คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 วรรคสอง (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097-3098/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ/ซ้อน คดีแพ่งแรงงาน ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยึดถือคำวินิจฉัยศาลแรงงาน
คดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดเรื่องยักยอก และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้อาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ไม่เป็นฟ้องซ้อนและคำฟ้องของโจทก์กรณีนี้มิใช่การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 40 จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 46 มาใช้กับการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน: คดีที่ฟ้องก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน
โจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้กับโจทก์ในคดีก่อนเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 8ถึงที่ 20 ในคดีนี้ก็เป็นคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ในคดีก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20 เป็นคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สินและการละเมิดสิทธิ กรณีผู้เช่าทำสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท โจทก์ชนะคดียื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวาร อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยคัดค้านว่า จำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. ศาลยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ.หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ป. สิทธิการเช่าระหว่างจำเลยกับ ป. เป็นเพียงบุคคลสิทธิ มีผลผูกพันระหว่างผู้ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ผู้เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทซึ่งมิได้เกี่ยวข้องในการทำสัญญาด้วย การที่จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์มิได้รู้เห็นตกลงยินยอมด้วย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ขับไล่ได้ จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนหน้าไม่เป็นอุปสรรค
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามฟ้องคดีซ้ำซ้อนขณะคดีเดิมยังพิจารณาค้าง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกันในมูลคดีและข้อหาเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้ก่อนฟ้องคดีนี้1วันเมื่อคดีแรกยังอยู่ในระหว่างพิจารณาศาลยังไม่ได้พิพากษาฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ไม่ต้องพิจารณาว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาหรือสั่งในคดีแรกนั้นเป็นอย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดียวกันก่อนคดีแรกสิ้นสุด ถือเป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คฉบับเดียวกันในมูลคดีและข้อหาเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้ ก่อนฟ้องคดีนี้ 1 วัน เมื่อคดีแรกยังอยู่ในระหว่างพิจารณาศาลยังไม่ได้พิพากษา ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ไม่ต้องพิจารณาว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาหรือสั่งในคดีแรกนั้นเป็นอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างวันหยุดเป็นสิทธิเรียกร้องแยกต่างหากจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มีการฟ้องร้องคดีก่อนแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และมีคำขอเรียกเงินจากโจทก์หลายรายการที่เกี่ยวเนื่อง หรือเป็นผลที่เกิดจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยมิได้มีคำขอเรียกค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีด้วย คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีนี้เรียกค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีได้ เพราะค่าจ้างทั้งสองประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างค้างจ่าย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย แม้โจทก์จำเลยจะยังมีสภาพจ้างกันอยู่ ก็ตามจึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกับมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้าง แม้โจทก์ได้เคยร้องขอเพิ่มเติมฟ้องในคดีก่อนและ ศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งให้ยกคำร้อง แต่ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในคดีก่อนนั้นโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ด้วยคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นอันยุติในชั้นศาลแรงงานกลางแล้ว หาใช่อยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลฎีกาไม่ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ฉ้อโกงกับการใช้เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อน
การที่จำเลยนำเช็คมาแลกเงินสดกับโจทก์โดยจำเลยกล่าวหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จฯ นั้น ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จนศาลประทับฟ้องแล้ว โจทก์จะมาฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดคนละคราว: ไม่ถือเป็นคำฟ้องซ้ำ หากเหตุละเมิดต่างหากจากคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 คนเดียว กระทำละเมิดเข้าทำนาของโจทก์ในปีการทำนา พ.ศ.2519 คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณา แล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเข้ามาแย่งไถและหว่านข้าวทำนาอันเป็นการละเมิดในปี พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นการละเมิดคนละคราวต่างหากจากกัน(ทั้งในชั้นตรวจรับคำฟ้อง ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการทำละเมิดต่อเนื่องเรื่อยมา อันจะพึงถือว่าเป็นการทำละเมิดคราวเดียวกัน) จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอายุความครอบครองที่ดิน: จำเลยฟ้องโจทก์ได้ แม้โจทก์ฟ้องก่อน
ในเรื่องฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) นั้น กฎหมายห้ามแต่โจทก์มิให้ฟ้องจำเลย หาได้ห้ามจำเลยมิให้กลับมาฟ้องโจทก์ด้วยไม่ ไม่เหมือนกับเรื่องฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ซึงห้ามทั้งโจทก์และจำเลยมิให้ฟ้องคดีขึ้นใหม่
การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ ขอให้ห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้น จำเลยจะยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองมายันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
of 19