คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสะสมของลูกจ้างกับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ข้อบังคับบริษัทจะระบุรวมกัน
เงินสะสมที่จำเลยจ่ายให้โจทก์มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จึงเป็นเงินคนละประเภทกับค่าชดเชยแม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม ฯ จะกำหนดว่าเงินสะสมที่โจทก์ได้รับมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยก็ไม่มีผลบังคับ เพราะขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับเป็นกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตัดสิทธิค่าชดเชยขัดประกาศ ม.46,47 และค่าน้ำมัน/ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีผลบังคับอย่างกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงที่ตัดสิทธิที่จะพึงได้รับค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงตัดสิทธิค่าชดเชยขัดประกาศ ม.ห. และค่าน้ำมัน/ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีผลบังคับอย่างกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงที่ตัดสิทธิที่จะพึงได้รับค่าชดเชยของโจทก์ตามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ
หนังสือของจำเลยที่กล่าวถึงการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎและระเบียบของจำเลยและในตอนท้ายของหนังสือได้กล่าวให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบของจำเลยมิฉะนั้นอาจมีการเตือนหรือปลดออกจากงาน ถือว่าเป็นคำเตือนถึงความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตกลงไว้กับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้โจทก์ตามตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือนโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะใช้จ่ายในการนี้หรือไม่และหากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ขายสินค้าได้มากกว่ากำหนดก็จะได้รับค่าน้ำมันรถเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานถือได้ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์มีจำนวนแน่นอนและเป็นประจำทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามปกติของโจทก์เช่นเดียวกับเงินเดือนถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นโมฆะ คุ้มครองฐานะลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยที่เป็นโมฆะ หากขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าที่กำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาโดยไม่ต้องบอกกล่าว ย่อมใช้บังคับได้และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
สัญญาเช่าห้องมีว่า ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า 1 เดือน ถือว่า สัญญาสิ้นสุดโดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาดังนี้ เป็นการยกเว้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การกำหนดวันครบกำหนดชำระหนี้และผลของการผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความทำกันในศาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 ความว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ภายใน 15 เดือนนับแต่วันทำสัญญา โดยให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน ถ้าผิดนัด จำเลยยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดและถือว่าหมดหนี้ต่อกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 21 ตุลาคม 2517 จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจำเลยต้องยอมให้ทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิแก่โจกท์ และถือว่าหมดหนี้ต่อกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือนย่อมบังคับกันได้ ไม่ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ก็บัญญัติให้นับระยะเวลาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในนิติกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับบริษัทต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะอนุญาตให้ทำได้โดยมติธรรมดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหากรรมสิทธิ์ส่วนควบที่ไม่เคยยกขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็กรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512) ดังนั้นหากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่ว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องและพี่น้องอันจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 941/2512)ดังนั้น หากไม่เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นอ้างมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้เสียโดยไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1)
of 10