คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการร้านสหกรณ์ต่อความเสียหายจากหน้าที่บกพร่อง และขอบเขตการบังคับจำนอง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ตามสัญญาจ้าง ปล่อยปละละเลยให้มีการขายบุหรี่โดยไม่ได้รับชำระราคา กรณีดังนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการบกพร่องอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองจากทรัพย์จำนองอันเป็นประกันค่าเสียหายนั้นได้
ร้านสหกรณ์โจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้วแต่หาได้มีการลงบัญชีรับสินค้าไว้ไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการอาจไม่ได้นำสินค้าเข้าร้านสหกรณ์ก็ได้ สินค้าบางรายการลงบัญชีจ่ายเงินซ้ำสองครั้ง เงินสดคงเหลือตามบัญชีจึงผิดไปจากความเป็นจริงร้านสหกรณ์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการจัดทำบัญชีขัดกับใบสำคัญ ซึ่งทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องจ่ายจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้อย่างบกพร่องอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยดุจกัน จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของสมุหบัญชีที่ไม่ลงบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของตนนั้นย่อมเถียงไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องควบคุมสอดส่องการทำบัญชีของร้านสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับโดยใกล้ชิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ ก็ย่อมกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการร้านสหกรณ์ต่อความเสียหายจากการปล่อยปละละเลยในการขายสินค้าและข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ตามสัญญาจ้างปล่อยปละละเลยให้มีการขายบุหรี่โดยไม่ได้รับชำระราคากรณีดังนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการบกพร่องอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองจากทรัพย์จำนองอันเป็นประกันค่าเสียหายนั้นได้
ร้านสหกรณ์โจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าไปแล้ว แต่หาได้มีการลงบัญชีรับสินค้าไว้ไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการอาจไม่ได้นำสินค้าเข้าร้านสหกรณ์ก็ได้ สินค้าบางรายการลงบัญชีจ่ายเงินซ้ำสองครั้ง เงินสดคงเหลือตามบัญชีจึงผิดไปจากความเป็นจริงร้านสหกรณ์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการจัดทำบัญชีขัดกับใบสำคัญ ซึ่งทำให้มีการจ่ายเงินไปโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องจ่าย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้อย่างบกพร่องอันจะต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วยดุจกันจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของสมุหบัญชีที่ไม่ลงบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ความผิดของตนนั้น ย่อมเถียงไม่ขึ้นเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องควบคุมสอดส่องการทำบัญชีของร้านสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับโดยใกล้ชิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ ก็ย่อมกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความขัดกับกฎหมายแรงงาน (ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19) เป็นโมฆะ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวด้วยแรงงานซึ่งประกาศขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดจากความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้าง ทั้งป้องกันมิให้เกิดความระส่ำระสายในการเศรษฐกิจของประเทศและความสงบสุขของบ้านเมือง จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ลูกจ้างของโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์กับมารดาของผู้ตายได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องเงินค่าทดแทนกันไว้หากโจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง โจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นรายเดือน เดือนละ 200 บาท มีกำหนด 5 ปีคำนวณแล้วเป็นเงินถึง 12,000 บาท. แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จ่ายเงินเพียง 2,000 บาทเท่านั้น เป็นการหลีกเลี่ยงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าทดแทน จึงเป็นข้อตกลงที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2516 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน (ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19) เป็นโมฆะ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวด้วยแรงงาน ซึ่งประกาศขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดจากความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง เป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้าง ทั้งป้องกันมิให้เกิดความระส่ำระสายในการเศรษฐกิจของประเทศและความสงบสุขของบ้านเมือง จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ลูกจ้างของโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์กับมารดาของผู้ตายได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องเงินค่าทดแทนกันไว้หากโจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง โจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นรายเดือน เดือนละ 200 บาท มีกำหนด 5 ปี คำนวณแล้วเป็นเงินถึง 12,000 บาท. แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จ่ายเงินเพียง 2,000 บาทเท่านั้น เป็นการหลีกเลี่ยงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าทดแทน จึงเป็นข้อตกลงที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่2/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าที่จำกัดสิทธิผู้เช่าในการให้ผู้อื่นเข้าอยู่อาศัยไม่ขัดกับกฎหมาย หากไม่สร้างภาระหน้าที่เพิ่มเติมแก่ผู้เช่า
ข้อตกลงที่ว่าผู้เช่าจะไม่ยอมให้ผู้อื่นมาอาศัยรวมอยู่ด้วยเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นหาใช่กรณีที่ผู้เช่าต้องมีหน้าที่หรือรับภาระใด ๆ ซึ่งตามกฎหมายผู้เช่า ไม่จำต้องมีหน้าที่หรือรับภาระนั้น ๆ ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 12 (2) ไม่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการเช่าที่จำกัดสิทธิผู้เช่าในการให้ผู้อื่นอยู่อาศัย ไม่ขัดกฎหมาย หากไม่สร้างภาระเกินความจำเป็น
ข้อตกลงที่ว่าผู้เช่าจะไม่ยอมให้ผู้อื่นมาอาศัยรวมอยู่ด้วยเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น หาใช่กรณีที่ผู้เช่าต้องมีหน้าที่หรือรับภาระใด ๆ ซึ่งตามกฎหมายผู้เช่าไม่จำต้องมีหน้าที่หรือรับภาระนั้น ๆ ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 12(2) ไม่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปรับปรุงและเช่าช่วง รวมถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่า
การที่โจทก์ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยผู้เช่าดัดแปลงปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาทแม้ตึกพิพาทจะเสียหายไปบ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการ ทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปรับปรุงและเช่าช่วงตึก, สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า, และการชำระหนี้ค่าเช่า
การที่โจทก์ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยผู้เช่าดัดแปลงปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาท แม้ตึกพิพาทจะเสียหายไปบ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรค 2
of 10