คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 วรรคสอง (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งมรดกเดิมยังไม่สิ้นสุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ขอแบ่งมรดกส่วนที่เหลือ
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก1แปลงจากจำเลยขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก3แปลงจากจำเลยแม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกันและมีประเด็นอย่างเดียวกันอันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การจำหน่ายคดีเดิมไม่อำนวยการฟ้องซ้อน แต่ฟ้องแย้งซ้ำเป็นฟ้องซ้อน
เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า ค่าเสียหายและค่าชดเชย จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ต่อมาวันที่ 19 ตุลาคม 2535 โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดออกเสียจากสารบบความ ในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่ในข้อหาเดียวกับฟ้องเดิม ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2535จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งอ้างว่า การที่ศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายฟ้องแย้งของจำเลยด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ จากนั้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 จำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและส่งให้ศาลฎีกาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางได้สั่งจำหน่ายคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา คดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จึงไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอีกต่อไปโจทก์ย่อมยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในวันเดียวกันหลังจากศาลแรงงานกลางสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1) แต่อย่างใดส่วนที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลแรงงานกลางในวันต่อมานั้นเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่จำหน่ายคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ การยื่นอุทธรณ์และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนเช่นกัน อย่างไรก็ตามในเมื่อต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาจึงทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้ที่ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายเช่นเดียวกับที่เคยขอในคดีก่อนเป็นฟ้องซ้อนและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งจึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำขอค่าเสียหายในคดีอาญา vs. คดีแพ่ง – ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำฟ้องที่มีประเด็นซ้ำกับคดีแพ่งในคดีอาญา
ก่อนฟ้องคดีนี้ พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวง ในฐานความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายซึ่งขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ และเป็นโจทก์ในคดีนี้ เงินจำนวนตามคำขอดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคำขอบังคับของโจทก์ในคดีนี้กับคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้อง-ซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว อันต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามป.วิ.พ มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องซ้ำด้วยมูลหนี้เดิมก็ยังไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20เป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและคดีก่อนถึงที่สุด ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอากรแสตมป์: ประเด็นความแตกต่างของโจทก์และรูปแบบสัญญาที่ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น เมื่อคดีก่อนของศาลชั้นต้นมีประเด็นเดียวกันกับคดีนี้ ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีก่อนนั้น จำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นจำเลย ดังนั้นคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เอกสารสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกัน โดยด้านหน้าเป็นสัญญาเงินกู้ ด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ต่อมาทางด้านหลังสัญญากู้เงิน ซึ่งไม่มีการทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอาไว้แสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากรแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องและฟ้องซ้อน เหตุจำเลยยกเหตุใหม่และฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานที่และกิจการโรงแรม ร. มีอำนาจฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของสถานที่เพราะขายกิจการให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องพิพาทและมีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อน และใช้สิทธิบอกกล่าวให้จำเลยส่งมอบห้องคืนโดยไม่สุจริตนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ คดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าผิดสัญญาเช่า ปิดกั้นด้านหน้าของโรงแรม ร. ทำให้โจทก์(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เสียหาย เป็นค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงินจำนวน2,400,000 บาท ค่าขาดรายได้คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงิน 600,000 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าสัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นค่าตกแต่งสถานที่ซึ่งใช้ดำเนินกิจการเป็นร้านตัดผมและอาบอบนวด ถ้าต้องย้ายออกไปจะเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้สถานที่ คำนวณเป็นเงิน 2,000,000 บาท ดังนั้น คดีนี้และคดีก่อนจึงมีประเด็นที่อ้างว่ามีการผิดสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายเป็นมูลเหตุเดียวกัน ฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องที่จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องของผู้เสียหายหลายคนในคดีอาญา ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน แม้จะมีผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำความผิดก่อนแล้วก็ตาม ผู้เสียหายคนอื่นก็มีสิทธิฟ้อง ผู้กระทำผิดได้อีก เพราะ ป.วิ.อ. ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหาย คนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีกและแม้ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะให้นำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) มาใช้บังคับในคดีอาญา แต่ มาตรา 173 วรรคสอง (1) ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้น มิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกันดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฟ้อง จำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน และการที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้ก็ไม่ถือว่าเป็น การฟ้องแทนโจทก์ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็น ฟ้องซ้อนกับคดีอาญาที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและผู้จัดการสถานธนานุบาลต่อความเสียหายจากการสับเปลี่ยนทองคำ และประเด็นอายุความ/ฟ้องซ้ำ
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดและผิดสัญญาจ้างนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วยในคราวเดียวกัน ดังนี้ อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องต้องปรับด้วยการผิดสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีอาญาที่จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้เป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญา แม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ดังนี้ กรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน.
of 19