คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 114

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน และผลกระทบต่อระยะเวลาการเช่า รวมถึงการสมยอมเพื่อขับไล่ผู้เช่า
ในการทำสัญญาเช่าห้อง ผู้เช่าออกเงินให้ผู้ให้เช่า 5,000 บาท ในสัญญาเช่ากล่าวถึงว่าเป็นเงินค่าก่อสร้างค่าแป๊ะเจี๊ยะ เมื่อคดีได้ความว่าในขณะทำสัญญานี้ ผู้ให้เช่ามีห้องพร้อมอยู่แล้วไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ เงินที่ผู้เช่าออกไปนั้นจึงไม่ใช่เงินค่าก่อสร้าง คงเป็นเงินกินเปล่าตามธรรมดา สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดาไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าได้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนในการได้มาซึ่งที่ดิน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนฯลฯพ.ศ.2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า 'ห้างหุ้นส่วน'ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนอันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความหมายในประมวลกฎหมายที่ดินนั้นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้นถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความมิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วน ฯลฯ พ.ศ. 2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า "ห้างหุ้นส่วน" ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน อันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความในประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความ มิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้ เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 (5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประมูลและการยินยอมให้ทำประโยชน์ แม้มิได้ทำสัญญาตามระเบียบ แต่หากมีการยินยอมและทำประโยชน์แล้ว สัญญาก็มีผลผูกพัน
ในเรื่องการประมูลผูกขาดทำประมง มีกฎกระทรวงเกษตรฯ วางระเบียบว่าเมื่อชี้ขาดให้ผู้ใดได้รับประมูลแล้ว ก็ให้เรียกผู้นั้นมาชำระเงินและดำเนินการออกประทานบัตรตามแบบพิมพ์ ปรากฏว่าจำเลยประมูลได้และได้วางเงินมัดจำไว้10% แล้วจำเลยไม่มาทำสัญญาตามแบบพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ออกประทานบัตรให้ถ้าหากเจ้าหน้าที่ได้ยินยอมอนุญาตให้จำเลยเข้าทำประมงตามที่ประมูลได้นั้นและจำเลยเข้าทำ ก็ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้วการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้ไม่ได้ทำให้สัญญาเป็นโมฆะหรือฟ้องร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประมงและการยินยอมให้เข้าทำประโยชน์ แม้มิได้ทำสัญญาตามแบบ ไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ในเรื่องการประมูลผูกขาดการทำประมงมีกฎกระทรวงเกษตรฯ วางระเบียบว่าเมื่อชี้ขาดให้ผู้ใดได้รับประมูลแล้ว ก็ให้เรียกผู้นั้นมาชำระเงินและดำเนินการออกประทานบัตรตามแบบพิมพ์ ปรากฎว่าจำเลยประมูลได้และวางเงินมัดจำไว้ 10 % แล้วจำเลยไม่มาทำสัญญาตามแบบพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ออกประทานบัตรให้ ถ้าหากเจ้าหน้าที่ได้ยินยอมอนุญาตให้จำเลยเข้าทำประมงตามที่ประมูลได้นั้นและจำเลยเข้าทำ ก็ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้ไม่ได้ทำให้สัญญาเป็นโมฆะหรือฟ้องร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความชอบธรรม ศาลบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้การรังวัดไม่สมบูรณ์
โจทก์จำเลยทำสัญญาให้กรรมการวัดสอบเขตที่ดินตามเนื้อที่ในโฉนดของโจทก์หากปรากฎว่าจำเลยปลูกรั้วล้ำเข้าไปในเขตของโจทก์ จำเลยยอมรื้อรั้ว เมื่อเริ่มรังวัดเพียงด้านหนึ่งปรากฎว่ารั้วของจำเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ของโจทก์ 1.20 เมตร จำเลยจึงไม่ยอมให้วัดต่อไป สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ย่อมเป็นสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้กรรมการวัดตามสัญญาที่ตกลงกัน นั้น จำเลยก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยมิให้ขัดขวางในการที่กรรมการจะทำการตามสัญญานั้นได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดี: สัญญาผ่อนปรนสิทธิ ไม่เปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ไม่ฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์ (คือจำเลยในคดีก่อน) ชำระเงิน 3 ล้านบาทเศษแก่จำเลย (คือโจทก์ในคดีก่อน) คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือกันนอกศาลว่า จำเลยยอมรับเงินจากโจทก์เพียง 7 แสนบาทแทนการเรียกให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา และได้รับเงิน 7 แสนบาทไปแล้ว ต่อมาคดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพาษายืน ไม่มีฝ่ายใดฎีกา จำเลย (ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน) จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นหาได้ไม่
ในกรณีข้างต้น เมื่อโจทก์ในคดีก่อนขอให้ศาลออกคำบังคับคดีตามคำพิพากษาและจำเลยในคดีก่อนอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านการที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับโดยไม่ยอมรับฟังสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันนอกศาลนั้น แล้วจำเลยในคดีก่อนมายื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนขอให้บังคับโจทก์ในดคีก่อนปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อเกิดอัคคีภัยตามข้อตกลง แม้จะไม่ได้แจ้งให้บอกล่วงหน้า
สัญญาเช่าห้องพิพาทเพื่อการค้าซึ่งมีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี มีข้อสัญญากันไว้ด้วย ว่า หากมีเหตุอัคคีภัย ทำให้สถานที่เช่าเป็นอันตรายไปส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก่อนครบ 3 ปี ถึงไม่ต้องบอกล่วงหน้าก็ให้ถือว่าสัญญาขาดอายุตั้งแต่วันเป็นอันตรายนั้น ดังนี้ เมื่อส่วนของห้องพิพาท คือ บานหน้าต่าง 8 บาน และฝาประจัน ห้องถูกไฟไหม้หมด เช่นนี้ถือได้ว่า ถึงขีดที่จะเรียกว่าส่วนหนึ่งของสถานที่เช่าได้รับอันตรายจากอัคคีภัยอันทำให้สัญญาหมดอายุตามข้อสัญญาได้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับไปตั้งแต่วันเกิดอัคคีภัย แก่ห้องพิพาทดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับจากอัคคีภัย: การพิจารณาความเสียหายต่อสถานที่เช่าและการสิ้นสุดสัญญา
ในสัญญาเช่าห้องพิพาทเพื่อการค้าซึ่งมีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี มีข้อสัญญากันไว้ด้วยว่า หากมีเหตุอัคคีภัยทำให้สถานที่เช่าเป็นอันตรายไปส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก่อนครบ 3 ปี ถึงไม่ต้องบอกล่วงหน้าก็ให้ถือว่าสัญญาขาดอายุตั้งแต่วันเป็นอันตรายนั้น ดังนี้ เมื่อส่วนของห้องพิพาท คือ บานหน้าต่าง 8 บาน และฝาประจันห้องถูกไฟไหม้หมด เช่นนี้ถือได้ว่า ถึงขีดที่จะเรียกว่าส่วนหนึ่งของสถานที่เช่าได้รับอันตรายจากอัคคีภัยอันทำให้สัญญาหมดอายุตามข้อสัญญาได้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับไปตั้งแต่วันเกิดอัคคีภัยแก่ห้องพิพาทดังกล่าว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันพิเศษ: ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันหนี้ชั้นเดียวกับลูกหนี้ได้ แม้ไม่ฟ้องลูกหนี้ก่อน
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบอยู่เสมอ ดังนี้ถือว่าเป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
of 10