คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลอุทธรณ์ และการไม่ชัดเจนในการอ้างเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันขายทอดตลาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ได้ประเมินราคาทรัพย์พิพาทไม่เป็นธรรม ฎีกาจำเลยที่ 1 มิได้โต้เถียงว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายอย่างไร จึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังการสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในการอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดในคดีล้มละลายของคู่สมรส
การยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่ใช่เป็นการร้องต่อศาลเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯมาตรา 158 แต่เป็นกรณีที่ร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ถอนการยึดไม่ชอบ ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ต่อไป เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 เดิม ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำนวน 20 รายการ เป็นเครื่องปรับอากาศและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งผู้ร้องนำมาติดตั้งและประดับบ้านของผู้ร้อง และผู้ร้องได้ให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยกับใช้สอยทรัพย์ 20 รายการนั้น โดยมิได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่บุตรสาวโดยมิได้แยกทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยเฉพาะจึงฟังว่า ผู้ร้องได้ยกกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการให้บุตรสาวไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ยึดทั้ง20 รายการ ไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการ นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้เสนอราคาสูงกว่าย่อมมีสิทธิคัดค้านได้หากการขายไม่ชอบ
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทน ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคาะไม้ขายทอดตลาดให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคา 25,300,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องเสนอราคาเป็น25,400,000 บาท และได้เคาะไม้โดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 14 วัน
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(5) ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินของบริษัทค.ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและระเบียบของกรมบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคาต่ำกว่าที่ผู้ร้องเสนอ และเคาะไม้ตกลงขายโดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อนดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันได้รับทราบการกระทำนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิในใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการได้ และต้องฟ้องภายใน 14 วัน
สิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเป็นของจำเลยที่ 2จึงตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 19 จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการยึดสิทธิตามใบอนุญาตนั้น กรณีถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 158 แต่การที่จำเลยที่ 2 คัดค้านว่าสิทธิตามใบอนุญาตตั้งสถานบริการไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดนั้น เป็นการโต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ตามมาตรา 146 ซึ่งจะต้องยืนคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดสิบสี่วัน นับแต่วันที่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิจำกัดของผู้ล้มละลายในการคัดค้านการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนดเวลา
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้ว ทรัพย์สินของจำเลยทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจยึดทรัพย์สินทั้งปวงซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยหรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จำเลยไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ และไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 158 แต่จำเลยมีสิทธิยื่นคำคัดค้านว่าสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดอันเป็นการโต้แย้งการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ตามมาตรา 146 โดยต้องทำเป็นคำร้องขอต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ: สัญญาจองเซ้งไม่ทำให้โอนสิทธิการเช่าได้ ผู้ล้มละลายทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าให้เจ้าหนี้ชอบ
จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้วจำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.เงินที่ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท. เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลังจึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท. จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลังและต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท. ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตามมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์/หนี้สิน หากข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะ
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
of 19