างตกลงจ้างกันโดยคิดค่าจ้างและค่าล่วงเวลารวมกันไปในตัว นายจ้างและลูกจ้างจึงย่อมตกลงกันได้และมิใช่เป็นกรณีตกลงทำนองให้ลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลา ไม่ขัดกฎหมาย หากลูกจ้างไม่สละสิทธิ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดห้ามนายจ้างและลูกจ้างตกลงจ้างกันโดยคิดค่าจ้างและค่าล่วงเวลารวมกันไปในตัว นายจ้างและลูกจ้างจึงย่อมตกลงกันได้และมิใช่เป็นกรณีตกลงทำนองให้ลูกจ้างสละสิทธิในค่าล่วงเวลา จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสะสมของลูกจ้างกับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ข้อบังคับบริษัทจะระบุรวมกัน
เงินสะสมที่จำเลยจ่ายให้โจทก์มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชยแม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม ฯ จะกำหนดว่าเงินสะสมที่โจทก์ได้รับมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยก็ไม่มีผลบังคับ เพราะขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับเป็นกฎหมาย