พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความกรณีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้อนและอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์คดีแรกเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย คดีมีประเด็นว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนในคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหลักทรัพย์ที่จำเลยสั่งซื้อ แต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองคดีจะเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน และการวินิจฉัยของศาลในเรื่องทั้งสองดังกล่าวก็ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่านายหน้าที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปชดใช้จากตัวการในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีสิทธิภาระจำยอมที่ยังพิจารณาอยู่
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภาระจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่มีประเด็นและคำขอซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน 7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหา ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งสินสมรสที่ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมกับคดีที่กำลังพิจารณาอยู่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งสินสมรส คิดเป็นเนื้อที่ดิน7 ไร่เศษที่ศาลชั้นต้น ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส จำเลยนำไปขายขอให้บังคับจำเลยแบ่งเงินค่าที่ดินส่วนของโจทก์ให้โจทก์ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อน จึงมีสภาพแห่งข้อหาประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอบังคับอย่างเดียวกันฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายกับฟ้องชำระหนี้ตามเช็ค: ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องเรื่องเดิมเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายเพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งปันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยทุกคนที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ และการที่ศาลจะต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยตกเป็นคนล้มละลายนั้นก็ต่อเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือหนี้ในอนาคตก็ตาม อีกทั้งกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่ก่อนศาลจะพิพากษาคดีและภายหลังที่พิพากษาคดีไปแล้ว มีการกำหนดวิธีการแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.อย่างมาก ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่กำหนดไว้หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการฟ้องคดีล้มละลายเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์สินของจำเลยโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่เรียกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์ของบรรดาเจ้าหนี้ทั่ว ๆ ไปของจำเลย และเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของจำเลยเสียใหม่ โดยมิได้เป็นการฟ้องหรือเรียกร้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามมูลหนี้ที่ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงอันเป็นเรื่องของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อันเป็นการฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วยจำนวนเงิน 550,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องให้แก่โจทก์คนเดียวเท่านั้น โดยต้องวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. จึงเห็นว่าการฟ้องคดีนี้เป็นคนละเรื่องกับการฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าว ดังนั้นฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงมิได้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอด: ผลกระทบทางกระบวนพิจารณาและการเป็นฟ้องซ้อน
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (1) นั้น ถือเป็นคำฟ้อง เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องสอดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในฐานะเป็นโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ฟ้องซ้ำ: การฟ้องบังคับคดีทรัพย์ที่ถูกยึดหลังคดีอาญาถึงที่สุด ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาไปตามยอมจำเลยย่อมอุทธรณ์ได้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นเพราะเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสอง(2) เดิมโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้คืนทรัพย์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งที่พนักงานสอบสวนยึดมาจากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนหลังจากที่ศาลในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องว่าลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ได้พิพากษายกฟ้องทรัพย์ที่โจทก์ขอให้คืนในคดีนี้กับคดีก่อนต่างรายกันและประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่หลังศาลในคดีอาญาพิพากษาแล้วโดยจำเลยรู้อยู่ว่าทรัพย์ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้เป็นของโจทก์แต่ก็ยังติดต่อขอรับไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องค่าเสียหายจากงานชำรุด: การฟ้องซ้อน การหมดอายุความรับผิด และการคิดค่าเสียหาย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้วหลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่ 22 ตุลาคม 2530 ดังนี้โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกสารรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รับแก่ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตามผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีกถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนดผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่าตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปีตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531 โจทก์จึงชอบที่จะแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาตามสัญญาจ้างเหมาและการฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)