คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการจัดการทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด: ศาลเคารพข้อตกลงของคู่ความเหนือบทบัญญัติมาตรา 260
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด ศาลต้องเคารพ
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล และผลกระทบของอายุความมรดก
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา. แต่มิได้จดทะเบียนสมรส.ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่า.ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว.
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม. เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น. จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้. เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล. ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก.
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล.ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน. แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน. ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้. ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น.
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย. ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น. ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง. ย่อมขาดอายุความมรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้บถือได้ว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนของทางทะเล สิทธิของผู้ทรงใบตราส่ง การส่งมอบสินค้าโดยมิชอบ และข้อยกเว้นการใช้กฎหมายต่างประเทศ
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทยแม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า "ตามคำสั่ง" ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดมจำกัดไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้น จำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกันในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล, อายุความ, การส่งมอบสินค้า, และความรับผิดของผู้ทรงใบตราส่ง
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทย แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดม จำกัด ไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้นจำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนของทางทะเล การส่งมอบสินค้าโดยมิชอบ และอายุความตามกฎหมายไทย
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทย. แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609.ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย.
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย. ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้.
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย. หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้.
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น. ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด. แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง. แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดมจำกัดไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง. เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้น.จำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์.
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.ตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน. หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย.
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน. ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย. ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้. จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้. แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่. เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด.
of 10