คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 วรรคสอง (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15453-15454/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน: ศาลแก้ไขค่าเสียหายและขอบเขตความรับผิดของจำเลย
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกเดิมเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์โจทก์โดยร่วมกันทำซ้ำดัดแปลงที่รูปภาพหรือตัวงานที่เรียกว่า อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ชนิดต่าง ๆ มาจัดทำสมุดภาพระบายสี ขาย เสนอขาย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสมุดภาพระบายสีที่ละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์เพื่อการค้าและหากำไรและจำเลยที่ 1 แอบอ้างว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในอุลตร้าแมน เอซ อุลตร้าแมน อุลตร้าเซเว่น อุลตร้าแมนทาโร่ อุลตร้าแมนซอฟฟี่ อุลตร้าแมนแจ็ค จัมโบเอหรือจัมบอร์กเอซ และได้ตั้งตัวแทนในการจัดหาผู้รับอนุญาตผลิตสินค้ารูปอุลตร้าแมนออกจำหน่าย ทำสัญญาให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบันทึกสำเนาภาพยนตร์เป็นวีดิทัศน์โดยนำไปแสวงหาประโยชน์ทางการค้า และแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ และขายสิทธิในตัวอุลตร้าแมนแก่บริษัท ซ. ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกร่วมกันชำระค่าเสียหาย แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 อนุญาตให้จำเลยที่ 3 สร้างอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม อุลตร้าแมนโซลหรือดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิท โดยลอกเลียนดัดแปลงลักษณะพิเศษหรือคาร์แรกเตอร์ของอุลตร้าแมนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นงานที่โจทก์สร้างขึ้นภายหลังภาพยนตร์อุลตร้าแมนทั้งเก้าเรื่องที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีคดีพิพาทกันตามคดีก่อน จำเลยทั้งสามร่วมกันนำตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม อุลตร้าแมนโซลหรือดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิทออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์การค้า โดยการนำออกแสดงสดบนเวทีและเก็บค่าแสดง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่างกรรมกันกับคดีละเมิดในคดีก่อนและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมไว้แล้ว ทั้งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โดยที่โจทก์มิอาจยกขึ้นกล่าวอ้างหรือมีคำขอบังคับขณะยื่นฟ้องคดีก่อนได้ จึงไม่ใช่คำฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เมื่อพิจารณาลักษณะของการกระทำของจำเลยทั้งสามที่จัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิท เพื่อนำไปอนุญาตให้บุคคลอื่นผลิตตัวหุ่นและของเล่น หรือใช้กับฉลากสินค้าต่าง ๆ หรือจัดทำเป็นชุดหุ่นที่ใช้ในการแสดงบนเวทีแล้ว มีเหตุผลให้เชื่อว่า การจัดทำอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามจนทำให้ปรากฏเป็นรูปลักษณะตามคำฟ้องได้ต้องอาศัยรายละเอียดจากภาพวาดที่แสดงลักษณะอุลตร้าแมนของโจทก์ ดังนั้นการจัดทำอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำต่อผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์ที่แสดงออกในรูปของงานจิตรกรรมอันได้แก่ภาพวาดที่แสดงลักษณะของอุลตร้าแมน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของผลงานอุลตร้าแมนที่โจทก์ได้ออกแบบหรือสร้างสรรค์ก่อนที่โจทก์จะนำงานจิตรกรรมนั้นมาดัดแปลงเป็นงานภาพยนตร์อุลตร้าแมน
เมื่อเปรียบเทียบตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทของจำเลยทั้งสามกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อนแล้วจะเห็นได้ว่าอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์มาก่อน และความคล้ายคลึงกันดังกล่าวเป็นความคล้ายคลึงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพราะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าอุลตร้าแมนที่จำเลยทั้งสามสร้างขึ้นเป็นอุลตร้าแมนที่ปรากฏในภาพยนตร์อุลตร้าแมนจนมีบุคคลที่สามมาขออนุญาตใช้สิทธิในอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามหรือทำให้จำเลยทั้งสามสามารถนำไปจัดแสดงบนเวทีได้โดยใช้ชื่องานว่าอุลตร้าแมนไลฟ์โชว์ได้ จึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามดัดแปลงงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนของโจทก์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในคดีก่อนพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ร่วม จำเลยที่ 1 ได้รับโอนสิทธิเฉพาะผลงานภาพยนตร์ 9 เรื่อง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทเท่านั้น ส่วนภาพยนตร์ตอนใหม่ ๆ ที่โจทก์ผลิตขึ้นเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ดังนั้น เมื่ออุลตร้าแมนเพาเวอร์ อุลตร้าแมนคิง อุลตร้าแมนทิก้า และอุลตร้าแมนคอสมอส เป็นผลงานจากภาพยนตร์ตอนใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ในสัญญาพิพาท ประกอบกับจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์โต้แย้งในประเด็นที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 สร้างตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมนและอุลตร้าแมนเอลิทโดยดัดแปลงจากผลงานอุลตร้าแมนอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่า ทำการสร้างสรรค์อุลตร้าแมนมิลเลนเนียม ดาร์คอุลตร้าแมน และอุลตร้าแมนเอลิทไปโดยชอบ อีกทั้งภายหลังศาลฎีกาพิพากษาว่าสัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนได้อีก
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดกลับคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมน สัญญาพิพาทเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 หาอาจมีสิทธิที่จะแสวงหาประโยชน์ใด ๆ ในผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ประโยชน์อันเกิดแต่ลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมน การที่โจทก์และตัวแทนการค้าของโจทก์นำผลงานอุลตร้าแมนตามสัญญาพิพาท ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และแต่งตั้งบริษัท พ. ให้เป็นตัวแทนโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1
