พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังไม่สิ้นสุด แม้มีการอุทธรณ์ภายในกำหนด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว โดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด หลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อน และต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษา และคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด กรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์ทัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกับกับคดีนี้มาแล้วโดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัดหลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อนและต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ดังนี้แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษาและคดีถึงที่สุดไปแล้วแต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดกรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว
ขณะโจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทั้งสองขาดนัดพิจารณายังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้และต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต้องถือว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่คดีก่อนของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาว่าคำสั่ง จำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นชอบแล้วและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเดิมที่ปฏิเสธการจดทะเบียนสิทธิครอบครองที่ดิน
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพารา จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนอง ขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดิน-พิพาท และจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ ดังนี้ ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเอง ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท สิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่ถึงที่สุด
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพาราจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนองขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ดังนี้ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเองซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทสิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิครอบครอง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่ถึงที่สุด
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นสวนยางพาราจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจดทะเบียนจำนองขอให้บังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเข้าแย่งทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างคดีและเก็บดอกผลรายได้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวขอให้บังคับให้จำเลยส่งมอบรายได้ให้โจทก์ดังนี้ดอกผลรายได้จากการทำสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็คือค่าเสียหายอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมนั้นเองซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้องคดีนี้ย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทสิทธิการฟ้องคดีนี้เกิดจากมูลกรณีเดียวกับข้ออ้างในคดีเดิมจึงเป็นเรื่องเดียวกันฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนละเมิดสิทธิบัตร และความรับผิดของกรรมการในฐานะส่วนตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์ และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่าน-เหล็กบังตา อันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมา การที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไป ต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมา ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1) และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อน นอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้ว จำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีชำระหนี้จากกองมรดกที่ฟ้องซ้ำกับคดีเดิมที่ยังพิจารณาอยู่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่ส่งมอบเงินให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากกองมรดกของผู้ตายและคดีถึงที่สุดการที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะทายาทโดยธรรมกับจำเลยที่4ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายชำระหนี้รายเดียวกันโดยอ้างว่าเป็นหนี้ที่เหลือจากที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายกับฟ้องซ้อน: ศาลวินิจฉัยฟ้องซื้อขายไม่ซ้ำซ้อนกับคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน
โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อโจทก์ก็จะผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยที่1ในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ความสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาจ้างทำของเมื่อโจทก์ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยที่1รับไปครบถ้วนแล้วแต่จำเลยที่1ยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกโจทก์จึงชอบจะฟ้องให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินได้แม้จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์จึงขอเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาก็เป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงตามข้อตกลงการปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นหน้าที่ของศาลศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ฉะนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ราคาจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและเกินคำขอ แม้โจทก์จะเคยเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปก็ตามแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันโดยข้ออ้างที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นการกระทำผิดอาญาอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงซึ่งเป็นมูลหนี้ละเมิดแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และไม่เป็นฟ้องซ้ำด้วยเพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญาดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่