ผลงานอุลตร้าแมนซึ่งเป็นตัวละครในภาพยนตร์ที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้น โจทก์ประสงค์ให้ตัวละครอุลตร้าแมนเป็นภาพลักษณ์ของฝ่ายคุณธรรมโดยเป็นผู้พิทักษ์โลก การที่จำเลยทั้งสามดัดแปลงโดยสร้างตัวอุลตร้าแมนให้มีลายเส้นเน้นให้เห็นกล้ามเนื้อที่บริเวณผิวแตกต่างจากอุลตร้าแมนของโจทก์ซึ่งไม่ใช้ลายเส้นเน้นกล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยที่แตกต่างจากเดิมเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ที่แสดงออกของตัวอุลตร้าแมนออกมาอีกลักษณะหนึ่งเท่านั้น หาได้ทำให้ภาพลักษณ์ของตัวอุลตร้าแมนผู้ทรงคุณธรรมพิทักษ์โลกเสียไปแต่อย่างใดไม่ การดัดแปลงตัวอุลตร้าแมนของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงไม่ใช่การบิดเบือนผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมน การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดในธรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15141/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้อน: การฟ้องคดีล้มละลายโดยมีคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 มาฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ขอให้จำเลยล้มละลาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 และคดีหมายเลขแดงที่ ธ.19355/2542 มาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งคดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 กับคดีนี้ ต่างมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างเดียวกันว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และสมควรเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ แม้ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ธ.19355/2542 เพิ่มเติมจากมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แต่ก็ยังคงต้องพิจารณาในประเด็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ขณะที่คดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ยังอยู่ระหว่างการขอถอนฟ้อง และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 จึงมีผลให้คดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ยังอยู่ระหว่างพิจารณา คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12751/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรศุลกากร การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ และฟ้องซ้ำซ้อนที่ไม่เป็นผล
ตามคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ โจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องขอให้จำเลยในคดีนี้รับผิดข้อหาร่วมกันนำหรือพาสินค้าหลบหนีภาษีอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งมีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีนี้มีปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มหรือไม่เพียงใด จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ย่อมมีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ มูลคดีของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน แม้ฟ้องเพิ่มเติมหลังคดีเดิมดำเนินอยู่ ก็เป็นฟ้องซ้อน
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เป็นผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องดูแลและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ต้องสร้างถนนบนที่ดินพิพาทเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเทียบเท่าถนนสาธารณะ และจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยเพื่อเป็นสวัสดิการที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินชดเชยค่าเช่าที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. ไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของข้อพิพาทเดิม ต้องขอแก้ไขคำฟ้องเดิม
คดีก่อนและคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่คดีนี้อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยกับพวกเพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างที่พักให้แก่พนักงานโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องจ่ายเงินค่าที่พักให้แก่พนักงานโจทก์ และขอเรียกค่าเสียหาย ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากจำเลยกับพวกไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ฟ้องคดีก่อนนั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10754/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีภาระจำยอมซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แม้คดีเดิมจำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องซ้อนเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีในคดีก่อนเพียง 6 วัน เป็นการยื่นภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และโจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขณะนั้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยยังไม่สิ้นสุดลงถือได้ว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งเจ็ดกล่าวอ้างว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่อยู่ติดกันเช่นเดียวกันกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้คำขอบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับความกว้างยาวของทางพิพาทแตกต่างกัน แต่ก็เป็นการขอให้รับรองว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดเช่นเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้กับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อนจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน และการพิจารณาว่าคำฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ ต้องพิจารณาในวันยื่นคำฟ้องคดีหลังเป็นสำคัญ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้ต่อมาศาลฎีกาในคดีก่อนจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรแก่การพิจารณา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องซ้อนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9704/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเพิกถอนพินัยกรรมซ้ำกับคดีตั้งผู้จัดการมรดก
คดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตายโดยไม่มีพินัยกรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรของ ช. ซึ่ง ช. ให้การรับรองว่าเป็นบุตร ช. ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกของ ช. ทั้งหมดให้ผู้คัดค้านทั้งสอง ขอให้ยกคำร้องขอ และมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าสมควรตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และมีประเด็นต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง ขณะที่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ ช. ทำขึ้นที่สำนักงานเขตวัฒนา โดยอ้างว่า ช. สำคัญผิดหรือถูกจำเลยทั้งสองกับพวกใช้กลฉ้อฉล เนื่องจากขณะทำพินัยกรรมไม่มีแพทย์ตรวจสอบร่างกายและจิตใจของ ช. ซึ่งมีอายุ 92 ปี ระหว่างป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคทางสมองผิดปกติ ช. มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และไม่เข้าใจภาษาไทย ล่ามไม่ได้แปลพินัยกรรมให้ถูกต้อง พินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุจะต้องเพิกถอนพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ ช. ทำไว้หรือไม่ ซึ่งต้องวินิจฉัยถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเช่นเดียวกัน ประเด็นของคดีทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกัน และเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเช่าและให้บริการที่ฟ้องร้องค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิม
ในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกันกับคดีนี้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกัน และขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต่าง ๆ ที่ค้างชำระพร้อมชดใช้ค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิต่าง ๆ ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายต่าง ๆ ในอนาคตได้ด้วยรวมถึงค่าเสียหายต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกัน ซึ่งค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาก็ดี ค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดก็ดี ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ล่าช้าและยังใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป ดังเห็นได้จากการที่มีการระบุไว้ในสัญญาเช่าเป็นใจความสำคัญว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพดีภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองที่เช่าทันที และให้ทรัพย์สินที่จำเลยมิได้ขนย้ายออกไปตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ และให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกเอาค่าปรับในกรณีที่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญา และค่าปรับนับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน ยังถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นรายเดือนนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยแล้วในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 ดังนั้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันและเป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าที่ฟ้องซ้ำในคดีก่อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการฉบับเดียวกัน ซึ่งโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเลิกกันแล้ว ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินที่ค้างและค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่า พร้อมส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ กรณีเป็นการใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา โจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายในอนาคตรวมถึงค่าเสียหายต่างๆ อันสืบเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกันได้ ค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาและค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าตามฟ้องโจทก์คดีนี้ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ล่าช้าและยังคงใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป จึงได้มีการระบุไว้เป็นข้อตกลงในสัญญาเช่า ทั้งยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ที่เช่าคืนในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องแบ่งสินสมรสที่ดินแปลงต่างกัน แต่มีมูลเหตุเดียวกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตั้ง ป. เป็นทนายความให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่เคยตั้งให้ ป. เป็นทนายความมาแต่แรก แม้ฎีกาทำเป็นฉบับเดียวลงชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นผู้ฎีกา โดยมี ป. ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ และระบุชื่อของจำเลยที่ 2 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้ที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ฎีกาเท่านั้น
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรื่องขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 191/2553 หมู่ที่ 7 ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 79 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง ส่วนคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. เป็นที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เลขสำรวจที่ 96/2553 หมู่ที่ 5 (เดิมหมู่ที่ 2) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา โดยจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบุตรโต้แย้ง แม้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดี เป็นการขอให้แบ่งที่ดินต่างแปลงกัน แต่มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องโดยการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรส คำฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 104/2555 ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 19